การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างศักยภาพชุมชนด้วยทุนวัฒนธรรมร่วมสมัย เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากสำหรับวิสาหกิจชุมชน จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อออกแบบและสร้างสรรค์ลวดลายสิ่งทอ ผลิตภัณฑ์จากผ้าทอพื้นถิ่น ด้วยทุนวัฒนธรรมร่วมสมัยผ่านกระบวนการทางวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยทุนวัฒนธรรมจังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อเพิ่มศักยภาพชุมชนและสมาชิกชุมชนและพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้กับผลิตภัณฑ์อย่างยั่งยืน และเพื่อเป็นแนวทางเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชน ด้วยทุนวัฒนธรรมร่วมสมัยสู่เชิงพาณิชย์ ชุดโครงการวิจัยนี้มีจำนวน 3 โครงการวิจัยย่อย ใช้วิธีการวิจัย แบบผสมผสาน คือ วิจัยเชิงพื้นที่และวิจัยประยุกต์ สามารถสรุปผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ได้ 3 ข้อดังนี้ 1. การเสริมสร้างศักยภาพชุมชนด้วยทุนวัฒนธรรมร่วมสมัยเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากสำหรับวิสาหกิจชุมชน จังหวัดสุพรรณบุรี ในกระบวนการวิจัยนี้นำทุนวัฒนธรรมตามอัตลักษณ์ชุมชนของจังหวัดสุพรรณบุรี แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มศิลปะ กลุ่มวัฒนธรรมอัตลักษณ์ กลุ่มภูมิปัญญาอัตลักษณ์ กลุ่มสิ่งทอ และกลุ่มบรรจุภัณฑ์ ใช้สัญญะของทุนวัฒนธรรมแสดงถึงความร่วมสมัยและเป็นอัตลักษณ์ชุมชน เพื่อเสริมสร้างศักยภาพชุมชน2. เพื่อออกแบบและสร้างสรรค์ลวดลายสิ่งทอ ผลิตภัณฑ์จากผ้าทอพื้นถิ่น ด้วยทุนวัฒนธรรม ร่วมสมัยผ่านกระบวนการทางวิจัย เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยทุนวัฒนธรรมจังหวัดสุพรรณบุรี ได้ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเสื้อผ้าสตรี เครื่องประกอบการแต่งกาย และผลงานจิตรกรรม ด้วยนวัตกรรมศิลปะและเทคโนโลยี กลุ่มผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์ด้วยใช้ผ้าขาวม้าลายตาโก้ 5 ประเภท คือ หมวก รองเท้า กระเป๋า เสื้อผ้าบุรุษ และเสื้อผ้าสตรี โดยใช้แนวโน้มแฟชั่น กลุ่มอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ต้นแบบ 3 ประเภท คือ ถุง 1 รูปแบบ กล่อง 2 รูปแบบ และฉลาก 2 รูปแบบ 3. เพื่อเพิ่มศักยภาพชุมชนและสมาชิกชุมชนและพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้กับผลิตภัณฑ์ อย่างยั่งยืน พบว่าลวดลายผลิตภัณฑ์สิ่งทอ สามารถสื่อถึงอัตลักษณ์อู่ทอง ผลิตภัณฑ์ต้นแบบสามารถใช้ เป็นต้นแบบให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่มีลวดลายและรูปแบบร่วมสมัย เพิ่มความหลากหลาย เป็นการช่วยส่งเสริมให้มีการนำลวดลายจากอัตลักษณ์ไปผลิตเป็นผืนผ้า และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อจำหน่าย ส่งผล ให้สมาชิกในชุมชนมีอาชีพที่มั่นคง มีรายได้เลี้ยงครอบครัว สร้างคุณค่าให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง ผลการสอบถามความพึงพอใจภาพรวม ดังนี้ 1. ด้านการออกแบบ ผลิตภัณฑ์ผลงานจิตรกรรม แบบที่ 1 ลวดลายอัตลักษณ์จากพวงมโหตร แบบที่ 2 ลวดลายอัตลักษณ์จากพวงมโหตร ผลิตภัณฑ์ เครื่องประกอบการแต่งกาย (กระเป๋า) แบบที่ 1 ลวดลายอัตลักษณ์จากธรรมจักรอู่ทอง แบบที่ 2 ลวดลาย อัตลักษณ์จากธรรมจักรอู่ทอง 2. ด้านการออกแบบสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์จากผ้าทอพื้นถิ่น มีความพึงพอใจระดับมากที่สุด และ 3. ด้านตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์