จำนวนบทความ ( 25 )
การศึกษาและพัฒนากระเป๋าจากเข่งปลาทู จังหวัดสมุทรสงคราม
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนากระเป๋าจากเข่งปลาทู จังหวัดสมุทรสงคราม และเพื่อหาความพึงพอใจของกระเป๋าจากเข่งปลาทู จังหวัดสมุทรสงคราม ผู้วิจัยจึงศึกษาข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ และได้ทำการออกแบบและพัฒนากระเป๋าจากเข่งปลาทู จังหวัดสมุทรสงคราม โดยนำกระบวนการขึ้นรูปมาช่วยในการออกแบบเพื่อให้ผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากเข่งปลาทูยังคงรูปทรงลวดลายให้มีเอกลักษณ์ ให้มีความสวยงามและเหมาะสมกับการใช้งานเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุโดยนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความร่วมสมัยมากขึ้น โดยกลุ่มประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลคือกลุ่มที่มีความชื่นชอบในงานจักสานช่วงอายุตั้งแต่ 27-37 ปี จำนวน 50 คน และขั้นตอนที่สอง คือแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากเข่งปลาทู จังหวัดสมุทรสงคราม จากกลุ่มตัวอย่างเพศหญิงที่มีอายุ ตั้งแต่ 27-37 จำนวน 30 คน ที่ได้มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง ผลการศึกษาหาแนวทางในการออกแบบและพัฒนากระเป๋าจากเข่งปลาทู จังหวัดสมุทรสงคราม ได้จัดทำแบบสอบถามประเมินพฤติกรรมการใช้งาน โดยมีกลุ่มตัวอย่างอายุตั้งแต่ 27-37 ปี จำนวน 50 คน ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 76.00 มีโอกาสในการใช้งานกระเป๋าในชีวิตประจำวันทั่วไปมากที่สุด ประเภทของกระเป๋ามี 3 ประเภท ที่ได้รับความนิยมจากการทำแบบสอบถามมากที่สุดคือ กระเป๋าสะพายข้าง (Crossbody Bag) คิดเป็นร้อยละ 25.21 กระเป๋าคล้องไหล่ (Shoulder Bag) คิดเป็น ร้อยละ 22.69 กระเป๋าคล้องมือ (Wrist Bag) คิดเป็นร้อยละ 21.85 ในด้านความเห็นด้านการออกแบบมีความต้องการเน้นไปทางด้านดีไซน์เป็นหลัก คิดเป็นร้อยละ 27.27 และการศึกษาเกี่ยวกับการประเมินความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากเข่งปลาทู จังหวัดสมุทรสงคราม จากกลุ่มตัวอย่างเพศหญิง ที่มีอายุตั้งแต่ 27-37 ปี จำนวน 30 คน โดยผู้วิจัยได้นำข้อมูลมาใช้สถิติวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานได้ข้อมูลสถิติดังนี้ มากที่สุดคือด้านความสวยงามของลวดลาย (x ̅= 4.53, S.D. = 0.50) รองลงมาคือด้านความสวยงามของรูปทรง (x ̅ = 4.47, S.D. = 0.62) ด้านความพึงพอใจในผลิตภัณฑ์ (x ̅= 4.47, S.D. = 0.56) ด้านความแข็งแรง/ทนทาน (x ̅ = 4.43, S.D. = 0.56) และด้านประโยชน์ใช้สอย (x ̅= 4.40, S.D. = 0.80)
การศึกษาและออกแบบชุดกระถางต้นไม้เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากตำบลบ้างเชียง จังหวัดอุดรธานี
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาของศิลปวัฒนธรรมลวดลายเครื่องปั้นดินเผาของตำบลบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี 2) เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ชุดกระถางต้นไม้ เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากตำบลบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ปลูกต้นไม้ที่มีต่อผลิตภัณฑ์ชุดกระถางต้นไม้ เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากตำบลบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี การดำเนินการวิจัยโดยศึกษาข้อมูลด้านลวดลายเครื่องปั้นดินเผาของตำบลบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี รวมถึงหลักการด้านการออกแบบให้เหลือจำนวน 3 รูปแบบ ซึ่งประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบเซรามิก จำนวน 3 ท่าน และประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 51 คน โดยประเมินค่าข้อมูลในรูปแบบ Rating Scale ผลการวิจัยพบว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและผู้บริโภค เห็นว่ากระถางต้นไม้รูปแบบที่ 2 มีความเหมาะสมต่อการนำไปใช้งานมากที่สุดและแสดงถึงเอกลักษณ์ศิลปะบ้านเชียงที่แสดงถึงลวดลายก้นหอย และผลความพึงพอใจของผู้บริโภคพบว่าผลิตภัณฑ์รูปแบบที่ 2 ด้านผลิตภัณฑ์มีความเหมาะสมมากที่สุด (x ̅= 4.65, S.D.= 0.55) ด้านราคามีความเหมาะสมมากที่สุด (x ̅= 4.63, S.D.= 0.57) ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายมีความเหมาะสมมากที่สุด (x ̅= 4.57, S.D.= 0.53) และด้านการส่งเสริมการตลาดมีความเหมาะสมมากที่สุด (x ̅= 4.56, S.D.= 0.58)
