จำนวนบทความ ( 55 )

การปรับตัวของธุรกิจร้านกาแฟตามแนวทางชีวิตวิถีใหม่
การปรับตัวของธุรกิจร้านกาแฟตามแนวทางชีวิตวิถีใหม่

กาแฟเป็นเครื่องดื่มยอดนิยมชนิดหนึ่งในสังคมไทย จัดได้ว่าเป็นเครื่องดื่มพื้นฐานที่มีไว้ติดบ้านหรือสำนักงาน ปัจจุบันมีร้านกาแฟจำนวนมาก เนื่องจากร้านกาแฟเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการตั้งแต่รายเล็กไปจนถึงรายใหญ่เห็นได้จากรายงานของ Euromonitor ที่แสดงตัวเลขของตลาดกาแฟมีมูลค่าสูงถึง 42,537 ล้านบาท ในปี 2563 (ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร, 2564) สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้คร่าชีวิตของคนมากมายทั่วทั้งโลก รวมถึงการล้มหายตายจากไปของภาคธุรกิจซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจ ธุรกิจร้านกาแฟเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบไม่แพ้กันกับภาคธุรกิจอื่น ๆ ร้านกาแฟหลายร้านมีการปรับตัวในเรื่องของการตลาดเพื่อความอยู่รอด ในขณะที่บางร้านที่ไม่พร้อมปรับตัว หรือหาทางออกให้กับปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้ ก็มีอันต้องยุติกิจการไปก็มี จากผลกระทบดังกล่าวประกอบกับมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของภาครัฐ ทำให้เกิดรูปแบบการปรับตัวชีวิตวิถีใหม่ขึ้น (New Normal) ซึ่งกระทบกับการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคด้วย ในส่วนของภาคธุรกิจร้านกาแฟ ก็มีผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป โดยผู้บริโภคบางส่วนหันมาให้ความสนใจในกาแฟในลักษณะการศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับการชงกาแฟ มีการปรับเปลี่ยนเป็นการบริโภคแบบ Homebrew หรือการชงเอง ดื่มเอง เป็นบาริสต้าเองเพิ่มมากขึ้น ยิ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจร้านกาแฟต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ การให้บริการแบบซื้อแล้วนำกลับบ้าน (Take away) เป็นรูปแบบการบริการที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีการเพื่อรักษายอดขายของร้านเอาไว้ ไม่ต่างกับธุรกิจอาหารอื่น ๆ ที่ต้องพยุงให้ร้านอยู่รอดเช่นกัน นอกจาก Take away แล้ว อีกหนึ่งกลยุทธ์ด้านการตลาดที่ร้านกาแฟต้องปรับตัว ก็คือการส่งกาแฟแบบเดลิเวอรี่ (Delivery) โดยให้บริการผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ผู้บริโภคมากขึ้น โดยที่ลูกค้าสามารถดูรายละเอียดสินค้าได้จากที่บ้าน แล้วกดซื้อได้เลยโดยไม่ต้องเดินทางมาที่ร้านด้วยตัวเอง ซึ่งจากกลยุทธ์นี้สามารถทำให้ร้านกาแฟหลายร้านเพิ่มยอดขายได้มากยิ่งขึ้น

2564
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผีตาโขนจากดินปั้นกากมะพร้าว
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผีตาโขนจากดินปั้นกากมะพร้าว

งานวิจัยเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผีตาโขนจากดินปั้นกากมะพร้าว มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสูตรดินปั้นกากมะพร้าว เพื่อศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผีตาโขนจากดินปั้นกากมะพร้าว โดยศึกษาข้อมูลและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และออกแบบร่างความคิดผีตาโขนจากดินปั้นกากมะพร้าว จำนวน 1 รูปแบบ ทดลองสูตรดินปั้นกากมะพร้าว ออกแบบลวดลายส่วนครอบศีรษะผีตาโขน 5 รูปแบบ และกำหนดสีในการเขียนลวดลายผลิตภัณฑ์ผีตาโขน 4 ชนิด เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาเลือกจากนั้นนำมาผลิตผีตาโขนจากดินปั้นกากมะพร้าว นำผลิตภัณฑ์ไปสำรวจความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 100 คน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย โดยมีผลการวิเคราะห์ ดังนี้ 1) ผู้เชี่ยวชาญเลือก สูตรดินปั้น สูตรที่ 3 โดยให้เหตุผลว่าเนื้อดินมีความเหนียวละเอียด เกาะติดสามารถปั้นขึ้นรูปได้ดี เมื่อแข็งตัวดินไม่มีการแตก และดินมีการหดตัวน้อย ด้านลวดลายส่วนครอบศีรษะผีตาโขนเลือกลายผสมโดยให้เหตุผลว่าการวาดหน้ากากผีตาโขนไม่มีรูปแบบตายตัวสามารถดัดแปลงตามความเหมาะสม และลือกสีอะครีลิคในการเขียนลวดลาย เพราะเป็นสีที่มีความสดแห้งเร็วและติดคงทนไม่มีกลิ่นเนื้อสี มีความเนียนเขียนลวดลายได้สวยงามกว่า 2) ความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผีตาโขนจากดินปั้นกากมะพร้าว พบว่า ด้านวัสดุ พึงพอใจในการเพิ่มมูลค่าของวัสดุอยู่ในระดับมากที่สุด ที่ค่าเฉลี่ย 4.30 ด้านผลิตภัณฑ์ พึงพอใจในขนาดที่เหมาะสมอยู่ระดับมาก ที่ค่าเฉลี่ย 3.60 ด้านคุณค่าและการนำไปใช้ประโยชน์ พึงพอใจใช้เป็นของที่ระลึกอยู่ระดับมากที่สุด ที่ค่าเฉลี่ย 4.26 ด้านสถานที่จัดจำหน่าย พึงพอใจจำหน่ายงานจัดแสดงสินค้า OTOP อยู่ระดับมากที่สุด ที่ค่าเฉลี่ย 4.46

