จำนวนบทความ ( 55 )

โครงการศึกษาและออกแบบของตกแต่งภายในบ้านจากดอกทานตะวันจังหวัดสระบุรี
โครงการศึกษาและออกแบบของตกแต่งภายในบ้านจากดอกทานตะวันจังหวัดสระบุรี

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) ศึกษาธรรมชาติ รูปลักษณ์ กายภาพดอกทานตะวันที่เป็นเอกลักษณ์จังหวัดสระบุรี 2) ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์เซรามิกตกแต่งภายในบ้าน 3) ประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์เซรามิกตกแต่งภายในบ้าน การดำเนินการวิจัยโดยการศึกษาข้อมูลของดอกทานตะวันและสไตล์การตกแต่งภายในบ้านรวมถึงหลักการด้านการออกแบบ ดำเนินการออกแบบ พัฒนาให้เหลือจำนวน 3 รูปแบบ ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบเซรามิก จำนวน 3 ท่าน และประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 51 คน โดยประเมินค่าข้อมูลในแบบ Rating Scale ผลการวิจัยพบว่าผลิตภัณฑ์ของตกแต่งภายในบ้านจากดอกทานตะวันจังหวัดสระบุรี รูปแบบที่ 3 มีความเหมาะสมต่อการนำไปใช้งานมากที่สุด (𝑥̅ = 4.66, S.D. = 0.42) และผลความพึงพอใจของผู้บริโภคพบว่าผลิตภัณฑ์รูปแบบที่ 3 ด้านผลิตภัณฑ์ มีความเหมาะสมมาก (𝑥̅ = 3.86, S.D.= 0.54) ด้านราคา มีความเหมาะสมมาก (𝑥̅ = 4.46, S.D.= 0.44) ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายมีความเหมาะสมมาก (𝑥̅ = 4.20, S.D.= 0.42) และด้านการส่งเสริมตลาดมีความเหมาะสมมาก (𝑥̅ = 4.65, S.D.= 0.40) ค่าเฉลี่ยในการวิเคราะห์รวมทั้ง 4 ด้าน มีความเหมาะสมมาก (𝑥̅ = 4.04, S.D. = 0.45)

2566
การศึกษาสาเหตุการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
การศึกษาสาเหตุการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสาเหตุการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลพระนคร และ 2) เปรียบเทียบลักษณะประชากรกับสาเหตุการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาจาก 9 คณะ และ 1 สถาบัน ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จำนวน 400 คน ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 52.00 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 89.50 และกำลังศึกษาระดับชั้นปีที่ 1 ร้อยละ 49.50 สาเหตุการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษา ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ด้านการเข้าร่วมกิจกรรม ภาพรวมอยู่ในระดับมาก และด้านการไม่เข้าร่วมกิจกรรม อยู่ในระดับมาก และการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศต่างกันมีสาเหตุการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนศาสนา และระดับชั้นที่ศึกษาต่างกันมี สาเหตุการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ไม่แตกต่างกัน

2566
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมของประชาชนวัยทำงานในเขตชุมชนวิทยาลัยการอาชีพนครปฐม
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมของประชาชนวัยทำงานในเขตชุมชนวิทยาลัยการอาชีพนครปฐม

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้คุณค่าของผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ส่วนประสมทางการตลาด ความต้องการ และการตัดสินใจเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมของประชาชนวัยทำงานเขตชุมชนวิทยาลัยการอาชีพนครปฐม 2) เปรียบเทียบลักษณะประชากรกับการตัดสินใจเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมของประชาชนวัยทำงานเขตชุมชนวิทยาลัยการอาชีพนครปฐม และ 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมของประชาชนวัยทำงานเขตชุมชนวิทยาลัยการอาชีพนครปฐม ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชาชนวัยทำงานในเขตชุมชนวิทยาลัยการอาชีพนครปฐม จากการคำนวณด้วยโปรแกรม G*power สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-Test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) การรับรู้คุณค่าของผลิตภัณฑ์อาหารเสริมอยู่ในระดับมาก (𝑥̅= 3.96) ส่วนประสมทางการตลาดของผลิตภัณฑ์อาหารเสริมภาพรวมอยู่ในระดับมาก (𝑥̅= 4.08) ความต้องการเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมอยู่ในระดับมาก (𝑥̅= 3.79) และ การตัดสินใจเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมอยู่ในระดับมาก (𝑥̅= 4.11) ผลการทดสอบสมมุติฐาน พบว่า (2) เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือนต่างกันมีการตัดสินใจบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมไม่แตกต่างกัน (3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมของประชาชนวัยทำงานเขตชุมชนวิทยาลัยการอาชีพนครปฐม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .05 ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา และความต้องการบริโภค