โครงการศึกษาและออกแบบของตกแต่งภายในบ้านจากดอกทานตะวันจังหวัดสระบุรี
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) ศึกษาธรรมชาติ รูปลักษณ์ กายภาพดอกทานตะวันที่เป็นเอกลักษณ์จังหวัดสระบุรี 2) ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์เซรามิกตกแต่งภายในบ้าน 3) ประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์เซรามิกตกแต่งภายในบ้าน การดำเนินการวิจัยโดยการศึกษาข้อมูลของดอกทานตะวันและสไตล์การตกแต่งภายในบ้านรวมถึงหลักการด้านการออกแบบ ดำเนินการออกแบบ พัฒนาให้เหลือจำนวน 3 รูปแบบ ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบเซรามิก จำนวน 3 ท่าน และประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 51 คน โดยประเมินค่าข้อมูลในแบบ Rating Scale ผลการวิจัยพบว่าผลิตภัณฑ์ของตกแต่งภายในบ้านจากดอกทานตะวันจังหวัดสระบุรี รูปแบบที่ 3 มีความเหมาะสมต่อการนำไปใช้งานมากที่สุด (𝑥̅ = 4.66, S.D. = 0.42) และผลความพึงพอใจของผู้บริโภคพบว่าผลิตภัณฑ์รูปแบบที่ 3 ด้านผลิตภัณฑ์ มีความเหมาะสมมาก (𝑥̅ = 3.86, S.D.= 0.54) ด้านราคา มีความเหมาะสมมาก (𝑥̅ = 4.46, S.D.= 0.44) ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายมีความเหมาะสมมาก (𝑥̅ = 4.20, S.D.= 0.42) และด้านการส่งเสริมตลาดมีความเหมาะสมมาก (𝑥̅ = 4.65, S.D.= 0.40) ค่าเฉลี่ยในการวิเคราะห์รวมทั้ง 4 ด้าน มีความเหมาะสมมาก (𝑥̅ = 4.04, S.D. = 0.45)
การศึกษาสาเหตุการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสาเหตุการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลพระนคร และ 2) เปรียบเทียบลักษณะประชากรกับสาเหตุการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาจาก 9 คณะ และ 1 สถาบัน ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จำนวน 400 คน ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 52.00 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 89.50 และกำลังศึกษาระดับชั้นปีที่ 1 ร้อยละ 49.50 สาเหตุการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษา ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ด้านการเข้าร่วมกิจกรรม ภาพรวมอยู่ในระดับมาก และด้านการไม่เข้าร่วมกิจกรรม อยู่ในระดับมาก และการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศต่างกันมีสาเหตุการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนศาสนา และระดับชั้นที่ศึกษาต่างกันมี สาเหตุการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ไม่แตกต่างกัน
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมของประชาชนวัยทำงานในเขตชุมชนวิทยาลัยการอาชีพนครปฐม
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้คุณค่าของผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ส่วนประสมทางการตลาด ความต้องการ และการตัดสินใจเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมของประชาชนวัยทำงานเขตชุมชนวิทยาลัยการอาชีพนครปฐม 2) เปรียบเทียบลักษณะประชากรกับการตัดสินใจเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมของประชาชนวัยทำงานเขตชุมชนวิทยาลัยการอาชีพนครปฐม และ 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมของประชาชนวัยทำงานเขตชุมชนวิทยาลัยการอาชีพนครปฐม ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชาชนวัยทำงานในเขตชุมชนวิทยาลัยการอาชีพนครปฐม จากการคำนวณด้วยโปรแกรม G*power สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-Test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) การรับรู้คุณค่าของผลิตภัณฑ์อาหารเสริมอยู่ในระดับมาก (𝑥̅= 3.96) ส่วนประสมทางการตลาดของผลิตภัณฑ์อาหารเสริมภาพรวมอยู่ในระดับมาก (𝑥̅= 4.08) ความต้องการเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมอยู่ในระดับมาก (𝑥̅= 3.79) และ การตัดสินใจเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมอยู่ในระดับมาก (𝑥̅= 4.11) ผลการทดสอบสมมุติฐาน พบว่า (2) เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือนต่างกันมีการตัดสินใจบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมไม่แตกต่างกัน (3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมของประชาชนวัยทำงานเขตชุมชนวิทยาลัยการอาชีพนครปฐม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .05 ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา และความต้องการบริโภค