จำนวนงานวิจัย ( 3 )

การแปรรูปผลิตภัณฑ์ผักตบชวาสู่เชิงพาณิชย์เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและเพิ่มรายได้ที่มั่นคงอย่างยั่งยืนโดยความร่วมมือของประชาชนในชุมชนสร้างผลิตภัณฑ์หญ้าแฝกตำบลบางแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง
การแปรรูปผลิตภัณฑ์ผักตบชวาสู่เชิงพาณิชย์เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและเพิ่มรายได้ที่มั่นคงอย่างยั่งยืนโดยความร่วมมือของประชาชนในชุมชนสร้างผลิตภัณฑ์หญ้าแฝกตำบลบางแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง

การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากใบหญ้าแฝก และผักตบชวา มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลิตภัณฑ์รูปแบบเดิมของผู้ผลิตผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากใบหญ้าแฝก และใบ ผักตบชวา ตำบล บางแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง 2) เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาแปรรูปผลิตภัณฑ์จากใบหญ้าแฝก และ ผักตบชวา ให้มีความสวยงามเหมาะสมกับความต้องการของตลาดโดยความร่วมมือของประชาชนในกลุ่มผลิตภัณฑ์หญ้าแฝกตำบล ผักตบชวา ตำบลบางแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง ที่จะเป็นต้นแบบในการสร้างและแปรรูปผลิตภัณฑ์เส้นใยแฝก เส้นใยผักตบชวา เพื่อสร้างชุมชนให้มีความ เข้มแข็งต่อไป กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนใน ตำบลบางแก้ว และตำบลบ้านแห อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง จำนวน 153 คน สุ่มอย่างง่ายตามตารางยามาเน่ สอบถามให้ได้มาซึ่งความต้องการของผู้บริโภค และตรงตามความต้องการของ ผู้ประกอบการและ ท้องตลาด แล้วประเมินรูปแบบผลิตภัณฑ์ ให้ได้มาตรฐาน โดยปราชญ์ชาวบ้านที่ร่วมแปรรูปผลิตภัณฑ์ ให้เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน จ จำนวน 3 ท่านผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ จ จำนวน 3 ท่าน เพื่อประเมินความเหมาะสมของรูปแบบในการประยุกต์ เป็นผลิตภัณฑ์ จากนั้นสร้างต้นแบบแล้ว ประเมินผลวัดระดับความคิดเห็นของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์หัตถกรรม จากเส้นใย ใบหญ้าแฝก และเส้นใยจาก ใบผักตบชวา พืชที่มีในท้องถิ่นมาผสมผสานเส้นใยแฝก เส้นใยผักตบชวา เส้นใยไหม เส้นใยฝ้าย ผสมผสานให้ เกิดผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัยสวยงามได้มาตรฐาน สามารถ ออกแบบ ได้ ตรงกับความต้องการของท้องตลาด ผู้บริโภคผู้ประกอบการรับซื้อ การดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณควบคู่กันโดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ แบบประเมินความพึงพอใจ เป็นเครื่องมือวิจัย เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลพิจารณาความเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญและความพึงพอใจจากกลุ่มเป้าหมาย วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ( SD) แปลผลในรูปความเรียงผลการวิจัยพบว่า 