จำนวนบทความ ( 12 )
ผ้าหม้อห้อมเมืองแพร่ ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับบริบทสังคมปัจจุบัน
ห้อม พันธุ์ไม้ท้องถิ่นจังหวัดแพร่ พบเห็นต้นห้อมขึ้นเองได้ทั่วไปทั้งจังหวัด แต่ที่มีการปลูกกันมากในชุมชนพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ เช่น บ้านนาตอง บ้านนาคูหา ในอดีตจนถึงปัจจุบันนิยมใช้ห้อมเป็นยารักษาโรคและย้อมสีสิ่งทอ กลุ่มชาวไทยพวนในแถบบ้านทุ่งโฮ้ง อำเภอเมืองแพร่ เป็นต้นกำเนิดของการนำมาย้อมผ้า โดยใช้หม้อเป็นภาชนะสำหรับบรรจุน้ำย้อม จึงเป็นที่มาของการเรียกว่า ผ้าหม้อห้อม กระบวนการย้อมผ้าของชาวบ้านจะเริ่มจากการนำลำต้นและใบของห้อมมาหมักในน้ำให้เป็นสีน้าเงินเข้ม ฟ้าเข้ม แล้วซวกหรือตำเพื่อสกัดสีจนน้ำสีจากห้อมมีความข้น จึงนำมาใช้ในการย้อมผ้าหรือที่เรียกว่าการก่อห้อม โดยจะมีการผสมน้ำด่างเพื่อช่วยในการยึดติดสีของห้อมบนเส้นด้ายก่อนนำไปทอเป็นผืนผ้า ด้วยขั้นตอนกระบวนการสกัดสีหรือก่อห้อมนั้นไม่มีวิธีการที่แน่นอน มีความซับซ้อนยุ่งยาก และยังต้องอาศัยความชำนาญความสามารถเฉพาะตัวของผู้ย้อม จึงมีส่วนทำให้มีการสืบทอดการทำผ้าหม้อห้อมที่ใช้สีย้อมจากธรรมชาติมีน้อยลง การย้อมผ้าด้วยสีห้อมจากธรรมชาติต้องใช้เวลานาน จึงทำให้ผ้าหม้อห้อมจึงมีราคาค่อนข้างสูงและยังผลิตได้ไม่ทันกับความต้องการของตลาด อีกทั้งผู้บริโภคต้องการผลิตภัณฑ์ที่มีราคาถูก จึงทำให้ปัจจุบันมีการผลิตผ้าหม้อห้อมจากสีสังเคราะห์ อีกทั้งเป็นการพิมพ์ลาย การย้อมผ้าทั้งผืนแทนการย้อมเส้นด้าย หรือ การตัดเย็บเป็นเสื้อแล้วค่อยนำไปย้อมทั้งตัวมากขึ้น แหล่งผลิตและจำหน่ายผ้าหม้อห้อมของจังหวัดแพร่ที่มีชื่อเสียงที่สุด คือ หมู่บ้านทุ่งโฮ้ง อาจเรียกได้ว่าเป็นถนนสายสีน้าเงินจากลักษณะสีของผ้าหม้อห้อม ถือเป็นถนนสายเศรษฐกิจสำคัญของจังหวัด จากห่วงโช่อุปทานของผลิตภัณฑ์ผ้าหม้อห้อมของจังหวัดแพร่ที่มีเส้นทางเชื่อมโยงตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบในการผลิตผ้าหม้อห้อมสีธรรมชาติ กระบวนการขั้นตอนการผลิต การขนส่ง ช่องทางการจำหน่ายไปถึงผู้บริโภค ซึ่งจากห่วงโซ่นี้ แสดงให้เห็นถึงแนวทางในการพัฒนาผ้าหม้อห้อมจากสีธรรมชาติให้มีศักยภาพมากขึ้น ถ้าได้รับการส่งเสริมพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าหม้อห้อมให้มีรูปแบบที่หลากหลาย ทันสมัย สนับสนุนการใช้ผ้าหม้อห้อมย้อมสีธรรมชาติจากภูมิปัญญาท้องถิ่น การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้วยปราชญ์ของชุมชน และสานต่อด้วยคนรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพในการทำการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศที่สอดรับกับบริบทของสังคมปัจจุบัน จะเป็นการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ผ้าหม้อห้อมย้อมสีธรรมชาติ และยังเป็นการส่งเสริมเอกลักษณ์ในท้องถิ่นของจังหวัดแพร่ และช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการใช้สารเคมีสีย้อมสังเคราะห์ในระยะยาวอีกด้วย
ลวดลายล้านนาจากแก้วจืน : การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเชิงสร้างสรรค์เพื่อการท่องเที่ยวชุมชนคูเมืองเชียงใหม่
แก้วจืนหรือกระจกจืน เป็นกระจกตะกั่วที่นิยมใช้ในการประดับบนลวดลายล้านนาตกแต่งสถาปัตยกรรมภาคเหนือของประเทศไทย มีคุณลักษณะบาง มีความอ่อนตัวสูง และมีกระบวนวิธีในการประดับเฉพาะตัว บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและศึกษาลวดลายล้านนาจากแก้วจืน การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก และสำรวจความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเชิงสร้างสรรค์เพื่อการท่องเที่ยวชุมชนคูเมืองเชียงใหม่ โดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและการสอบถามผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน สำรวจความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายจำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ผู้ประกอบการเกี่ยวกับของที่ระลึก