จำนวนงานวิจัย ( 7 )
ลักษณะความเสี่ยงของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ระหว่างปี 2561-2565
ธนาคารพาณิชย์เป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูงเนื่องจากส่งผลกระทบกับภาคเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาลักษณะความเสี่ยงของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ระหว่างปี 2561-2565 โดยรวบรวมข้อมูลจากแบบแสดงรายการข้อมูลประจาปี (56-1) ของธนาคารพาณิชย์จานวน 11 แห่ง โดยวิเคราะห์ลักษณะความเสี่ยงจากการเปิดเผยตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยใช้เป็นกรอบในการเปิดเผย ได้แก่ ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk) ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (Operational Risk) ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทางการเงิน (Financial Risk) และความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (Compliance Risk) มีการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของลักษณะความเสี่ยงในแต่ละช่วงเวลา ผลการศึกษาพบว่าลักษณะความเสี่ยงและการเปลี่ยนแปลงของความเสี่ยงในรอบ 5 ปี ของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทยมีการเปิดเผยลักษณะความเสี่ยงตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกาหนดให้มีการเปิดเผยดังกล่าว แต่หากขยายให้มีการเปิดเผยความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทางการเงิน (Financial Risk) เพิ่มเติมด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดาเนินธุรกิจด้วยอาจจะเกิดประโยชน์มากขึ้น ดังนั้นการเปิดเผยที่จะเป็นประโยชน์ต่อลูกค้า ผู้ลงทุน รวมถึงธนาคารเอง ควรมีการเปิดเผยความเสี่ยง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk) ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (Operational Risk) ความเสี่ยงด้านรายงาน (Report Risk) และความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (Compliance Risk) งานวิจัยฉบับนี้แสดงให้เห็นถึงลักษณะความเสี่ยงของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ระหว่างปี 2561-2565 การเรียนรู้ความเสี่ยงดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อ คณะกรรมการกากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สามารถนาผลการศึกษาครั้งนี้ไปใช้เป็นแนวทางในการออกกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการเปิดเผยความเสี่ยงของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และสามารถประเมินความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตและจัดทาแผนป้องกันความ
ความสัมพันธ์ระหว่างความล้มเหลวทางการเงินกับอัตราส่วนทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
การวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างความล้มเหลวทางการเงินกับอัตราส่วนทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความล้มเหลวทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างจำนวน 373 บริษัท ระหว่างปี พ.ศ.2559-2563 ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ความล้มเหลวทางการเงิน (Z-Score) อัตราส่วนกำไรสุทธิ (Net Profit Margin) อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Debt to Equity Ratio) อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม (Total Assets Turnover) โดยใช้วิธีการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) บริษัทส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ที่ไม่มีความเสี่ยงต่อความล้มเหลวทางการเงิน คิดเป็นร้อยละ 42.79 โดยผลการวิจัยพบว่า อัตรากำไรสุทธิ และอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นมีความสัมพันธ์เชิงลบกับความล้มเหลวทางการเงินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความล้มเหลวทางการเงินแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนตัวแปรควบคุม ขนาดของกิจการมีความสัมพันธ์เชิงลบกับความล้มเหลวทางการเงินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่อายุของกิจการมีความสัมพันธ์เชิงลบกับความล้มเหลวทางการเงินแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สุขอนามัยด้วยสมุนไพรภายใต้วิถีใหม่ (New Normal)