1) ประชาชนในชุมชนและผู้นำชุมชน ตำบลบางแก้ว และตำบลบ้านแห อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง มีความคิดเห็นกับผลิตภัณฑ์ เดิมยังไม่ทันสมัยและมี ความต้องการ ผลิตภัณฑ์จากเส้นใยแฝก เส้นใยผักตบชวา เส้นใยผสมผสาน เพื่อนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์จากเส้นใยใบหญ้าแฝก และเส้นใยผักตบชวา มากที่สุดรองมาคือ ชุดกระเป๋าสตรี และ หมวก และอื่น ๆ ตามลำดับ 2) ผลการวิเคราะห์ วิธีการกระบวน การออกแบบและแปรรูป พัฒนาผลิตภัณฑ์ รูปแบบของ ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ นั้นมีการออกแบบและพัฒนามีความเหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยเหมาะสมกับวัสดุและกรรมวิธีการผลิต มีความสวยงามและลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ อยู่ในระดับมากและผลการวิเคราะห์ระดับความคิดเห็นของ ประชาชนในชุมชน ตำบลบางแก้วและตำบลบ้านแห อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง ต่อผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากใบหญ้าแฝก เส้นใยผักตบชวา และผสมผสานเส้นใยอื่น ๆ ที่ มีความเหมาะสมจนแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่สวยงามทันสมัย ได้มาตรฐาน เช่น กระเป๋าถือ กระเป๋าสะพาย ของ สุภาพสตรีหลาก หลายรูปแบบ ด้านประโยชน์ใช้สอยทางกายภาพมีความเหมาะสม ผู้ใช้มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากรองลงมาคือ ความสวยงามของรูปทรงและรายละเอียดสามารถแสดงออกถึงความทันสมัยที่มีความเป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่นและประชาชนในชุมชนตำบลบางแก้ว และตำบลบ้านแห อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง มีของท้องถิ่น และประชาชนในชุมชนตำบลบางแก้ว และตำบลบ้านแห อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง มีข้อเสนอแนะ ต้องการผลิตภัณฑ์ที่มีความทันสมัยแตกต่างจากผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในท้องถิ่นและต้องการผู้เชี่ยวชาญ วิทยากร ต้องการผลิตภัณฑ์ที่มีความทันสมัยแตกต่างจากผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในท้องถิ่นและต้องการผู้เชี่ยวชาญ วิทยากร มาฝึกอบรมและทุนสนับสนุนในการสร้างผลิตภัณฑ์มาฝึกอบรมและทุนสนับสนุนในการสร้างผลิตภัณฑ์จากผ้าทอจากเส้นใยแฝก เส้นใยผักตบชวา และผสมผสานเส้นจากผ้าทอจากเส้นใยแฝก เส้นใยผักตบชวา และผสมผสานเส้นใยไหม ฝ้าย กก ให้สวยงามคงทนเมื่อมีการประยุกต์แปรรูปผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคและผู้รับใยไหม ฝ้าย กก ให้สวยงามคงทนเมื่อมีการประยุกต์แปรรูปผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคและผู้รับซื้อทั้งปลีกและส่ง ซื้อทั้งปลีกและส่งให้ให้มีรายได้ที่มีรายได้ที่ยั่งยืน สามารถสร้างอาชีพ สร้างรายได้ยั่งยืน สามารถสร้างอาชีพ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับชุมชนตำบลบางแก้ว และตำบลบ้านแห อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง อย่างต่อเนื่องตลอดไป