จำนวน 25 คน และกลุ่มที่ 2 ผู้บริโภคสตรีวัยทำงานอายุระหว่าง 18-60 ปี จำนวน 25 คน รวมทั้งสิ้น 50 คน ผลการศึกษาพบว่า ลวดลายล้านนาจากแก้วจืน ประกอบด้วยลายพันธุ์พฤกษา ลายสัตว์ ลายเมฆ และลายเทพารักษ์หรือลายเทพเทวดา การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเชิงสร้างสรรค์ประเภทเครื่องใช้ ด้วยกระเป๋ารูปทรง Bucket Bag ประดับด้วยแก้วจืนลายพันธุ์พฤกษา และรูปแบบ QR Code ที่ปรากฏข้อมูลสถาปัตยกรรมที่ประดับตกแต่งด้วยแก้วจืนในพื้นที่ชุมชนคูเมืองเชียงใหม่ ส่วนความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบโดยรวมด้านรูปแบบของที่ระลึก ผู้ประกอบการมีความพึงพอใจ (4.61) น้อยกว่าผู้บริโภคสตรีวัยทำงาน (4.73) ด้านวัสดุ ผู้ประกอบการมีความพึงพอใจ (4.57) น้อยกว่าผู้บริโภคสตรีวัยทำงาน (4.76) ด้านประโยชน์ใช้สอย ผู้ประกอบการมีความพึงพอใจ (4.60) น้อยกว่าผู้บริโภคสตรีวัยทำงาน (4.70) ด้านราคา ผู้ประกอบการมีความพึงพอใจ (4.35) น้อยกว่าผู้บริโภคสตรีวัยทำงาน (4.47) ด้านช่องทางและสถานที่จัดจำหน่าย ผู้ประกอบการมีความพึงพอใจ (4.75) มากกว่าผู้บริโภคสตรีวัยทำงาน (4.74) และด้านการส่งเสริมการตลาด ผู้ประกอบการมีความพึงพอใจ (3.68) น้อยกว่าผู้บริโภคสตรีวัยทำงาน (3.22) การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเชิงสร้างสรรค์ด้วยลวดลายล้านนาจากแก้วจืน เพื่อการท่องเที่ยวชุมชนคูเมืองเชียงใหม่ จึงเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาหัตถนวัตกรรมสร้างสรรค์เพื่อเตรียมความพร้อมสู่สากล (Creative Craft Innopolis) อีกทั้งเป็นการสืบทอดภูมิปัญญาการทำแก้วจืนของชาวล้านนาในจังหวัดเชียงใหม่ และการเผยแพร่ภูมิปัญญาที่นำไปสู่การยกระดับผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกสู่การรับรองมาตราฐานสากลได้
กระเป๋ามาลัยลายคราม : วัฒนธรรมคุณค่าสู่มูลค่าของที่ระลึกเชิงสร้างสรรค์เพื่อการท่องเที่ยวในเกาะรัตนโกสินทร์
ลายครามที่ปรากฏบนเครื่องลายครามนี้มีความสำคัญต่อการศึกษาด้านประวัติศาสตร์ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการบอกยุคสมัย และแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมระหว่างกลุ่มคนไทยและจีน บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลายครามเพื่อการออกแบบกระเป๋ามาลัยเชิงสร้างสรรค์ และความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อการออกแบบผลิตภัณฑ์กระเป๋ามาลัยลายครามของที่ระลึกเชิงสร้างสรรค์เพื่อการท่องเที่ยวในเกาะรัตนโกสินทร์ โดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และการสอบถามผู้เชี่ยวชาญจานวน 5 ท่าน สำรวจความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายรวมทั้งสิ้น จำนวน 50 คน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้ความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาพบว่า ลายครามเพื่อการออกแบบกระเป๋ามาลัยเชิงสร้างสรรค์ ผู้เชี่ยวชาญเลือกกระเป๋ารูปแบบมาลัยชายเดียวลายดอกโบตั๋น และการสร้างรูปแบบแท็ก QR Code ที่ปรากฏข้อมูลสถานที่เกี่ยวกับประวัติเครื่องลายครามในเกาะรัตนโกสินทร์ ส่วนความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อการออกแบบกระเป๋ามาลัยลายคราม : วัฒนธรรมคุณค่าสู่มูลค่าของที่ระลึกเชิงสร้างสรรค์เพื่อการท่องเที่ยวในเกาะรัตนโกสินทร์ ความพึงพอใจด้านผลิตภัณฑ์ ด้านความเหมาะสมของวัสดุ ด้านประโยชน์ใช้สอย ด้านราคา ด้านช่องทางและสถานที่จัดจาหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด อยู่ในระดับมากที่สุดเท่ากับ 4.64, 4.64, 4.62, 4.71, 4.70 และ 4.83 ตามลำดับ กระเป๋ามาลัยลายคราม : วัฒนธรรมคุณค่าสู่มูลค่าของที่ระลึกเชิงสร้างสรรค์เพื่อการท่องเที่ยวในเกาะรัตนโกสินทร์ จึงเป็นการออกแบบของที่ระลึกที่เชื่อมโยงกับสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์เพื่อการวางแผนสู่การส่งเสริมและการเตรียมความพร้อมสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวในเกาะรัตนโกสินทร์อย่างยั่งยืน