2566
ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการ และอัตราส่วนทางการเงินกับผลการดำเนินงานของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีบรรษัทภิบาลในระดับดีเลิศ
ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการ และอัตราส่วนทางการเงินกับผลการดำเนินงานของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีบรรษัทภิบาลในระดับดีเลิศ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการ 2) อัตราส่วนทางการเงินด้านสภาพคล่องทางการเงิน และ 3) อัตราส่วนทางการเงินด้านความสามารถในการชำระหนี้กับกับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีบรรษัทภิบาลในระดับดีเลิศ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) ของบริษัทจำนวน 191 บริษัท ตั้งแต่ปี พ.ศ.2559 ถึงปี พ.ศ.2563 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า 1) การกำกับดูแลกิจการ ได้แก่ (1) ขนาดของคณะกรรมการบริษัท และสัดส่วนของคณะกรรมการอิสระมีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลการดำเนินงานของบริษัทด้านอัตราส่วนกำไรขั้นต้น (2) การกำกับดูแลกิจการทุกด้านไม่มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานของบริษัทด้านอัตราส่วนกำไรสุทธิ (3) ขนาดของคณะกรรมการบริษัท และสัดส่วนการถือครองหุ้นของคณะกรรมการบริหารมีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลการดำเนินงานของบริษัทด้านอัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ และ (4) ขนาดของคณะกรรมการบริษัท และสัดส่วนการถือครองหุ้นของคณะกรรมการบริหารมีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลการดำเนินงานของบริษัทด้านอัตราส่วนผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น 2) ส่วนสภาพคล่องทางการเงินไม่มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีบรรษัทภิบาลในระดับดีเลิศทุกด้าน และ 3) ความสามารถในการชำระหนี้ ได้แก่ (1) อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของมีความสัมพันธ์ทางลบกับอัตราส่วนกำไรขั้นต้น (2) ความสามารถในการชำระหนี้ไม่มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานของบริษัทด้านอัตราส่วนกำไรสุทธิ (3) อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของมีความสัมพันธ์ทางลบ ส่วนอัตราส่วนความสามารถในการชำระดอกเบี้ย มีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลการดำเนินงานของบริษัทด้านอัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ และ (4) อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ และอัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์มีความสัมพันธ์ทางบวก ส่วนอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของมีความสัมพันธ์ทางลบกับผลการดำเนินงานของบริษัทด้านอัตราส่วนผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นที่ระดับนัยสำคัญ .01

2566
การเตรียมความพร้อมและการรับรู้ที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตก่อนเกษียณอายุ ของพนักงานภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดสมุทรปราการ
การเตรียมความพร้อมและการรับรู้ที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตก่อนเกษียณอายุ ของพนักงานภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดสมุทรปราการ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบปัจจัยด้านลักษณะประชากรกับคุณภาพชีวิตก่อนเกษียณอายุของพนักงานภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดสมุทรปราการ 2) ศึกษาการเตรียมความพร้อมที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตก่อนเกษียณอายุของพนักงานภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดสมุทรปราการ และ 3) ศึกษาการรับรู้ที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตก่อนเกษียณอายุของพนักงานภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่าง คือพนักงานที่ทำงานภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 400 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยด้านประชากร ได้แก่ ตำแหน่งที่ต่างกันมีคุณภาพชีวิตก่อนเกษียณอายุของพนักงานภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดสมุทรปราการแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนตัวแปร เพศ อายุ สถานภาพ การศึกษา รายได้ต่อเดือนที่ต่างกันมีคุณภาพชีวิตก่อนเกษียณอายุของพนักงานภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดสมุทรปราการไม่แตกต่างกัน 2) ปัจจัยด้านการเตรียมความพร้อม ด้านเศรษฐกิจ ด้านที่อยู่อาศัย ด้านจิตใจ ด้านการใช้เวลาว่างส่งผลต่อคุณภาพชีวิตก่อนเกษียณอายุของพนักงานภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดสมุทรปราการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนปัจจัยด้านสุขภาพร่างกายไม่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตก่อนเกษียณอายุของพนักงานภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดสมุทรปราการ และ 3) ปัจจัยด้านการรับรู้ ด้านการรับรู้ข่าวสาร และด้านการรับรู้สิทธิ สวัสดิการสังคมส่งผลต่อคุณภาพชีวิตก่อนเกษียณอายุของพนักงานภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดสมุทรปราการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2566