จำนวนงานวิจัย ( 3 )
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อการออกแบบและผลิตเครื่องประดับ : กรณีศึกษาเครื่องประดับจังหวัดเพชรบุรี
การวิจัยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการออกแบบและผลิตเครื่องประดับเพชรบุรีในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความสนใจในการสืบทอด และสร้างแรงงานฝีมือรุ่นใหม่ในงานเครื่องประดับเพชรบุรี โดยมีพื้นที่ศึกษา ณ ตำบลท่าราบ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี ทั้งนี้เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตเครื่องประดับเพชรบุรี รวมถึงกลุ่มผู้บริโภคเครื่องประดับเพชรบุรี ผ่านการใช้แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบประเมินความพึงพอใจในการเก็บข้อมูลในงานวิจัยครั้งนี้ จากการศึกษการนำรูปแบบเครื่องประดับ “กระดุมทอง” ที่เป็นเอกลักษณ์ของเครื่องประดับเพชรบุรี เนื่องด้วยกรรมวิธีการผลิตที่ซับซ้อนหลายขั้นตอน ผู้วิจัยได้นารูปแบบเครื่องประดับดังกล่าวสร้างเป็นแบบจำลอง 3 มิติ ผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (MatrixGold) และสร้างเป็นต้นแบบตัวเรือนเครื่องประดับจากวัสดุแว็กซ์เหลว ด้วยเทคโนโลยีการขึ้นรูปด้วยเครื่องสร้างต้นแบบอย่างรวดเร็ว (Rapid Prototype Machine, RP) ซึ่งสามารถสร้างต้นแบบที่มีโครงสร้างซับซ้อนได้เป็นอย่างดี โดยใช้วัสดุเป็นแว็กซ์เหลวที่สามารถนำไปหล่อตัวเรือนได้เลย ในส่วนของกระบวนการหล่อตัวเรือนเครื่องประดับนั้น ผู้วิจัยใช้การหล่อต้นแบบด้วยเครื่องหล่อระบบสุญญากาศ กระบวนการดังกล่าวใช้ระยะเวลาการผลิต 3 – 5 วัน จากเดิมที่ผลิตด้วยมือใช้เวลา 7-14 วัน เมื่อได้ต้นแบบแล้วสามารถนาต้นแบบที่ได้สร้างเป็นพิมพ์ยาง เพื่อใช้ในการผลิตในครั้งต่อไปโดยไม่ต้องสร้างต้นแบบใหม่ การใช้เทคโนโลยีในการผลิตเป็นกระบวนการผลิตที่สามารถลดเวลา ลดต้นทุนในการผลิต และยังสามารถผลิตได้จำนวนมากในครั้งเดียว อีกทั้งยังสามารถปรับแก้ต้นแบบก่อนการผลิตได้อีกด้วย ผลการวิเคราะห์แบบประเมินความพึงพอใจกลุ่มผู้บริโภค ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อการออกแบบและผลิตเครื่องประดับเพชรบุรี จานวน 100 คน พบว่า มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ( =4.74) โดยมีส่วนค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.=0.47)
การพัฒนาเครื่องต้นแบบปัญญาประดิษฐ์สาหรับคัดแยกขยะรีไซเคิลอย่างยั่งยืนด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน
การพัฒนาเครื่องต้นแบบปัญญาประดิษฐ์สำหรับคัดแยกขยะรีไซเคิลอย่างยั่งยืนด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์สำหรับพัฒนาต้นแบบเครื่องคัดแยกขยะรีไซเคิล เพื่อนำต้นแบบเครื่องคัดแยกขยะรีไซเคิลไปใช้ภายในคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อการถ่ายทอดองค์ความรู้จากการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะรีไซเคิลให้กับสถานศึกษา โดยการพัฒนาเครื่องต้นแบบปัญญาประดิษฐ์สำหรับจัดการขยะรีไซเคิลอย่างยั่งยืนด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน การวิจัยนี้เป็นตอบสนองนโยบายรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการและการจัดการ Zero Waste to Landfill ส่งเสริมการคัดแยกขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทาง เพื่อให้สะดวกต่อการนำไปใช้ประโยชน์ รวมถึงรองรับนโยบายของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ต้องการพัฒนาทางด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย (Green & Clean