จำนวนงานวิจัย ( 69 )

กลยุทธ์การพัฒนาธุรกิจกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านคลองสำโรง จ. สมุทรสาคร ด้วยการตลาดดิจิทัลสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์
กลยุทธ์การพัฒนาธุรกิจกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านคลองสำโรง จ. สมุทรสาคร ด้วยการตลาดดิจิทัลสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

การวิจัยเรื่อง กลยุทธ์การพัฒนาธุรกิจกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านคลองสำโรง อ. บ้านแพ้วจ. สมุทรสาคร ด้วยการตลาดดิจิทัลสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านคลองสำโรง และแนวทางพัฒนากลยุทธ์ทางธุรกิจกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านคลองสำโรงอ.บ้านแพ้วจ.สมุทรสาครด้วยการตลาดดิจิทัลสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้การสัมภาษณ์แบบสนทนากลุ่ม (Focus Group) และ การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลจากการวิจัย พบว่ากลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านคลองสำโรง อ. บ้านแพ้ว จ. สมุทรสาคร เป็นวิสาหกิจชุมชนที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับน้ำพริกมาเป็นเวลายาวนานกว่า 23 ปี มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการผลิตน้ำพริกแกงเป็นอย่างดีและช่วยส่งเสริมผู้สูงอายุและสมาชิกในชุมชนให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจุดอ่อน คือ ตราสินค้าของกิจการยังไม่เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคมากนัก เนื่องจากยังไม่มีการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ตราสินค้าให้ผู้บริโภครับรู้เท่าที่ควรสมาชิกในวิสาหกิจชุมชนทั้งหมดเป็นผู้สูงอายุ จึงทำให้ไม่รู้เรื่องเทคโนโลยีและช่องทางการจัดจำหน่ายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ แนวทางการพัฒนากลยุทธ์ด้วยการตลาดดิจิทัล ช่วยสร้างการรับรู้ให้เกิดขึ้นกับธุรกิจ ทำให้เกิดการรับรู้ในวงกว้าง สามารถเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้เป็นจำนวนมาก ช่วยโปรโมทสินค้าหรือบริการผ่านทางสื่อดิจิทัล และสามารถสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้บริโภค เพื่อเพิ่มยอดขาย ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เนื่องจากผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสื่อเหล่านี้ได้ง่าย และสามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา

2566
แนวทางการจัดการทางด้านการเงินของนักศึกษาในเขตภาคกลางตอนล่าง หลังวิกฤติโควิท 19
แนวทางการจัดการทางด้านการเงินของนักศึกษาในเขตภาคกลางตอนล่าง หลังวิกฤติโควิท 19