การออกแบบเสื้อผ้าสำเร็จรูปด้วยวิธีการตกแต่งริมบิ้นผ้าแก้ว
การออกแบบเสื้อผ้าสำเร็จรูปด้วยวิธีการตกแต่งริบบิ้นผ้าแก้วมีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบเสื้อผ้าสำเร็จรูปด้วยวิธีการตกแต่งริบบิ้นผ้าแก้ว และศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อเสื้อผ้าสำเร็จรูป ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้ 1) ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเสื้อผ้าสำเร็จรูป 2) ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับริบบิ้นผ้าแก้ว 3) ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการออกแบบและตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป 4) ออกแบบเสื้อผ้าสำเร็จรูป จำนวน 3 เซต เซตละ 5 ชุด 5) จัดทำแบบสอบถามผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน 6) ตัดเย็บผลิตภัณฑ์ต้นแบบ จำนวน 1 เซต เซตละ 5 ชุด พร้อมตกแต่งด้วยวิธีการตกแต่งริบบิ้นผ้าแก้ว จากการเลือกของผู้เชี่ยวชาญ 7) สำรวจความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อเสื้อผ้าสำเร็จรูปด้วยวิธีการตกแต่งริบบิ้นผ้าแก้ว โดยกลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรและนักศึกษาเพศหญิงมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ จำนวน 120 คน การสำรวจความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อการออกแบบเสื้อผ้าสำเร็จรูปด้วยวิธีการตกแต่งริบบิ้นผ้าแก้ว จำนวน 5 ชุด โดยกำหนดให้ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิงทั้งหมด จำนวน 120 คน พบว่า ส่วนใหญ่อายุระหว่าง 19-22 ปี ร้อยละ 56.67 ระดับการศึกษาปริญญาตรี ร้อยละ 90.00 อาชีพนักเรียน นักศึกษา ร้อยละ 93.33 รายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท ร้อยละ 87.50 มีความพึงพอใจต่อการออกแบบเสื้อผ้าสำเร็จรูปด้วยวิธีการตกแต่งริบบิ้นผ้าแก้วทั้ง 5 แบบ อยู่ในระดับความพึงพอใจมากค่าเฉลี่ย 4.15 โดยแบบที่ 5 มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ค่าเฉลี่ย 4.23 รองลงมาเป็นแบบที่ 4 ค่าเฉลี่ย 4.22 แบบที่ 2 ค่าเฉลี่ย 4.12 แบบที่ 3 ค่าเฉลี่ย 4.12 แบบที่ 1 ค่าเฉลี่ย 4.07 ตามลำดับ
แนวทางการออกแบบผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์สำหรับผู้สูงอายุจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
โครงการแนวทางการออกแบบผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์สำหรับผู้สูงอายุจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์เพื่อผู้สูงอายุและสร้างต้นแบบ ซึ่งผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องนำมาใช้ประกอบแนวความคิดในการวิจัย เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการศึกษาโดยใช้หลักแนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ การเลือกใช้วัสดุวิธีการให้สอดคล้องกับลักษณะรูปแบบตามความคิดสร้างสรรค์โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัยตามลำดับขั้นตอนดังนี้ (1) สำรวจพื้นที่ กลุ่มชุมชนจักสาน(2) ศึกษาวิธีการเตรียมเส้นใยที่เหมาะสมเพื่อเป็นวัสดุงานจักสาน (3) ออกแบบและสร้างต้นแบบชุดเฟอร์นิเจอร์ให้เหมาะกับผู้สูงอายุ วิธีการดำเนินการแบบสังเกตพฤติกรรมการใช้งานของผู้สูงอายุความพึงพอใจของผู้สูงอายุ แนวทางการวิเคราะห์จากการใช้งานเน้นความสะดวกสบาย ผ่อนคลายการพักผ่อน ความทันสมัย มีความเหมาะสมทั้งด้านรูปแบบและการใช้งานวัสดุสรุปผลเพื่อใช้เป็นแนวทางในการออกแบบผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์สำหรับผู้สูงอายุจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร (1) รูปแบบความสวยงาม (2) ความคงทนในการใช้งาน (3) ขนาดสัดส่วนที่เหมาะสมในการใช้งาน (4) การใช้วัสดุส่งเสริมอาชีพสู่ชุมชนในท้องถิ่น ผู้ประเมินมีความพึงพอใจระดับมากที่สุดตามลำดับ