จำนวนบทความ ( 55 )

บทความบูรณาการ “ทอทั้งใจ”
บทความบูรณาการ “ทอทั้งใจ”

บทความบูรณาการ “ทอทั้งใจ” โดย คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ร่วมกับ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ภายใต้โครงการ Creative Young Designers Season 2

2566
กระบวนการจัดทำโครงงานพิเศษทางการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ที่ตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการ
กระบวนการจัดทำโครงงานพิเศษทางการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ที่ตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการ

กระบวนการจัดทำโครงงานพิเศษทางการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ที่ตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการ อภิญญ์พัทร์ กุสิยารังสิทธิ์ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน

2566
กระเป๋ามาลัยลายคราม : วัฒนธรรมคุณค่าสู่มูลค่าของที่ระลึกเชิงสร้างสรรค์เพื่อการท่องเที่ยวในเกาะรัตนโกสินทร์
กระเป๋ามาลัยลายคราม : วัฒนธรรมคุณค่าสู่มูลค่าของที่ระลึกเชิงสร้างสรรค์เพื่อการท่องเที่ยวในเกาะรัตนโกสินทร์

ลายครามที่ปรากฏบนเครื่องลายครามนี้มีความสำคัญต่อการศึกษาด้านประวัติศาสตร์ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการบอกยุคสมัย และแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมระหว่างกลุ่มคนไทยและจีน บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลายครามเพื่อการออกแบบกระเป๋ามาลัยเชิงสร้างสรรค์ และความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อการออกแบบผลิตภัณฑ์กระเป๋ามาลัยลายครามของที่ระลึกเชิงสร้างสรรค์เพื่อการท่องเที่ยวในเกาะรัตนโกสินทร์ โดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และการสอบถามผู้เชี่ยวชาญจานวน 5 ท่าน สำรวจความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายรวมทั้งสิ้น จำนวน 50 คน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้ความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาพบว่า ลายครามเพื่อการออกแบบกระเป๋ามาลัยเชิงสร้างสรรค์ ผู้เชี่ยวชาญเลือกกระเป๋ารูปแบบมาลัยชายเดียวลายดอกโบตั๋น และการสร้างรูปแบบแท็ก QR Code ที่ปรากฏข้อมูลสถานที่เกี่ยวกับประวัติเครื่องลายครามในเกาะรัตนโกสินทร์ ส่วนความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อการออกแบบกระเป๋ามาลัยลายคราม : วัฒนธรรมคุณค่าสู่มูลค่าของที่ระลึกเชิงสร้างสรรค์เพื่อการท่องเที่ยวในเกาะรัตนโกสินทร์ ความพึงพอใจด้านผลิตภัณฑ์ ด้านความเหมาะสมของวัสดุ ด้านประโยชน์ใช้สอย ด้านราคา ด้านช่องทางและสถานที่จัดจาหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด อยู่ในระดับมากที่สุดเท่ากับ 4.64, 4.64, 4.62, 4.71, 4.70 และ 4.83 ตามลำดับ กระเป๋ามาลัยลายคราม : วัฒนธรรมคุณค่าสู่มูลค่าของที่ระลึกเชิงสร้างสรรค์เพื่อการท่องเที่ยวในเกาะรัตนโกสินทร์ จึงเป็นการออกแบบของที่ระลึกที่เชื่อมโยงกับสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์เพื่อการวางแผนสู่การส่งเสริมและการเตรียมความพร้อมสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวในเกาะรัตนโกสินทร์อย่างยั่งยืน

2565
แนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนสาขาวิชาออกแบบแฟชั่นผ้าและเครื่องแต่งกาย คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
แนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนสาขาวิชาออกแบบแฟชั่นผ้าและเครื่องแต่งกาย คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

วัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการจัดการเรียนการสอนของสาขาวิชาออกแบบแฟชั่นผ้าและเครื่องแต่งกาย และเพื่อหาแนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนสาขาวิชาออกแบบแฟชั่นผ้าและเครื่องแต่งกาย เก็บข้อมูลความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนจากนักศึกษาปัจจุบันที่ลงทะเบียนในปีการศึกษา 2563 อาจารย์ประจำสาขาวิชา และศิษย์เก่า สุ่มตัวอย่างแบบสะดวกจากผู้ยินดีให้ความร่วมมือตอบแบบสอบถามออนไลน์ 104 คน คำนวณความเชื่อมั่นด้วยค่าสัมประสิทธิแอลฟ่าของครอนบาคได้ 0.980 วิพากษ์หลักสูตรจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก 4 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว สรุปผลดังนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นศิษย์เก่า ร้อยละ 50.96 ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนด้านอาจารย์ผู้สอนอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.23 การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนของสาขาวิชาออกแบบแฟชั่นผ้าและเครื่องแต่งกาย จำแนกตามสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่าไม่แตกต่างกัน แนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน (1) ด้านหลักสูตร เปลี่ยนชื่อหลักสูตร เพิ่มรายวิชาเลือก (2) ด้านอาจารย์ผู้สอน ใช้การสอนแบบ Team Teaching (3) ด้านเครื่องมือ อุปกรณ์การสอน จัดทำความร่วมมือกับสถานประกอบการ (4) ด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ จัดหาหนังสือที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร และ (5) ด้านอื่น ๆ เพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ การร่วมมือกับศิษย์เก่า การจัดสรรทุนการศึกษา การศึกษาดูงานและการเรียนนอกสถานที่

2565
เจตคติต่อการอนุรักษ์งานแกะสลักผักและผลไม้ของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
เจตคติต่อการอนุรักษ์งานแกะสลักผักและผลไม้ของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบเจตคติต่อการอนุรักษ์งานแกะสลักผักและผลไม้ ของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล กับตัวแปรอิสระ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 249 คน ได้มาจากการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ผลการศึกษาพบว่า การจำแนกตาม เพศ และประสบการณ์ โดยรวมทุกด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนชั้นปีที่ศึกษาโดยรวมทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

2565