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การศึกษา คือ ประการที่หนึ่ง เพื่อวิเคราะห์สภาวะความมั่นคงทางด้านการเงินและปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงทางด้านการเงินแก่สถาบันครอบครัวของนักศึกษาอย่างมีส่วนร่วม และเพี่อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาทางการเงินของครอบครัวของนักศึกษาโดยผ่านนวัตกรรมทางการเงินที่อย่างมีส่วนร่วม การศึกษาครั้งนี้มีระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยเชิงผสม (Mixed method) โดยมีการวิจิยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกในกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจานวน 10 ตัวอย่าง และการวิจัยเชิงปริมาณเป็นการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ปัจจัยการปรับตัวทางการเงิน และปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารการเงินส่วนบุคคลในตัวอย่างจานวน 400 ตัวอย่าง ด้วยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจงและใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณาและสถิติเชิงอนุมานโดยการทดสอบสมมติฐานและทาการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงเส้นตรงอย่างง่ายผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยด้านประชากรศาสตร์สรุปได้ว่า ตัวอย่างในการศึกษามีสัดส่วนเพศชายและเพศหญิงใกล้เคียงกัน มีอายุเฉลี่ยส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 31-40 ปี และมีการศึกษาในระดับชั้นปริญญาตรีประกอบอาชีพเป็นเจ้าของกิจการ/ผู้ประกอบการ/อาชีพอิสระ มีสถานะสมรสส่วนใหญ่เป็นผู้ที่สมรส มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน10,001 – 20,000 บาท ปัจจัยที่เป็นตัวแปรอิสระทั้งสี่ปัจจัยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ในแต่ละปัจจัยมีค่าเฉลี่ยอยู่ตั้งแต่ 3.51 ถึง 4.50 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันของตัวแปรอิสระแต่ละคู่ พบว่ามีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันทุกค่าน้อยกว่า 0.8 ค่าสถิติ Tolerance มีค่าอยู่ในช่วง 0.420 ถึง 0.585ค่าสถิติ VIF มีค่าในช่วง 1.708 ถึง 2.367 ปัจจัยที่เป็นตัวแปรตามคือการปรับตัวด้านการเงิน (Y) มีค่าเฉลี่ย ( x )ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) คือ 4.22 และ 0.732ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านประชากรศาสตร์และการปรับตัวด้านการเงิน (Y) วิธีจับคู่ความแตกต่างน้อยที่สุดอย่างมีนัยสาคัญ (LSD) ผลการศึกษาพบว่าตัวแปรด้านปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ในแต่ละตัวแปรมีความคิดเห็นแตกต่างกันเกี่ยวกับการปรับตัวทางการเงินอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ผลการศึกษาด้านปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารการเงินส่วนบุคคลและการปรับตัวด้านการเงิน พบว่าตัวแปรอิสระทุกตัว ได้แก่ ทัศนคติต่อการบริหารเงิน (X1) ความรับผิดชอบต่อการเงินครอบครัว (X2) อิทธิพลจากกลุ่มอ้างอิง (X3) และมาตรการเยียวยาด้านการเงินของภาครัฐ (X4) มีอิทธิพลในการกาหนด การปรับตัวด้านการเงิน โดยมีค่า R2 เท่ากับ 0.651 และค่า Std. Error of the Estimate เท่ากับ 0.435การศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะคือ 1. ภาครัฐบาลควรสร้างแนวทางเพื่อส่งเสริมการวางแผนทางการเงินโดยช่วงปกติและแผนทางการเงินสาหรับกรณีฉุกเฉิน 2. ผู้ปกครองควรพิจารณาการวางแผนการเงินส่วนบุคคลเป็นเรื่องที่มีความสาคัญเป็นลาดับแรกและมีการวางแผนทางการเงินที่รัดกุมและตั้งเป้าหมายทางการเงินในระยะสั้นเพื่อเป็นแนวทางในการจัดการการเงินในครัวเรือน

2566
การศึกษาผลกระทบเนื่องจากกิจกรรมงานเสาเข็มเจาะในโครงการก่อสร้าง อาคารกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
การศึกษาผลกระทบเนื่องจากกิจกรรมงานเสาเข็มเจาะในโครงการก่อสร้าง อาคารกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลกระทบเนื่องจากกิจกรรมงานที่ทามาก่อนหน้า โดยเลือก กิจกรรมงานเสาเข็มเจาะระบบแห้ง โครงการก่อสร้างอาคารกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เป็นกรณีศึกษา โครงการที่ศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีเสาเข็มเจาะ จำนวน 54 ต้น พบว่า ค่าความคลาดเคลื่อนเกินเกณฑ์ที่ยอมให้ 11 ต้น คิดเป็นร้อยละ 20.37 และจากการตรวจสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มด้วยวิธี Seismic Integrity Test ตามมาตรฐาน ASTM.D 5882-00 พบว่า เสาเข็มอยู่ในสภาพสมบูรณ์ จำนวน 53 ต้น คิดเป็นร้อยละ 98.15 และเสาเข็มอยู่ในสภาพบกพร่องบริเวณหัวเสาเข็ม จำนวน 1 ต้น คิดเป็นร้อยละ 1.85 ตำแหน่งของเสาเข็มคลาดเคลื่อนเกินเกณฑ์ที่ยอมให้ ต้องออกแบบแก้ไขฐานรากใหม่ ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนเงิน 75,760.16 บาท ใช้ระยะเวลาในการทำงานเพิ่ม 10 วัน งานก่อสร้างมีกิจกรรมงานอีกหลายกิจกรรม หากทาไม่ได้คุณภาพจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนของโครงการ และระยะเวลาในการก่อสร้าง อาจจะทำให้ประสบปัญหาขาดทุน ไม่สามารถส่งมอบงานตามกาหนดระยะเวลา ทำให้มีค่าปรับเกิดขึ้น ดังนั้นผู้รับเหมาก่อสร้าง ควรให้ความสาคัญกับการบริหารจัดการที่หน้างานให้ดี มีการตรวจสอบก่อนเริ่มทำงาน ขณะทำงาน โดยผู้ที่มีตาแหน่งสูงกว่าตรวจสอบอีกครั้งหนึ่ง เพื่อเป็นการตรวจทานการทำงานของวิศวกรสนาม ก็สามารถลดข้อผิดพลาดในการทำงานลงได้

