จำนวนงานวิจัย ( 7 )

การบูรณาการองค์ความรู้ในการพัฒนาศักยภาพผลิตภัณฑ์ อาหาร ของที่ระลึก และเครื่องหอมจากส้มโอ เพื่อเพิ่มมูลทางการเกษตรกร ความยั่งยืนเชิงพาณิยช์ระดับชุมชน ของกลุ่มเครือข่ายวิสหกิจชุมชนส้มโอนครชัยศรี
การบูรณาการองค์ความรู้ในการพัฒนาศักยภาพผลิตภัณฑ์ อาหาร ของที่ระลึก และเครื่องหอมจากส้มโอ เพื่อเพิ่มมูลทางการเกษตรกร ความยั่งยืนเชิงพาณิยช์ระดับชุมชน ของกลุ่มเครือข่ายวิสหกิจชุมชนส้มโอนครชัยศรี

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ การพัฒนาศักยภาพผลิตภัณฑ์อาหาร ของที่ระลึก และเครื่องหอมจากส้มโอ เพื่อเพิ่มมูลค่า สามารถนำเปลือกส้มโอมาพัฒนาเป็นส่วนประกอบในการผลิต ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูป ด้านเศรษฐกิจ/พาณิชย์ในการใช้เปลือกส้มโอเพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิต ด้านสังคมและชุมชนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะในด้านรสชาติ ลดทรัพยากรที่เหลือใช้แก่ชุมชนและเป็นอีกทางเลือกในการเพิ่มรายได้แก่เกษตรกรและชุมชน ผลการศึกษาพบว่า ความแตกต่างคุณภาพทางประสาทสัมผัส ของหยีสูตรที่มีปริมาณเปลือกขาวส้มโอ นั้นมีผลต่อการยอมรับของผู้ทดสอบชิม ปริมาณเปลือกขาวส้มโอร้อยละ 10 แยมร้อยละ 5 ความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องประกอบการแต่งกาย ด้วยผ้าฝ้ายย้อมสีจากส่วนประกอบของส้มโอเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน ทั้ง 2 ประเภท ได้แก่ กระเป๋า, และผ้าอเนกประสงค์ เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์ รวมจากทุกรายข้อของการประเมิน พบว่า กระเป๋า ได้รับความพึงพอใจเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ผ้าอเนกประสงค์ ตามลำดับ รูปแบบผลิตภัณฑ์เครื่องประกอบการแต่งกาย ด้วยผ้าฝ้ายย้อมสีจากส่วนประกอบของส้มโอเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน ทั้ง 2 ประเภท ได้แก่ กระเป๋า, และผ้าอเนกประสงค์ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผลิตภัณฑ์เครื่องประกอบการแต่งกาย ด้วยผ้าฝ้ายย้อมสีจากส่วนประกอบของส้มโอเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน ทั้ง 2 ประเภท เมื่อพิจารณาด้านรูปแบบผลิตภัณฑ์ ความสวยงาม ประโยชน์ใช้สอย สีสัน ลวดลายของผ้า/รูปแบบผลิตภัณฑ์ และ ความเหมาะสม ความแข็งแรง ทนทานของผลิตภัณฑ์ ซึ่งโดยรวมได้รับความพึงพอใจในระดับ มาก การพัฒนาศักยภาพและนวัตกรรมทางการตลาด สามารถเพิ่มมูลค่าให้ผู้ประกอบการแปรรูปจากส้มโอ จังหวัดนครปฐม เป็นโอกาสทางการตลาดและกลยุทธ์การตลาด ประกอบด้วย กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด ผลิตภัณฑ์เน้นที่มีคุณภาพ ราคากำหนดตามราคาตลาด ช่อง ทางการจัดจำหน่ายใช้แบบออฟไลน์และออนไลน์ และการส่งเสริมการตลาดเน้นการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ทางสื่อออนไลน์ จัดการส่งเสริมการขาย และการให้บริการของพนักงานขาย ดังนั้น การกำหนดกลยุทธ์การตลาดผลิตภัณฑ์แปรรูปจากส้มโอ จังหวัดนครปฐม ที่เหมาะสม นำมาสู่ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของเศรษฐกิจในชุมชนทั้งในระดับท้องถิ่น และระดับประเทศยั่งยืนต่อไป ปริมาณการใช้เปลือกส้มโอที่เหมาะสมในการพัฒนา เป็นผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว ปริมาณการใช้ผงเปลือกส้มโอในกรอบเค็มที่เหมาะสมคือร้อยละ 5 