2565
การฟื้นฟูเศรษฐกิจและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนจากภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยนวัตกรรม และเทคโนโลยีดิจิทัลสู่ความยั่งยืนสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดเพชรบุรี
การฟื้นฟูเศรษฐกิจและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนจากภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยนวัตกรรม และเทคโนโลยีดิจิทัลสู่ความยั่งยืนสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดเพชรบุรี

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนจากภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลสู่ความยั่งยืนสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดเพชรบุรี เพื่อเพิ่มศักยภาพชุมชนและสมาชิกชุมชนและเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์อย่างยั่งยืน เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องแต่งกายของกลุ่มเป้าหมาย และเพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาห่วงโซ่ผลิตภัณฑ์สิ่งทออย่างยั่งยืน ชุดโครงการวิจัยนี้มีจำนวน 3 โครงการวิจัยย่อย ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน คือ วิจัยเชิงคุณภาพ วิจัยเชิงพื้นที่ และวิจัยประยุกต์ สามารถสรุปผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ได้ 3 ข้อดังนี้ สรุปผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ได้ 3 ข้อดังนี้ 1. เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนจากภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลสู่ความยั่งยืนสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดเพชรบุรี ในกระบวนการวิจัยนี้พัฒนา ผลิตภัณฑ์ชุมชนจากภูมิปัญญาท้องถิ่นได้ 3 ด้าน ดังนี้ 1. ด้านสิ่งทอด้วยนวัตกรรมการพิมพ์ 2. ด้านผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกาย 3. ด้านการตลาดออนไลน์ ซึ่งทั้ง 3 ด้านสามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนได้ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล 2. เพื่อเพิ่มศักยภาพชุมชนและสมาชิกชุมชนและเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชนจากภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน สามารถเพิ่มศักยภาพและเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชนได้ ดังนี้ 1.การสร้างลวดลายบนสิ่งทอเส้นใยป่านศรนารายณ์ และเส้นใยป่านศรนารายณ์ผสมฝ้าย และสร้างทางเลือกให้กับชุมชนได้ต่อยอดความรู้สู่ผลิตภัณฑ์ชุมชน 2.ผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกาย จำนวน 4 ประเภท คือ ชุดสตรี รองเท้า กระเป๋า หมวก หมวก และ 3.สร้างกลยุทธ์โดยใช้การวิเคราะห์ TOWS Matrix ออกมาเป็น 2 กลยุทธ์ คือ กลยุทธ์ที่ 1 กลยุทธ์ภาพลักษณ์ตราผลิตภัณฑ์เพื่อประชาสัมพันธ์และการโฆษณาในสื่อสังคมออนไลน์เชิงพาณิชย์ และกลยุทธ์ที่ 2 กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์ลูกค้าในสื่อสังคมออนไลน์เชิงพาณิชย์สำหรับวิสาหกิจชุมชนยุคดิจิทัล ซึ่งส่งผลให้ชุมชนมีสื่อประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่สนใจได้รู้จักมากขึ้น เป็นช่องทางสร้างรายได้ที่ดีทางหนึ่ง 3. เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องแต่งกายของกลุ่มเป้าหมาย สามารถพัฒนาได้ 2 กลุ่มผลิตภัณฑ์ คือ 1. การสิ่งทอเส้นใยป่านศรนารายณ์ และเส้นใยป่านศรนารายณ์ผสมฝ้าย และ ผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกาย จำนวน 4 ประเภท คือ ชุดสตรี รองเท้า กระเป๋า หมวก เมื่อศึกษาความพึงพอใจจากผู้ตอบแบบสอบถามพบว่า โดยรวมมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด4. เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาห่วงโซ่ผลิตภัณฑ์สิ่งทออย่างยั่งยืน จากการวิจัยทั้ง 3 กิจกรรมย่อย สามารถสรุปได้ว่า วิสาหกิจชุมชนหุบกะพง จังหวัดเพชรบุรี และวิสาหกิจชุมชนอื่นๆ ในจังหวัดเพชรบุรี สามารถนำกระบวนการวิจัยนี้ไปพัฒนาต่อยอด สร้างแนวทางการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มชุมชนได้ เพื่อให้เกิดกลุ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ และมีมูลค่ามากขึ้นจากจากภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล

2565
การเสริมสร้างศักยภาพชุมชนด้วยทุนวัฒนธรรมร่วมสมัยเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากสำหรับวิสาหกิจชุมชน จังหวัดสุพรรณบุรี
การเสริมสร้างศักยภาพชุมชนด้วยทุนวัฒนธรรมร่วมสมัยเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากสำหรับวิสาหกิจชุมชน จังหวัดสุพรรณบุรี

