ภาพปกบทความ ลวดลายล้านนาจากแก้วจืน : การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเชิงสร้างสรรค์เพื่อการท่องเที่ยวชุมชนคูเมืองเชียงใหม่
เจ้าของงานวิจัย สุชีรา ผ่องใส กฤษดาธัญ มหาวัน ทัตพงศ์ สารมหาชัย
หมวดหมู่ การออกแบบ
Subject การออกแบบผลิตภัณฑ์ ของที่ระลึก การท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ กระจกประดับ การตกแต่งและการประดับ ภูมิปัญญาชาวบ้าน
ปีที่ตีพิมพ์ 2564
เอกสารประกอบ ดาวน์โหลด
จำนวนเข้าชม 65

แก้วจืนหรือกระจกจืน เป็นกระจกตะกั่วที่นิยมใช้ในการประดับบนลวดลายล้านนาตกแต่งสถาปัตยกรรมภาคเหนือของประเทศไทย มีคุณลักษณะบาง มีความอ่อนตัวสูง และมีกระบวนวิธีในการประดับเฉพาะตัว บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและศึกษาลวดลายล้านนาจากแก้วจืน การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก และสำรวจความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเชิงสร้างสรรค์เพื่อการท่องเที่ยวชุมชนคูเมืองเชียงใหม่ โดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและการสอบถามผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน สำรวจความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายจำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ผู้ประกอบการเกี่ยวกับของที่ระลึก จำนวน 25 คน และกลุ่มที่ 2 ผู้บริโภคสตรีวัยทำงานอายุระหว่าง 18-60 ปี จำนวน 25 คน รวมทั้งสิ้น 50 คน ผลการศึกษาพบว่า ลวดลายล้านนาจากแก้วจืน ประกอบด้วยลายพันธุ์พฤกษา ลายสัตว์ ลายเมฆ และลายเทพารักษ์หรือลายเทพเทวดา การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเชิงสร้างสรรค์ประเภทเครื่องใช้ ด้วยกระเป๋ารูปทรง Bucket Bag ประดับด้วยแก้วจืนลายพันธุ์พฤกษา และรูปแบบ QR Code ที่ปรากฏข้อมูลสถาปัตยกรรมที่ประดับตกแต่งด้วยแก้วจืนในพื้นที่ชุมชนคูเมืองเชียงใหม่ ส่วนความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบโดยรวมด้านรูปแบบของที่ระลึก ผู้ประกอบการมีความพึงพอใจ (4.61) น้อยกว่าผู้บริโภคสตรีวัยทำงาน (4.73) ด้านวัสดุ ผู้ประกอบการมีความพึงพอใจ (4.57) น้อยกว่าผู้บริโภคสตรีวัยทำงาน (4.76) ด้านประโยชน์ใช้สอย ผู้ประกอบการมีความพึงพอใจ (4.60) น้อยกว่าผู้บริโภคสตรีวัยทำงาน (4.70) ด้านราคา ผู้ประกอบการมีความพึงพอใจ (4.35) น้อยกว่าผู้บริโภคสตรีวัยทำงาน (4.47) ด้านช่องทางและสถานที่จัดจำหน่าย ผู้ประกอบการมีความพึงพอใจ (4.75) มากกว่าผู้บริโภคสตรีวัยทำงาน (4.74) และด้านการส่งเสริมการตลาด ผู้ประกอบการมีความพึงพอใจ (3.68) น้อยกว่าผู้บริโภคสตรีวัยทำงาน (3.22) การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเชิงสร้างสรรค์ด้วยลวดลายล้านนาจากแก้วจืน เพื่อการท่องเที่ยวชุมชนคูเมืองเชียงใหม่ จึงเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาหัตถนวัตกรรมสร้างสรรค์เพื่อเตรียมความพร้อมสู่สากล (Creative Craft Innopolis) อีกทั้งเป็นการสืบทอดภูมิปัญญาการทำแก้วจืนของชาวล้านนาในจังหวัดเชียงใหม่ และการเผยแพร่ภูมิปัญญาที่นำไปสู่การยกระดับผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกสู่การรับรองมาตราฐานสากลได้

APA

สุชีรา ผ่องใส. กฤษดาธัญ มหาวัน. ทัตพงศ์ สารมหาชัย. ( 2564 ). ลวดลายล้านนาจากแก้วจืน : การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเชิงสร้างสรรค์เพื่อการท่องเที่ยวชุมชนคูเมืองเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

Chicago

สุชีรา ผ่องใส. กฤษดาธัญ มหาวัน. ทัตพงศ์ สารมหาชัย. ลวดลายล้านนาจากแก้วจืน : การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเชิงสร้างสรรค์เพื่อการท่องเที่ยวชุมชนคูเมืองเชียงใหม่. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2564.

MLA

สุชีรา ผ่องใส. กฤษดาธัญ มหาวัน. ทัตพงศ์ สารมหาชัย. ลวดลายล้านนาจากแก้วจืน : การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเชิงสร้างสรรค์เพื่อการท่องเที่ยวชุมชนคูเมืองเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2564.

Vancouver

สุชีรา ผ่องใส. กฤษดาธัญ มหาวัน. ทัตพงศ์ สารมหาชัย. ลวดลายล้านนาจากแก้วจืน : การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเชิงสร้างสรรค์เพื่อการท่องเที่ยวชุมชนคูเมืองเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร; 2564.