ภาพปกบทความ ผลิตภัณฑ์เลียนแบบน้ำนมจากกระจับ
เจ้าของงานวิจัย น้อมจิตต์ สุธีบุตร นราธร สัตย์ซื่อ
หมวดหมู่ อาหาร เครื่องดื่ม และโภชนาการ
Subject เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์อาหาร กระจับ อาหารแปรรูป คุณค่าอาหาร แซนแทนกัม
ปีที่ตีพิมพ์ 2566
เอกสารประกอบ ดาวน์โหลด
จำนวนเข้าชม 499

การพัฒนาผลิตภัณฑ์เลียนแบบน้ำนมจากกระจับมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสูตรและกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์เลียนแบบน้ำนมจากกระจับ ศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพระหว่างการเก็บรักษา และศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์เลียนแบบน้ำนมจากกระจับ ผลการศึกษาพบว่าปริมาณน้ำที่ใช้ปั่นผสมกับกระจับมากขึ้นมีผลทำให้ปริมาณโปรตีนและความข้นหนืดของผลิตภัณฑ์ลดลง โดยปริมาณกระจับต่อน้ำที่เหมาะสมคืออัตราส่วน 1:2.5 (น้ำหนัก : น้ำหนัก) ผลิตภัณฑ์มีปริมาณโปรตีนร้อยละ 3.03 ผลิตภัณฑ์เลียนแบบน้ำนมจากกระจับที่เสริมแซนแทนกัมในปริมาณที่สูงขึ้นส่งผลให้มีค่าความข้นหนืดเพิ่มขึ้น โดยปริมาณแซนแทนกัมที่เหมาะสม คือ ร้อยละ 0.1 ของปริมาณส่วนผสมทั้งหมด ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มีลักษณะเป็นเนื้อเดียวกันไม่เกิดการแยกชั้น และการพาสเจอร์ไรซ์ผลิตภัณฑ์เลียนแบบน้ำนมจากกระจับที่อุณหภูมิ 64 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์สามารถเก็บรักษาได้ 9 วัน ที่อุณหภูมิ 5±1 องศาเซลเซียส โดยจำนวนเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานของนมพาสเจอไรซ์ ปลอดภัยต่อการบริโภค ผลิตภัณฑ์เลียนแบบน้ำนมจากกระจับปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 29.22 กิโลแคลอรี มีโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต ปริมาณร้อยละ 3.37 0.22 และ 3.42 ตามลำดับ

APA

น้อมจิตต์ สุธีบุตร. นราธร สัตย์ซื่อ. ( 2566 ). ผลิตภัณฑ์เลียนแบบน้ำนมจากกระจับ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

Chicago

น้อมจิตต์ สุธีบุตร. นราธร สัตย์ซื่อ. ผลิตภัณฑ์เลียนแบบน้ำนมจากกระจับ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2566.

MLA

น้อมจิตต์ สุธีบุตร. นราธร สัตย์ซื่อ. ผลิตภัณฑ์เลียนแบบน้ำนมจากกระจับ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2566.

Vancouver

น้อมจิตต์ สุธีบุตร. นราธร สัตย์ซื่อ. ผลิตภัณฑ์เลียนแบบน้ำนมจากกระจับ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร; 2566.