โดยผู้ชิมให้คะแนนการยอมรับทางประสาทสัมผัสในด้านลักษณะปรากฎ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส อยู่ในระดับความชอบปานกลางถึงชอบมาก ส่วนปริมาณเปลือกส้มโออบแห้งที่เหมาะสมในกราโนล่า คือปริมาณร้อยละ 50 บ อยู่ในระดับความชอบปานกลางถึงชอบมาก ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบ ทางเคมีการใช้เปลือกส้มโอที่เหมาะสมในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว 2 ผลิตภัณฑ์ การใช้ เปลือกส้มโอในขนม ขบเคี้ยวทั้ง 2 ผลิตภัณฑ์ จะช่วยเพิ่มปริมาณใยอาหารให้กับผลิตภัณฑ์มากยิ่งขึ้น เมื่อนำผลิตภัณฑ์ ไปทดสอบการยอมรับของผู้บริโภค พบว่าบริโภคให้การยอมรับขนมขบเคี้ยวจาก เปลือกส้มโอ และถ้ามีวางจำหน่ายในท้องตลาดผู้บริโภคสนใจซื้อเพราะผลิตภัณฑ์มีรสชาติกลมกล่อม/ ความอร่อย พอใจในราคา ความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อการผลิตผลิตภัณฑ์จากเปลือกส้มโอ เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจ พิมเสนน้ำจากเปลือกส้มโอ มีความ พึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาพัดหอมบุหงาส้มโอ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ถุง หอมบุหงาส้มโอ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เทียนหอมส้มโอ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากที่สุด และยาดมส้มโอ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ตามลำดับการศึกษาปริมาณที่ เหมาะสมในการใช้น้ำและเปลือกส้มโอในน้ำจิ้มบ๊วยเจี่ย พบว่าผู้ทดสอบให้การยอมรับการใช้น้ำส้มโอ ทดแทนน้ำเปล่าที่ระดับร้อยละ 50 และปริมาณเปลือกส้มโอที่ระดับร้อยละ 15 และน้ำและเปลือกส้มโอ ในน้ำจิ้มซีฟู้ด พบว่าผู้ทดสอบให้การยอมรับการเสริมน้ำส้มโอที่ระดับร้อยละ 50 และปริมาณเปลือกส้ม โอที่ระดับร้อยละ 15 ไม่แตกต่างจากสูตรพื้นฐาน และเมื่อวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีพบว่าการใส่ น้ำส้มโอและเปลือกส้มโอทำให้น้ำจิ้มมีปริมาณความชื้นที่ลดลง แต่ในขณะเดียวกันเถ้า ใยอาหาร และ คาร์โบไฮเดรตรวมมีปริมาณเพิ่มขึ้น น้ำส้มโอและเปลือกส้มโอมาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม 2 ประเภท คือ น้ำส้มโอพร้อมดื่มและน้ำส้มโอเข้มข้น พบว่าปริมาณการเสริมเปลือกส้มโอที่เหมาะสมใน น้ำส้มโอพร้อมดื่ม คือ ร้อยละ 3 ปริมาณการเสริมเปลือกส้มโอที่เหมาะสมในน้ำส้มโอเข้มข้น คือ ร้อย ละ 1.5 ผลการศึกษาปริมาณเสริมแป้งเปลือกขาวส้มโอที่เหมาะสมใน พบว่า ผู้ทดสอบชิมให้การ ยอมรับนักเก็ตเสริมเปลือกขาวส้มโอที่ร้อยละ 10 มากที่สุดในด้านลักษณะปรากฎ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อ สัมผัส และความชอบโดยรวม อยู่ในระดับความชอบปานกลาง ผลการศึกษาปริมาณแป้งเปลือกส้มโอ ขาวที่เหมาะสมในหอยจ้อ พบว่า ผู้ทดสอบชิมให้การยอมรับปริมาณแป้งเปลือกส้มโอขาวที่ร้อยละ 10 มากที่สุด ในด้านลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส (ความกรอบ) และความชอบโดยรวม อยู่ในระดับความชอบปานกลาง ผลการศึกษาคุณสมบัติทาง เคมี และกายภาพ พบว่า การเพิ่ม ปริมาณแป้งเปลือกขาวส้มโอในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูป ไม่มีผลต่อสีของผลิตภัณฑ์ การศึกษา ปริมาณเปลือกส้มโอทดแทนผลไม้หมักในฟรุตเค้กในปริมาณพบว่าผู้ชิมให้การยอมรับปริมาณเปลือก ส้มโอทดแทนผลไม้หมักในฟรุตเค้ก 100% ด้านกลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม (p> 0.05)

