จำนวนงานวิจัย ( 3 )

หลักฐานการสอบบัญชีในยุค Social Distancing ที่มีต่อคุณภาพงานสอบบัญชีของสำนักงานสอบบัญชีขนาดเล็กในประเทศไทย
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักฐานการสอบบัญชีในยุค Social Distancing ที่มีต่อคุณภาพงานสอบบัญชีของสำนักงานสอบบัญชีขนาดเล็กในประเทศไทย โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาจำนวนทั้งสิ้น 313 ราย ทั้งนี้ มีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า หลักฐานการสอบบัญชีในยุค Social Distancing ที่มีต่อคุณภาพงานสอบบัญชีของสำนักงานสอบบัญชีขนาดเล็กในประเทศไทยมีความสัมพันธ์ในทางเดียวกันกับหลักฐานการสอบบัญชีในยุค Social Distancing อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งนี้ ให้ความสำคัญในเรื่องจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพสอบบัญชี รองลงมาเป็นด้านความรู้ความสามารถของผู้สอบบัญชี ด้านการกำกับดูแลที่ดี ด้านประสิทธิภาพของการควบคุมภายใน และคุณภาพงานสอบบัญชี ตามลำดับ โดยส่วนใหญ่มองว่าหลักฐานการสอบบัญชีในยุค Social Distancing มีประสิทธิภาพในการประมวลผล สะดวกรวดเร็วในการรายงานผล นอกจากนี้ ยังแสดงถึงความรู้ความสามารถของผู้สอบบัญชี และช่วยให้การปฏิบัติงานตรวจสอบอยู่ภายใต้กรอบของมาตรฐานการสอบบัญชี และจรรยาบรรณทางวิชาชีพบัญชีมากขึ้น

ระบบการจัดเก็บและรายงานข้อมูลสำหรับการประเมิน ตามเกณฑ์ QS Stars Rating
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการจัดเก็บและรายงานข้อมูลสำหรับการประเมินตามเกณฑ์ QS Stars Rating ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เพื่อให้ระบบมีความทันสมัย สะดวกต่อ การใช้งาน และมีความสวยงาม จากการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลตามเกณฑ์ QS Stars Rating พบว่า การพัฒนาระบบดังกล่าวช่วยสนับสนุนการบริหารจัดการข้อมูลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยระบบที่พัฒนาสามารถรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานที่รับผิดชอบต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ ลดความซ้ำซ้อน และเพิ่ม ความรวดเร็วในการเข้าถึงและวิเคราะห์ข้อมูล เครื่องมือที่นำมาใช้ เช่น Google Forms, Google Sheets และ Looker Studio ช่วยให้การจัดเก็บและนำเสนอข้อมูลมีความชัดเจน เข้าใจง่าย และสวยงาม ผลการประเมินการใช้งานระบบพบว่าผู้ใช้งานมีความพึงพอใจในระดับดี โดยสรุป ระบบที่พัฒนาช่วยเพิ่มศักยภาพของมหาวิทยาลัยในการจัดการข้อมูลและสนับสนุนการประเมินในระดับสากลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การพัฒนาการทำงานของพนักงานแม่บ้านในโรงแรมเขตกรุงเทพมหานคร
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและผลกระทบการทำงาน และการพัฒนาการทำงานของพนักงานแผนกแม่บ้านในโรงแรมในช่วงการระบาด COVID-19 เป็นการวิจัยแบบเชิงผสม (Mix Method Research) โดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 169 คน และใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 10 คน ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาและผลกระทบการทำงานของพนักงานแผนกแม่บ้านในโรงแรม สรุปภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.40 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านความมั่นคงในการทำงานเป็นปัญหาและผลกระทบการทำงานอันดับหนึ่ง อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.096 และน้อยที่สุดด้านสุขภาพอนามัยอยู่ในระดับปานกลางมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.91 ส่วนการพัฒนาการทำงานของพนักงานแผนกแม่บ้านในโรงแรมในช่วงการระบาด COVID-19 สรุปภาพรวมการพัฒนาการทำงานของพนักงานแผนกแม่บ้านในโรงแรมในช่วงการระบาด COVID-19 อยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.14 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการส่งเสริมการพัฒนาพนักงานแม่บ้านของโรงแรมอันดับหนึ่ง อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.15 และน้อยที่สุดด้านการพัฒนาตนเองของพนักงานแม่บ้าน อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.12 นอกจากนี้ต้องเข้าใจถึงบริบทที่แท้จริงถึงสภาพปัญหาและความต้องการโดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านจิตใจและด้านปัญญาความรู้