จำนวนงานวิจัย ( 58 )
ลักษณะความเสี่ยงของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ระหว่างปี 2561-2565
ธนาคารพาณิชย์เป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูงเนื่องจากส่งผลกระทบกับภาคเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาลักษณะความเสี่ยงของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ระหว่างปี 2561-2565 โดยรวบรวมข้อมูลจากแบบแสดงรายการข้อมูลประจาปี (56-1) ของธนาคารพาณิชย์จานวน 11 แห่ง โดยวิเคราะห์ลักษณะความเสี่ยงจากการเปิดเผยตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยใช้เป็นกรอบในการเปิดเผย ได้แก่ ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk) ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (Operational Risk) ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทางการเงิน (Financial Risk) และความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (Compliance Risk) มีการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของลักษณะความเสี่ยงในแต่ละช่วงเวลา ผลการศึกษาพบว่าลักษณะความเสี่ยงและการเปลี่ยนแปลงของความเสี่ยงในรอบ 5 ปี ของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทยมีการเปิดเผยลักษณะความเสี่ยงตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกาหนดให้มีการเปิดเผยดังกล่าว แต่หากขยายให้มีการเปิดเผยความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทางการเงิน (Financial Risk) เพิ่มเติมด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดาเนินธุรกิจด้วยอาจจะเกิดประโยชน์มากขึ้น ดังนั้นการเปิดเผยที่จะเป็นประโยชน์ต่อลูกค้า ผู้ลงทุน รวมถึงธนาคารเอง ควรมีการเปิดเผยความเสี่ยง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk) ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (Operational Risk) ความเสี่ยงด้านรายงาน (Report Risk) และความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (Compliance Risk) งานวิจัยฉบับนี้แสดงให้เห็นถึงลักษณะความเสี่ยงของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ระหว่างปี 2561-2565 การเรียนรู้ความเสี่ยงดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อ คณะกรรมการกากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สามารถนาผลการศึกษาครั้งนี้ไปใช้เป็นแนวทางในการออกกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการเปิดเผยความเสี่ยงของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และสามารถประเมินความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตและจัดทาแผนป้องกันความ
การบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา : วิสาหกิจชุมชน อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดการวิสาหกิจชุมชน ศูนย์กระบวนการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน 2) เพื่อวิเคราะห์กระบวนการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน วิธีดำเนินการวิจัย ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ แบบสัมภาษณ์ (Interview) เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบ มีโครงสร้าง (Structure In-depth Interview) โดยกลุ่มเป้าหมายมุ่งเน้นเป็นตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและตัวแทนชุมชนในพื้นที่ศึกษา จำนวนสมาชิกต่อกว่า 15 ราย จำนวน 235 ชุมชน ผลการวิจัยพบว่า วิสาหกิจชุมชน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 88.1 มีอายุ 51 -60 ปี ร้อยละ 41.3 มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 71.4 และ มีประสบการณ์ ในการบริหารวิสาหกิจชุมชน 11 -15 ปี ร้อยละ 31.2 2. ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ให้ระดับความสำคัญของกลยุทธ์การจัดการวิสาหกิจชุมชน ในภาพรวมเฉลี่ย 4.15 คะแนน (อยู่ระดับมาก) ด้านการผลิต ผู้ประกอบการให้ระดับความสำคัญของกลยุทธ์ในการทำการตลาดเฉลี่ยเท่ากับ 4.29 คะแนน (ระดับมากที่สุด) มีการควบคุมตรวจสอบคุณภาพสินค้าหรือบริการทุกครั้ง ก่อนจำหน่ายหรือให้บริการ” มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 4.51 คะแนน (ระดับมากที่สุด) หัวข้อ “มีความหลากหลายและการพัฒนารูปแบบสินค้า/ผลิตภัณฑ์” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.12 คะแนน (ระดับมาก) ด้านการจัดการองค์กร ผู้ประกอบการให้ระดับความสำคัญของกลยุทธ์ในการทำการตลาด เฉลี่ย 4.31 คะแนน (ระดับมากที่สุด) หัวข้อ “มีผู้นำที่เป็นผู้ที่สามารถประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ได้ดี” มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 4.42 คะแนน (ระดับมากที่สุด) ความสำคัญของกลยุทธ์ในการทำการตลาด ด้านการจัดการองค์กรน้อยที่สุดคือ หัวข้อ “มีการประชุมกับสมาชิกเพื่อร่วมกันแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นชี้แจงและให้ความรู้เกี่ยวกับความต้องการของลูกค้าและวางแผนงานสม่ำเสมอ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.18 คะแนน (ระดับมาก) ด้านการตลาดและการขาย ผู้ประกอบการให้ระดับความสำคัญของกลยุทธ์ในการทำการตลาด เฉลี่ย 3.90 คะแนน (ระดับมาก) เมื่อพิจารณาจากหัวข้อย่อยแล้ว พบว่า หัวข้อ “มีเกณฑ์การตั้งราคา ที่เหมาะสมกับคุณภาพของสินค้าชัดเจน” มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 4.50 คะแนน (ระดับมากที่สุด) สำหรับหัวข้อที่พบว่า ผู้ประกอบการ ให้ระดับความสำคัญของกลยุทธ์ในการทำการตลาด ด้านการตลาดและการขาย น้อยที่สุดคือ หัวข้อ “มีการสร้าง Web Site ของกลุ่มเพื่อประชาสัมพันธ์ สินค้าของกลุ่ม” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.12 คะแนน (ระดับปานกลาง) ด้านการบัญชี/การเงิน ผู้ประกอบการให้ระดับความสำคัญของกลยุทธ์ในการทำการตลาด เฉลี่ยเท่ากับ 4.10 คะแนน (ระดับมาก) เมื่อพิจารณาจากหัวข้อย่อยแล้ว พบว่า หัวข้อ “มีการกำหนด แนวทางในการจัดการด้านการเงินที่ชัดเจน” มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ 4.14 คะแนน (ระดับมาก) สำหรับหัวข้อ ที่พบว่าผู้ประกอบการให้ระดับความสำคัญของกลยุทธ์ในการทำการตลาด ด้านการบัญชี/การเงินน้อยที่สุด คือ หัวข้อ “มีการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของกลุ่มอย่างโปร่งใสและตรวจสอบได้” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.03 คะแนน (ระดับมาก) ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ผู้ประกอบการให้ระดับความสำคัญของกลยุทธ์ในการทำ การตลาดเฉลี่ยเท่ากับ 4.21 คะแนน (ระดับมากที่สุด) เมื่อพิจารณาจากหัวข้อย่อยแล้ว พบว่า หัวข้อ “มีการกำหนดโครงสร้างและการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบของกรรมการและสมาชิกในการ ดำเนินงานอย่างชัดเจน” มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 4.28 คะแนน (ระดับมากที่สุด) สำหรับหัวข้อที่ พบว่า ผู้ประกอบการให้ระดับความสำคัญของกลยุทธ์ในการทำการตลาด ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ น้อยที่สุดคือ หัวข้อ “มีการติดตามประเมินผลการดำเนินงานของสมาชิกกลุ่มอย่างสม่ำเสมอ”
การพัฒนาเกมกระดานการจัดการภัยพิบัติสำหรับประชาชนเขตจังหวัดพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง
การวิจัยเรื่อง “การพัฒนาเกมกระดานการจัดการภัยพิบัติสาหรับประชาชนในเขตพื้นที่จังหวัดภาคกลางตอนล่าง” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติ 2) สังเคราะห์องค์ประกอบเกี่ยวกับการออกแบบเกมกระดาน 3) เชื่อมโยงข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติกับผลการสังเคราะห์องค์ประกอบการออกแบบเกมกระดานเพื่อนาไปสู่การออกแบบเกมกระดานการจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติสาหรับประชาชนในเขตพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ดาเนินการวิจัยตามขั้นตอนของแผนการวิจัย ได้แก่ 1) การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องภัยพิบัติทางธรรมชาติและการออกแบบเกมกระดาน 2) การสังเคราะห์องค์ประกอบการออกแบบเกมกระดานจากวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และ 3) การพัฒนาแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลการจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติเพื่อใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยแบบสอบถามถูกพัฒนาขึ้นในฐานะเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องการจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติเพื่อนามาใช้เชื่อมโยงกับผลการสังเคราะห์องค์ประกอบของการออกแบบเกมกระดาน เพื่อนาไปสู่การพัฒนาเกมกระดานการจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติสาหรับประชาชนในเขตพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาสาขาบริหารธุรกิจที่ลงทะเบียนเรียนในวิชาเรียนภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ของหนึ่งในคณะผู้วิจัย จานวนทั้งหมด 233 คน โดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) โดยมีผู้สมัครใจตอบแบบสอบถามและส่งคืนแบบสอบถามฉบับสมบูรณ์ผ่านทาง Google Form จานวน 203 คน หลังจากนาผลการวิเคราะห์ทั้งสองส่วนมาเชื่อมโยงกันสามารถพัฒนาเกมกระดานต้นแบบที่ประกอบด้วย ตัวกระดานจานวนทั้งหมด 48 ช่อง (รวมช่องเริ่มต้นและชัยชนะ) ผู้เล่นเกมกระดานนี้สามารถเล่นได้จานวน 2-4 คน เกมกระดานนี้มุ่งเน้นการให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ครอบคลุมเรื่องน้าท่วม แผ่นดินไหว และ พายุ และมีการกาหนดกติกาในการเล่นอย่างชัดเจน
กลยุทธ์การพัฒนาธุรกิจกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านคลองสำโรง จ. สมุทรสาคร ด้วยการตลาดดิจิทัลสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์
การวิจัยเรื่อง กลยุทธ์การพัฒนาธุรกิจกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านคลองสำโรง อ. บ้านแพ้วจ. สมุทรสาคร ด้วยการตลาดดิจิทัลสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านคลองสำโรง และแนวทางพัฒนากลยุทธ์ทางธุรกิจกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านคลองสำโรงอ.บ้านแพ้วจ.สมุทรสาครด้วยการตลาดดิจิทัลสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้การสัมภาษณ์แบบสนทนากลุ่ม (Focus Group) และ การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลจากการวิจัย พบว่ากลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านคลองสำโรง อ. บ้านแพ้ว จ. สมุทรสาคร เป็นวิสาหกิจชุมชนที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับน้ำพริกมาเป็นเวลายาวนานกว่า 23 ปี มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการผลิตน้ำพริกแกงเป็นอย่างดีและช่วยส่งเสริมผู้สูงอายุและสมาชิกในชุมชนให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจุดอ่อน คือ ตราสินค้าของกิจการยังไม่เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคมากนัก เนื่องจากยังไม่มีการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ตราสินค้าให้ผู้บริโภครับรู้เท่าที่ควรสมาชิกในวิสาหกิจชุมชนทั้งหมดเป็นผู้สูงอายุ จึงทำให้ไม่รู้เรื่องเทคโนโลยีและช่องทางการจัดจำหน่ายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ แนวทางการพัฒนากลยุทธ์ด้วยการตลาดดิจิทัล ช่วยสร้างการรับรู้ให้เกิดขึ้นกับธุรกิจ ทำให้เกิดการรับรู้ในวงกว้าง สามารถเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้เป็นจำนวนมาก ช่วยโปรโมทสินค้าหรือบริการผ่านทางสื่อดิจิทัล และสามารถสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้บริโภค เพื่อเพิ่มยอดขาย ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เนื่องจากผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสื่อเหล่านี้ได้ง่าย และสามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา
แนวทางการจัดการทางด้านการเงินของนักศึกษาในเขตภาคกลางตอนล่าง หลังวิกฤติโควิท 19
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การศึกษา คือ ประการที่หนึ่ง เพื่อวิเคราะห์สภาวะความมั่นคงทางด้านการเงินและปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงทางด้านการเงินแก่สถาบันครอบครัวของนักศึกษาอย่างมีส่วนร่วม และเพี่อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาทางการเงินของครอบครัวของนักศึกษาโดยผ่านนวัตกรรมทางการเงินที่อย่างมีส่วนร่วม การศึกษาครั้งนี้มีระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยเชิงผสม (Mixed method) โดยมีการวิจิยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกในกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจานวน 10 ตัวอย่าง และการวิจัยเชิงปริมาณเป็นการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ปัจจัยการปรับตัวทางการเงิน และปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารการเงินส่วนบุคคลในตัวอย่างจานวน 400 ตัวอย่าง ด้วยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจงและใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณาและสถิติเชิงอนุมานโดยการทดสอบสมมติฐานและทาการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงเส้นตรงอย่างง่ายผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยด้านประชากรศาสตร์สรุปได้ว่า ตัวอย่างในการศึกษามีสัดส่วนเพศชายและเพศหญิงใกล้เคียงกัน มีอายุเฉลี่ยส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 31-40 ปี และมีการศึกษาในระดับชั้นปริญญาตรีประกอบอาชีพเป็นเจ้าของกิจการ/ผู้ประกอบการ/อาชีพอิสระ มีสถานะสมรสส่วนใหญ่เป็นผู้ที่สมรส มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน10,001 – 20,000 บาท ปัจจัยที่เป็นตัวแปรอิสระทั้งสี่ปัจจัยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ในแต่ละปัจจัยมีค่าเฉลี่ยอยู่ตั้งแต่ 3.51 ถึง 4.50 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันของตัวแปรอิสระแต่ละคู่ พบว่ามีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันทุกค่าน้อยกว่า 0.8 ค่าสถิติ Tolerance มีค่าอยู่ในช่วง 0.420 ถึง 0.585ค่าสถิติ VIF มีค่าในช่วง 1.708 ถึง 2.367 ปัจจัยที่เป็นตัวแปรตามคือการปรับตัวด้านการเงิน (Y) มีค่าเฉลี่ย ( x )ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) คือ 4.22 และ 0.732ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านประชากรศาสตร์และการปรับตัวด้านการเงิน (Y) วิธีจับคู่ความแตกต่างน้อยที่สุดอย่างมีนัยสาคัญ (LSD) ผลการศึกษาพบว่าตัวแปรด้านปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ในแต่ละตัวแปรมีความคิดเห็นแตกต่างกันเกี่ยวกับการปรับตัวทางการเงินอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ผลการศึกษาด้านปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารการเงินส่วนบุคคลและการปรับตัวด้านการเงิน พบว่าตัวแปรอิสระทุกตัว ได้แก่ ทัศนคติต่อการบริหารเงิน (X1) ความรับผิดชอบต่อการเงินครอบครัว (X2) อิทธิพลจากกลุ่มอ้างอิง (X3) และมาตรการเยียวยาด้านการเงินของภาครัฐ (X4) มีอิทธิพลในการกาหนด การปรับตัวด้านการเงิน โดยมีค่า R2 เท่ากับ 0.651 และค่า Std. Error of the Estimate เท่ากับ 0.435การศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะคือ 1. ภาครัฐบาลควรสร้างแนวทางเพื่อส่งเสริมการวางแผนทางการเงินโดยช่วงปกติและแผนทางการเงินสาหรับกรณีฉุกเฉิน 2. ผู้ปกครองควรพิจารณาการวางแผนการเงินส่วนบุคคลเป็นเรื่องที่มีความสาคัญเป็นลาดับแรกและมีการวางแผนทางการเงินที่รัดกุมและตั้งเป้าหมายทางการเงินในระยะสั้นเพื่อเป็นแนวทางในการจัดการการเงินในครัวเรือน