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สุขอนามัยด้วสมุนไพรภายใต้วิถีใหม่ (New Normal) 2. เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สุขอนามัยด้วยสมุนไพรภายใต้วิถีใหม่ (New Normal) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่ซื้อ หรือ ใช้ ผลิตภัณฑ์สุขอนามัยด้วยสมุนไพร ประเภทผลิตภัณฑ์ชำระล้าง หรือทำความสะอาดมือที่ส่วนผสมมาจากสมุนไพร จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือใน เก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของประชากร 2 กลุ่ม (การหาค่าที) การวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของประชากรที่มากกว่า 2 กลุ่ม โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษาพบว่า 1 ผู้บริโภคที่ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 21-30 ปี มีสถานภาพโสดมากกว่าสมรส/อยุ่ด้วยกัน การศึกษาส่วนใหญ่ระดับปริญญาตรี รองลงมาคือ ระดับระดับปริญญาโท และต่ำกว่าปริญญาตรี ตามลำดับ อาชีพส่วนใหญ่เป็นพนักงานบริษัทเอกชน รองลงมา นักเรียน/นักศึกษา และธุรกิจส่วนตัว/อิสระ ตามลำดับ รายได้ส่วนใหญ่มีรายได้ต่อเดือน 15,001-30,000 บาท รองลงมา รายได้ต่อเดือน 30,001-45,000 บาท และรายได้ต่อเดือนต่ำกว่าหรือเท่ากับ 15,000 บาท ตามลำดับ 2 ข้อมูลส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ พบว่า ผู้บริโภคมีระดับความคิดเห็นมากที่สุด โดยรวม และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผู้บริโภคมีความคิดเห็นมากที่สุดในข้อ ความปลอดภัยกับผู้ใช้ผลิตภัณฑ์สุขอนามัยด้วยสมุนไพร ผลิตภัณฑ์มีสีตามธรรมชาติ ปราศจากการแต่งสีผลิตภัณฑ์ได้มาตรฐานมีเครื่องหมายรับรองคุณภาพ ผลิตภัณฑ์มีกลิ่นตามธรรมชาติปราศจากน้ำหอม 3 ข้อมูลส่วนประสมทางการตลาดด้านราคา พบว่า ผู้บริโภคมีระดับความคิดเห็นมากที่สุดโดยรวม และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผู้บริโภคมีความคิดเห็นมากที่สุดในข้อ ราคาเหมาะสมกับปริมาณบรรจุของผลิตภัณฑ์สุขอนามัยด้วยสมุนไพร ราคาผลิตภัณฑ์สุขอนามัยด้วยสมุนไพรเหมาะสมกับคุณภาพ ผลิตภัณฑ์สุขอนามัยด้วยสมุนไพรมีความคุ้มค่ากับประโยชน์ที่ได้รับ และผู้บริโภคมีระดับความคิดเห็นมากในข้อ ราคาผลิตภัณฑ์สุขอนามัยด้วยสมุนไพรแพงกว่าผลิตภัณฑ์สุขอนามัยทั่วไป 4 ข้อมูลส่วนประสมทางการตลาดด้านช่องทางการจัดจำหน่าย พบว่า ผู้บริโภคมีระดับความคิดเห็นมากที่สุดโดยรวม และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผู้บริโภคมีความคิดเห็นมากที่สุดในข้อผลิตภัณฑ์สุขอนามัยด้วยสมุนไพรมีหลากหลายช่องทางการขาย หาซื้อได้ง่าย เช่น ห้างสรรพสินค้าร้านสะดวกซื้อ ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้าออนไลน์ เป็นต้น วิธีการชำระเงินที่มีความหลากหลาย เช่น การจ่ายด้วยพร้อมเพย์ เป๋าตังค์ เงินสด เป็นต้น การจัดส่งผลิตภัณฑ์สุขอนามัยด้วยสมุนไพรสะดวกรวดเร็ว ถึงมือผู้บริโภคในเวลาที่ต้องการ และผู้บริโภคระดับมีความคิดเห็นมากในข้อการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์สุขอนามัยด้วยสมุนไพรจากช่องทางออนไลน์ เช่น Facebook และ Line 5 ข้อมูลส่วนประสมทางการตลาดด้านการส่งเสริมการตลาด พบว่า ผู้บริโภคมีระดับความคิดเห็นมากที่สุด โดยรวม และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ด้านการได้รับข้อมูลผลิตภัณฑ์สุขอนามัยด้วยสมุนไพรอย่างดี เช่น Brochure แนะนำผลิตภัณฑ์ และ ผ่านสื่อโซเซียลมีเดีย การมีประสบการณ์การทดลองใช้ผลิตภัณฑ์สุขอนามัยด้วยสมุนไพร กิจกรรมส่งเสริมการขาย เช่น โฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อโทรทัศน์ โฆษณาทางสื่อโซเซียลมีเดีย การจัดแสดงสินค้า ณ จุดจำหน่ายตาม ร้านค้าต่าง ๆ หรือ งานแสดงสินค้าเกี่ยวกับสมุนไพรต่าง ๆการทดสอบสมมติฐาน พบว่า 1. ผู้บริโภคที่มีอายุแตกต่างกัน มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ ฯ ด้านความถี่การซื้อผลิตภัณฑ์ ฯ และฯ ด้านเหตุผลหลักที่ทำให้ท่านเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ ฯ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 05 ผู้บริโภคที่มีสถานภาพแตกต่างกัน มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ ฯ ด้านความถี่การซื้อผลิตภัณฑ์ ฯ ด้านเหตุผลหลักที่ทำให้ตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ ฯ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 05 ผู้บริโภคที่มีอาชีพแตกต่างกัน มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ ฯ ด้านความถี่ การซื้อผลิตภัณฑ์ ฯ และด้านเหตุผลหลักที่ทำให้ตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ ฯ แตกต่างกันกัน อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 