2566
แนวทางการจัดการท่องเที่ยวยั่งยืนหลังการเปิดประเทศไทยปี 2565 ของตลาดน้าอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
แนวทางการจัดการท่องเที่ยวยั่งยืนหลังการเปิดประเทศไทยปี 2565 ของตลาดน้าอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม

ตลาดน้าอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม จัดเป็นแหล่งท่องที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษกิจของจังหวัดสมุทรสงคราม และมีชื่อเสียงที่เป็นที่รู้จักกันดีสำหรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ มีการบริการอาหารคาว-หวานโบราณของไทยทั้งบนบกและในเรือ เช่น ก๋วยเตี๋ยวโบราณ ผัดไทย หอยทอด ขนมทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ขนมสัมปันนี และขนมไทยโบราณที่หาทานยาก นอกจากนี้ ตลาดน้ำอัมพวายังมีร่องรอยของสิ่งปลูกสร้างและวิถีชีวิตของประชาชนในอดีตที่มีอายุยาวเกินกว่าร้อยปี เพื่อให้มีการจัดการท่องเที่ยวยั่งยืนของตลาดน้ำอัมพวา การวิจัยครั้งนี มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลกระทบของการจัดการท่องเที่ยวของตลาดน้ำอัมพวา และเพื่อหาแนวทางการจัดการท่องเที่ยวยั่งยืนหลังการเปิดประเทศไทยปี 2565 การวิจัยนี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ (Mixed Method) โดยใช้การรวบรวมข้อมูลจาก แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ กับกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ตัวแทนกลุ่มบุคคลผู้รับผิดชอบและผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียเกี่ยวข้องกับการจัดการ การให้บริการและการจัดการท่องเที่ยวในบริเวณตลาดน้ำอัมพวาจากแบบสอบถามจำนวน 200 คน และจากแบบสัมภาษณ์ จำนวน 20 คน สรุปผลการวิจัยได้ ดังนี้ 1) การท่องเที่ยวตลาดน้าอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม มีผลกระทบทางบวก หรือมีผลดีต่อการจัดการท่องเที่ยวยั่งยืนของตลาดน้าอัมพวา ทางด้านสังคม วัฒนธรรม เศรษกิจ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งการท่องเที่ยวของตลาดน้ำอัมพวาก่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีของชาวบ้านและไม่ท้าให้เกิดปัญหาสังคมต่อชุมชน เช่น การลักขโมย หรือยาเสพติด การท่องเที่ยวของตลาดน้ำอัมพวาทำให้มีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมวัดในจังหวัดสมุทรสงครามมากขึนและท้าให้เกิดการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย เช่น งานศิลปหัตถกรรม การสร้างผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ และยาสมุนไพร การท่องเที่ยวของตลาดน้ำอัมพวาทำให้เกิดการกระจายรายได้ของชาวบ้านและท้าให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น และการท่องเที่ยวของตลาดน้าอัมพวาไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมในด้านน้ำเสีย ขยะ หรือฝุ่น PM 2.5 และไม่ทำให้เกิดการแพร่กระจายของโรคติดต่อแบบเป็นกลุ่ม 2) แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวยั่งยืนของตลาดน้ำอัมพวาหลังการเปิดประเทศไทยปี พ.ศ. 2565 มีดังนี้ 1) ควรมีความร่วมมือกันระหว่างชุมชน เอกชน และภาครัฐ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือผู้มีส่วนได้เสีย 2) ควรใช้สื่อประชาสัมพันธ์อาจใช้แคมเปญจากภาครัฐและการให้ความรู้ 3) ใช้บทลงโทษทางสังคมหรือกฎระเบียบสังคม 4) บังคับใช้กฎหมายเพื่อปรับ 5) ควรใช้มาตรการป้องกันโรคติดต่อและมาตรฐานความสะอาด

2566
กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำสำหรับยกระดับการท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรี
กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำสำหรับยกระดับการท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรี

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยในเชิงปริมาณ(Quantitative Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ1) เพื่อศึกษาความรู้ ความเข้าใจ และการรับรู้ข่าวสารต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำสำหรับยกระดับการท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรี2) เพื่อศึกษาระดับของการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำสำหรับยกระดับการท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คนใช้การสุ่มแบบสะดวกเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ลการวิจัยพบว่า 1) ความรู้ ความเข้าใจ และการรับรู้ข่าวสารต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำสำหรับยกระดับการท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรีภาพรวมอยู่ในระดับมาก2) ระดับของการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำสำหรับยกระดับการท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรีอยู่ในระดับมาก

2566