จำนวนงานวิจัย ( 2 )

การพัฒนาชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษตามแนวคิดการเรียนรู้แบบสืบสอบ และ2) ศึกษาประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการอ่านเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ชั้นปีที่ 3 จำนวน 41 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษตามแนวคิดการเรียนรู้แบบสืบสอบ และแบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษตามแนวคิดการเรียนรู้แบบสืบสอบ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างความสนใจ (Engagement) ขั้นตอนที่ 2 การสำรวจและค้นหา (Exploration) ขั้นตอนที่ 3 การอธิบายและหาข้อสรุป (Explanation) ขั้นตอนที่ 4 การขยายความรู้ (Elaboration) ขั้นตอนที่ 5 การประเมินผล (Evaluation) 2) ผลการศึกษาประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการอ่านที่พัฒนาขึ้น พบว่า ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษากลุ่มทดลอง หลังการทดลองสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

การพัฒนาคู่มือภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยว ชุมชนย่านเมืองเก่าริมแม่น้ำเพชรบุรี
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาคู่มือภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยว ชุมชนย่านเมืองเก่าริมแม่น้ำเพชรบุรี และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจและประสิทธิภาพที่มีต่อการใช้คู่มือภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยวชุมชนย่านเมืองเก่าริมแม่น้ำเพชรบุรี กลุ่มประชากร คือผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยวและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ชุมชนย่านเมืองเก่าริมแม่น้ำเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 30 คน โดยไม่แยกเพศอายุและระดับการศึกษา โดยวิธีเลือกแบบสุ่มโดยสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบความพึงพอใจที่มีต่อคู่มือภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับผู้ประกอบการ ประกอบด้วยการประเมิน 2 ด้าน คือ ด้านรูปเล่ม ด้านเนื้อหา ใช้มาตรวัดระดับความพึงพอใจตามแบบวิธีลิเคอร์ทสเกล (Likert Scale) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test โดยใช้โปรแกรม SPSS/PC ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับที่พักอาศัย ร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึกและด้านวัฒนธรรมตามดำดับ โดยมีภูมิหลังการศึกษาในระดับปริญญาตรีและประกาศนียบัตร และมีประเมินทักษะภาษาอังกฤษด้านการฟังและพูดของตนเองได้ระดับที่ดี ตามด้วยทักษะด้านการอ่านและการเขียน ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ความคิดเห็นที่มีต่อคู่มือภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.47) เนื้อหาของคู่มืออ่านเข้าใจง่าย มีค่าเฉลี่ย 4.60 และเนื้อหาตรงต่อความต้องการและมีความทันสมัย มีค่าเฉลี่ย 4.55 ตามลำดับ ขณะความคิดเห็นที่มีต่อความคิดเห็นที่มีต่อคู่มือภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้านประโยชน์การนำไปใช้อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.28) นอกจากนี้ผู้ตอบแบบสอบถามยังให้ความคิดเห็นควรมีเนื้อหาในรูปแบบ QR Code ที่สามารถสแกนฟังเสียงคำศัพท์และรูปประโยค เพื่อช่วยสร้างความมั่นใจในการออกเสียงและการสื่อสารให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการให้บริการ