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างศักยภาพชุมชนด้วยทุนวัฒนธรรมร่วมสมัย เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากสำหรับวิสาหกิจชุมชน จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อออกแบบและสร้างสรรค์ลวดลายสิ่งทอ ผลิตภัณฑ์จากผ้าทอพื้นถิ่น ด้วยทุนวัฒนธรรมร่วมสมัยผ่านกระบวนการทางวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยทุนวัฒนธรรมจังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อเพิ่มศักยภาพชุมชนและสมาชิกชุมชนและพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้กับผลิตภัณฑ์อย่างยั่งยืน และเพื่อเป็นแนวทางเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชน ด้วยทุนวัฒนธรรมร่วมสมัยสู่เชิงพาณิชย์ ชุดโครงการวิจัยนี้มีจำนวน 3 โครงการวิจัยย่อย ใช้วิธีการวิจัย แบบผสมผสาน คือ วิจัยเชิงพื้นที่และวิจัยประยุกต์ สามารถสรุปผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ได้ 3 ข้อดังนี้ 1. การเสริมสร้างศักยภาพชุมชนด้วยทุนวัฒนธรรมร่วมสมัยเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากสำหรับวิสาหกิจชุมชน จังหวัดสุพรรณบุรี ในกระบวนการวิจัยนี้นำทุนวัฒนธรรมตามอัตลักษณ์ชุมชนของจังหวัดสุพรรณบุรี แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มศิลปะ กลุ่มวัฒนธรรมอัตลักษณ์ กลุ่มภูมิปัญญาอัตลักษณ์ กลุ่มสิ่งทอ และกลุ่มบรรจุภัณฑ์ ใช้สัญญะของทุนวัฒนธรรมแสดงถึงความร่วมสมัยและเป็นอัตลักษณ์ชุมชน เพื่อเสริมสร้างศักยภาพชุมชน2. เพื่อออกแบบและสร้างสรรค์ลวดลายสิ่งทอ ผลิตภัณฑ์จากผ้าทอพื้นถิ่น ด้วยทุนวัฒนธรรม ร่วมสมัยผ่านกระบวนการทางวิจัย เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยทุนวัฒนธรรมจังหวัดสุพรรณบุรี ได้ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเสื้อผ้าสตรี เครื่องประกอบการแต่งกาย และผลงานจิตรกรรม ด้วยนวัตกรรมศิลปะและเทคโนโลยี กลุ่มผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์ด้วยใช้ผ้าขาวม้าลายตาโก้ 5 ประเภท คือ หมวก รองเท้า กระเป๋า เสื้อผ้าบุรุษ และเสื้อผ้าสตรี โดยใช้แนวโน้มแฟชั่น กลุ่มอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ต้นแบบ 3 ประเภท คือ ถุง 1 รูปแบบ กล่อง 2 รูปแบบ และฉลาก 2 รูปแบบ 3. เพื่อเพิ่มศักยภาพชุมชนและสมาชิกชุมชนและพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้กับผลิตภัณฑ์ อย่างยั่งยืน พบว่าลวดลายผลิตภัณฑ์สิ่งทอ สามารถสื่อถึงอัตลักษณ์อู่ทอง ผลิตภัณฑ์ต้นแบบสามารถใช้ เป็นต้นแบบให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่มีลวดลายและรูปแบบร่วมสมัย เพิ่มความหลากหลาย เป็นการช่วยส่งเสริมให้มีการนำลวดลายจากอัตลักษณ์ไปผลิตเป็นผืนผ้า และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อจำหน่าย ส่งผล ให้สมาชิกในชุมชนมีอาชีพที่มั่นคง มีรายได้เลี้ยงครอบครัว สร้างคุณค่าให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง ผลการสอบถามความพึงพอใจภาพรวม ดังนี้ 1. ด้านการออกแบบ ผลิตภัณฑ์ผลงานจิตรกรรม แบบที่ 1 ลวดลายอัตลักษณ์จากพวงมโหตร แบบที่ 2 ลวดลายอัตลักษณ์จากพวงมโหตร ผลิตภัณฑ์ เครื่องประกอบการแต่งกาย (กระเป๋า) แบบที่ 1 ลวดลายอัตลักษณ์จากธรรมจักรอู่ทอง แบบที่ 2 ลวดลาย อัตลักษณ์จากธรรมจักรอู่ทอง 2. ด้านการออกแบบสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์จากผ้าทอพื้นถิ่น มีความพึงพอใจระดับมากที่สุด และ 3. ด้านตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์

2565