2564
ลวดลายล้านนาจากแก้วจืน : การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเชิงสร้างสรรค์เพื่อการท่องเที่ยวชุมชนคูเมืองเชียงใหม่
ลวดลายล้านนาจากแก้วจืน : การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเชิงสร้างสรรค์เพื่อการท่องเที่ยวชุมชนคูเมืองเชียงใหม่

แก้วจืนหรือกระจกจืน เป็นกระจกตะกั่วที่นิยมใช้ในการประดับบนลวดลายล้านนาตกแต่งสถาปัตยกรรมภาคเหนือของประเทศไทย มีคุณลักษณะบาง มีความอ่อนตัวสูง และมีกระบวนวิธีในการประดับเฉพาะตัว บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและศึกษาลวดลายล้านนาจากแก้วจืน การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก และสำรวจความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเชิงสร้างสรรค์เพื่อการท่องเที่ยวชุมชนคูเมืองเชียงใหม่ โดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและการสอบถามผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน สำรวจความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายจำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ผู้ประกอบการเกี่ยวกับของที่ระลึก จำนวน 25 คน และกลุ่มที่ 2 ผู้บริโภคสตรีวัยทำงานอายุระหว่าง 18-60 ปี จำนวน 25 คน รวมทั้งสิ้น 50 คน ผลการศึกษาพบว่า ลวดลายล้านนาจากแก้วจืน ประกอบด้วยลายพันธุ์พฤกษา ลายสัตว์ ลายเมฆ และลายเทพารักษ์หรือลายเทพเทวดา การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเชิงสร้างสรรค์ประเภทเครื่องใช้ ด้วยกระเป๋ารูปทรง Bucket Bag ประดับด้วยแก้วจืนลายพันธุ์พฤกษา และรูปแบบ QR Code ที่ปรากฏข้อมูลสถาปัตยกรรมที่ประดับตกแต่งด้วยแก้วจืนในพื้นที่ชุมชนคูเมืองเชียงใหม่ ส่วนความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบโดยรวมด้านรูปแบบของที่ระลึก ผู้ประกอบการมีความพึงพอใจ (4.61) น้อยกว่าผู้บริโภคสตรีวัยทำงาน (4.73) ด้านวัสดุ ผู้ประกอบการมีความพึงพอใจ (4.57) น้อยกว่าผู้บริโภคสตรีวัยทำงาน (4.76) ด้านประโยชน์ใช้สอย ผู้ประกอบการมีความพึงพอใจ (4.60) น้อยกว่าผู้บริโภคสตรีวัยทำงาน (4.70) ด้านราคา ผู้ประกอบการมีความพึงพอใจ (4.35) น้อยกว่าผู้บริโภคสตรีวัยทำงาน (4.47) ด้านช่องทางและสถานที่จัดจำหน่าย ผู้ประกอบการมีความพึงพอใจ (4.75) มากกว่าผู้บริโภคสตรีวัยทำงาน (4.74) และด้านการส่งเสริมการตลาด ผู้ประกอบการมีความพึงพอใจ (3.68) น้อยกว่าผู้บริโภคสตรีวัยทำงาน (3.22) การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเชิงสร้างสรรค์ด้วยลวดลายล้านนาจากแก้วจืน เพื่อการท่องเที่ยวชุมชนคูเมืองเชียงใหม่ จึงเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาหัตถนวัตกรรมสร้างสรรค์เพื่อเตรียมความพร้อมสู่สากล (Creative Craft Innopolis) อีกทั้งเป็นการสืบทอดภูมิปัญญาการทำแก้วจืนของชาวล้านนาในจังหวัดเชียงใหม่ และการเผยแพร่ภูมิปัญญาที่นำไปสู่การยกระดับผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกสู่การรับรองมาตราฐานสากลได้

2564
การจัดทำแบบตอบรับเข้าร่วมกิจกรรมด้วย Google Forms
การจัดทำแบบตอบรับเข้าร่วมกิจกรรมด้วย Google Forms

การจัดทำแบบตอบรับเข้าร่วมกิจกรรมด้วย Google Forms นวลพรรณ จำปาเทศ กองศิลปวัฒนธรรม มทร.พระนคร

2564
วิธีการประชุมออนไลน์ผ่าน Google Meet
วิธีการประชุมออนไลน์ผ่าน Google Meet

วิธีการประชุมออนไลน์ผ่าน Google Meet นวลพรรณ จำปาเทศ กองศิลปวัฒนธรรม

2564