05 ผู้บริโภคที่มีรายได้ต่อเดือนแตกต่างกัน มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ ฯ ด้าน ความถี่การซื้อผลิตภัณฑ์ ฯ ด้านเหตุผลหลักที่ทำให้ตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ ฯ และด้านเนื้อผลิตภัณฑ์ ฯ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 05 2. ผู้บริโภคที่มีปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ฯ แตกต่างกัน มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ ฯ ด้านความถี่การซื้อผลิตภัณฑ์ ฯ และด้านเหตุผลหลักที่ทำให้ตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ ฯแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 05 ผู้บริโภคที่มีปัจจัยด้านราคาผลิตภัณฑ์ ฯ แตกต่างกัน มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ ฯ ด้านความถี่การซื้อผลิตภัณฑ์ ฯ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 05 ผู้บริโภคที่มีปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ฯ แตกต่างกัน มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ ฯ ด้านความถี่การซื้อผลิตภัณฑ์ ฯ และฯ ด้านเนื้อผลิตภัณฑ์ ฯ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 05 ผู้บริโภคที่มีปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์ ฯ แตกต่างกัน มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ ฯ ด้านความถี่การซื้อผลิตภัณฑ์ฯ ด้านเหตุผลหลักที่ทำให้ตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ ฯ และด้านเนื้อผลิตภัณฑ์ ฯ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 05
Customer journey, customer experience, and customer satisfaction in the servicescape of the Bangkok Aesthetics clinics
The COVID-19 pandemic has significantly impacted the healthcare industry in Bangkok, particularly in medical and beauty clinics. To succeed in this highly competitive market, clinics need to understand and meet the changing needs of their customers. This study aims to explore the experiences of patients seeking medical care at clinics in Bangkok during the pandemic and the marketing strategies employed by medical clinics to target different types of customers. Through a qualitative research design, data will be collected through in-depth interviews with patients and clinic staff and observation of clinic operations. The study will also review relevant literature on healthcare services, marketing strategies, and patient experience. The findings will contribute to developing effective marketing strategies for medical and beauty clinics in Bangkok and inform future research in this field. Specifically, this study will answer the following research questions: What are patients' experiences seeking medical care at aesthetic clinics in Bangkok during the COVID-19 pandemic? How do aesthetic clinics in Bangkok market their services to different types of customers, and what strategies have been most effective?
Customer experience management, value, and satisfaction of customer through government service’s application program
The programmer designed the mobile application with a friendly version. Its application is planned for effortless usage and is easy to use, called User experience (UX). The mobile government application aimed to launch to facilitate people for their daily consumption and transaction. However, some functions and interfaces should be developed and customized to the specific user. The government’s mobile application is suggested to explore the Customer experience (CX) to ease and convince people to take advantage of the government mobile application. Using a qualitative and exploratory approach, the interview was conducted with the customer experience to explore the perception and feedback of government applications. A semi-structured interview with 17 participants was conducted to examine the customer experience. These findings provide important implications and input for the government mobile application and user experience development.