จำนวนงานวิจัย ( 2 )

สีบาติกไทยโทนเพื่อการสร้างมูลค่างานแกะสลักเชิงพาณิชย์ของกลุ่มผู้เรียนระดับอุดมศึกษา ในศตวรรษที่ 21
สีบาติกไทยโทนเพื่อการสร้างมูลค่างานแกะสลักเชิงพาณิชย์ของกลุ่มผู้เรียนระดับอุดมศึกษา ในศตวรรษที่ 21

โครงการวิจัยเรื่อง สีบาติกไทยโทนเพื่อการสร้างมูลค่างานแกะสลักเชิงพาณิชย์ของกลุ่มผู้เรียนระดับอุดมศึกษาในศตวรรษที่ 21 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสีบาติกไทยโทนเพื่อการสร้างมูลค่างานแกะสลักเชิงพาณิชย์ และความพึงพอใจการใช้สีบาติกไทยโทนเพื่อการสร้างมูลค่างานแกะสลักเชิงพาณิชย์ของกลุ่มผู้เรียนระดับอุดมศึกษาในศตวรรษที่ 21 ดำเนินการศึกษาโดยรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง นำข้อมูลที่ได้มาจัดทำชุดสีบาติกไทยโทน และสอบถามข้อมูลจากความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญจำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มนักวิชาการด้านการแกะสลักสบู่ จำนวน 10 คน และกลุ่มที่สองกลุ่มผู้ประกอบการด้านการแกะสลักสบู่ จำนวน 10 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 20 คน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ และสรุปผล จากนั้นนำผลงานที่ได้ไปสำรวจความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายในครั้งนี้ จำนวน 20 คน นำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์โดยใช้ค่าความถี่ ค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่า S.D. ผลการศึกษาพบว่า สีบาติกไทยโทนเพื่อการสร้างมูลค่างานแกะสลักเชิงพาณิชย์ของกลุ่มผู้เรียนระดับอุดมศึกษาในศตวรรษที่ 21 นำสีบาติกมาผสมให้ได้กลุ่มสีไทยโทน ได้แก่ สีเหลืองรง สีเหลืองไพล สีแดงชาด สีดำเขม่า สีส้มเสน สีน้ำตาลไหม้ สีเขียวน้ำไหล สีมอหมึกอ่อน สีม่วงดอกตะแบก สีเขียวดิน สีขาบ สีคราม สีดิน สีหงสบาท และสีม่วงผักตบ โดยการเปรียบเทียบกับสีน้ำไทยโทน และตรวจสอบโทนสีด้วยเครื่องวัดความเข้มของแสง (Spectrophotometer) ส่วนความพึงพอใจด้านสีบาติกไทยโทนเพื่อการสร้างมูลค่างานแกะสลักเชิงพาณิชย์ของกลุ่มผู้เรียนระดับอุดมศึกษาในศตวรรษที่ 21 กลุ่มนักวิชาการด้านการแกะสลักสบู่มีความพึงพอใจอยู่ระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.52 มากกว่ากลุ่มผู้ประกอบการด้านการแกะสลักสบู่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.50 ด้านการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์งานแกะสลักสบู่ กลุ่มนักวิชาการด้านการแกะสลักสบู่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.52 ผู้ประกอบการด้านการแกะสลักสบู่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.62 ด้านการเพิ่ม มูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์งานแกะสลักสบู่ กลุ่มนักวิชาการด้านการแกะสลักสบู่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.62 กลุ่มผู้ประกอบการด้านการแกะสลักสบู่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.72 ด้านการต่อยอดเป็นธุรกิจ SMEs กลุ่มนักวิชาการด้านการแกะสลักสบู่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.40 กลุ่มผู้ประกอบการด้านการแกะสลักสบู่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.27

2566
ผลการจัดกิจกรรมฝึกอบรมเรื่องศิลปะประดิษฐ์สำหรับผู้สูงอายุชุมชน วัดน้อยนอกจังหวัดนนทบุรี
ผลการจัดกิจกรรมฝึกอบรมเรื่องศิลปะประดิษฐ์สำหรับผู้สูงอายุชุมชน วัดน้อยนอกจังหวัดนนทบุรี

งานวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมฝึกอบรมเรื่องศิลปะประดิษฐ์สำหรับผู้สูงอายุชุมชน วัดน้อยนอกจังหวัดนนทบุรี ได้แก่ การทำพิมเสนน้ำ ยาดมสมุนไพร ดอกไม้จันทน์กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือผู้สูงอายุชุมชนวัดน้อยนอก จังหวัดนนทบุรี จำนวนทั้งสิ้น 35 คน ได้จากการสมัครใจในการเข้าร่วมกิจกรรม เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสังเกตพฤติกรรม แบบประเมินผลการปฏิบัติงาน แบบสอบถามความพึงพอใจ และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย มีผลการศึกษาดังนี้ การสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานความสนใจ ใฝ่รู้ ความรับผิดชอบ ความประหยัด ความสะอาดเรียบร้อย และความสามัคคีอยู่ในเกณฑ์ดี ผลการปฏิบัติงานขั้นเตรียม ขั้นปฏิบัติ และผลงานสำเร็จอยู่ในเกณฑ์ดี ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมฝึกอบรมเรื่องศิลปะประดิษฐ์สำหรับผู้สูงอายุชุมชนวัดน้อยนอกจังหวัดนนทบุรี ด้านเนื้อหา กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจเนื้อหาวิชาเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต เช่น การใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.82 ด้านวิทยากร กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจการตอบข้อซักถามได้ชัดเจนและตรงประเด็น อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.94 และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจบริการอาหาร ของว่างและเครื่องดื่มมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.97

2567