2565
โครงการยกระดับห่วงโซ่อุปทานกระท้อนด้วยนวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจชุมชน ของกลุ่มเกษตรกร จังหวัดลพบุรี
โครงการยกระดับห่วงโซ่อุปทานกระท้อนด้วยนวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจชุมชน ของกลุ่มเกษตรกร จังหวัดลพบุรี

การยกระดับห่วงโซ่อุปทานกระท้อนด้วยนวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจชุมชนของกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดลพบุรีในปัจจุบัน กลุ่มเกษตรกรในจังหวัดลพบุรีเริ่มพบว่าการเปลี่ยนแปลงในตลาดและเทคโนโลยี มีผลกระทบต่อรายได้และคุณภาพชีวิตอย่างมาก เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรนี้สามารถรับมือกับความท้าทายและเพิ่มโอกาสในการเติบโตและพัฒนา การยกระดับห่วงโซ่อุปทานกระท้อนด้วยนวัตกรรมเป็นก้าวแรกที่สำคัญหนึ่งในวิธีที่สำคัญในการทำให้การเกษตรเป็นเศรษฐกิจที่ยั่งยืนคือการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในกระบวนการผลิตเกษตรกรในจังหวัดลพบุรีสามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเพาะปลูกการดูแลรักษาพืช และการเก็บเกี่ยวผลผลิต นวัตกรรมทางการเกษตรเช่นระบบรดน้ำอัตโนมัติและการใช้ข้อมูลจากเซ็นเซอร์เพื่อตรวจสอบสภาพแวดล้อมจะช่วยลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มผลผลิตนอกจากนี้ การสร้างหรือเข้าร่วมหน่วยงานสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรชุมชนสามารถช่วยในการต่อรองราคาและการจัดหาตลาดให้กับผลผลิตได้ดีขึ้น การเชื่อมต่อกลุ่มเกษตรกรผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์และการใช้โซเชียลมีเดียในการตลาดสินค้าเกษตรกร อาจช่วยเพิ่มรายได้และการเปิดโอกาสใหม่ เมื่อกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดลพบุรีสามารถรับรู้และนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเหล่านี้เข้าสู่กระบวนการผลิตจะสามารถเพิ่มผลผลิตลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มคุณค่าของผลผลิต นี่คือการยกระดับห่วงโซ่อุปทานกระท้อนด้วยนวัตกรรมที่จะช่วยเสริมเศรษฐกิจชุมชนของกลุ่มเกษตรกร ในจังหวัดลพบุรีให้ยั่งยืนและเติบโตขึ้นในอนาคต นอกจากการใช้เทคโนโลยีในกระบวนการผลิตเกษตร การสร้างความรู้และทักษะให้กับกลุ่มเกษตรกรเกี่ยวกับการบริหารจัดการและการตลาดก็เป็นสิ่งสำคัญ การจัดอบรมและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกลุ่มเกษตรกรจะช่วยเสริมความรู้และความเข้าใจ ในวิธีการเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตและ การตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ การสร้างทางเลือกในการผลิตและ การประมาณการตลาดเป็นสิ่งที่สำคัญในการยกระดับเศรษฐกิจชุมชนของกลุ่มเกษตรกร การผลิตผลผลิตที่มีคุณภาพสูงและตอบสนองต่อความต้องการของตลาดให้เหมาะสมจะช่วยเพิ่มรายได้และความมั่นคงของ กลุ่มเกษตรกร และสุดท้ายความร่วมมือระหว่างกลุ่มเกษตรกรและราชการท้องถิ่นเป็นสิ่งสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน การสร้างนโยบายและโครงการที่ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการเกษตรจะเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเติบโตและความยั่งยืนของเศรษฐกิจชุมชน การยกระดับห่วงโซ่อุปทานกระท้อนด้วยนวัตกรรมเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลาและความพยายาม แต่เป็นการลงทุน ที่มีค่าในอนาคตที่มั่นคงและยั่งยืนสาหรับเกษตรกรในจังหวัดลพบุรี ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชนและเพิ่มคุณค่าให้กับองค์กรเกษตรกรในพื้นที่นี้อย่างยั่งยืน

2565