Faculty) เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการส่งเสริมการจัดทำสำนักงานสีเขียว (Green Office) โดยการออกแบบเครื่องต้นแบบที่มีขนาดความกว้างเท่ากับ 78เซนติเมตร ความยาวเท่ากับ 112 เซนติเมตร และความสูง เท่ากับ 153 เซนติเมตร นำเทคนิคการถ่ายโอนการเรียนรู้จาก โครงข่ายประสาทเทียมแบบ VGG16 มาพัฒนาเพื่อให้ได้โมเดลที่เหมาะสมสำหรับการคัดแยกขยะรีไซเคิล ใช้ Microcontroller ARM Cortex-A72 ในการควบคุมการทำงาน ผลการทดสอบ การทำนายการคัดแยกขยะรีไซเคิลของโมเดลที่พัฒนาขึ้นมีความถูกต้อง ร้อยละ 89.33 และการทดสอบการทำงานของระบบของเครื่องต้นแบบสามารถทางานตามขอบเขตที่กำหนด โดยสามารถคัดแยกประเภทของขยะรีไซเคิลได้ตามวัตถุประสงค์
การบูรณาการองค์ความรู้ในการพัฒนาศักยภาพผลิตภัณฑ์ อาหาร ของที่ระลึก และเครื่องหอมจากส้มโอ เพื่อเพิ่มมูลทางการเกษตรกร ความยั่งยืนเชิงพาณิยช์ระดับชุมชน ของกลุ่มเครือข่ายวิสหกิจชุมชนส้มโอนครชัยศรี
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ การพัฒนาศักยภาพผลิตภัณฑ์อาหาร ของที่ระลึก และเครื่องหอมจากส้มโอ เพื่อเพิ่มมูลค่า สามารถนำเปลือกส้มโอมาพัฒนาเป็นส่วนประกอบในการผลิต ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูป ด้านเศรษฐกิจ/พาณิชย์ในการใช้เปลือกส้มโอเพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิต ด้านสังคมและชุมชนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะในด้านรสชาติ ลดทรัพยากรที่เหลือใช้แก่ชุมชนและเป็นอีกทางเลือกในการเพิ่มรายได้แก่เกษตรกรและชุมชน ผลการศึกษาพบว่า ความแตกต่างคุณภาพทางประสาทสัมผัส ของหยีสูตรที่มีปริมาณเปลือกขาวส้มโอ นั้นมีผลต่อการยอมรับของผู้ทดสอบชิม ปริมาณเปลือกขาวส้มโอร้อยละ 10 แยมร้อยละ 5 ความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องประกอบการแต่งกาย ด้วยผ้าฝ้ายย้อมสีจากส่วนประกอบของส้มโอเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน ทั้ง 2 ประเภท ได้แก่ กระเป๋า, และผ้าอเนกประสงค์ เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์ รวมจากทุกรายข้อของการประเมิน พบว่า กระเป๋า ได้รับความพึงพอใจเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ผ้าอเนกประสงค์ ตามลำดับ รูปแบบผลิตภัณฑ์เครื่องประกอบการแต่งกาย ด้วยผ้าฝ้ายย้อมสีจากส่วนประกอบของส้มโอเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน ทั้ง 2 ประเภท ได้แก่ กระเป๋า, และผ้าอเนกประสงค์ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผลิตภัณฑ์เครื่องประกอบการแต่งกาย ด้วยผ้าฝ้ายย้อมสีจากส่วนประกอบของส้มโอเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน ทั้ง 2 ประเภท เมื่อพิจารณาด้านรูปแบบผลิตภัณฑ์ ความสวยงาม ประโยชน์ใช้สอย สีสัน ลวดลายของผ้า/รูปแบบผลิตภัณฑ์ และ ความเหมาะสม ความแข็งแรง ทนทานของผลิตภัณฑ์ ซึ่งโดยรวมได้รับความพึงพอใจในระดับ มาก การพัฒนาศักยภาพและนวัตกรรมทางการตลาด สามารถเพิ่มมูลค่าให้ผู้ประกอบการแปรรูปจากส้มโอ จังหวัดนครปฐม เป็นโอกาสทางการตลาดและกลยุทธ์การตลาด ประกอบด้วย กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด ผลิตภัณฑ์เน้นที่มีคุณภาพ ราคากำหนดตามราคาตลาด ช่อง ทางการจัดจำหน่ายใช้แบบออฟไลน์และออนไลน์ และการส่งเสริมการตลาดเน้นการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ทางสื่อออนไลน์ จัดการส่งเสริมการขาย และการให้บริการของพนักงานขาย ดังนั้น การกำหนดกลยุทธ์การตลาดผลิตภัณฑ์แปรรูปจากส้มโอ จังหวัดนครปฐม ที่เหมาะสม นำมาสู่ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของเศรษฐกิจในชุมชนทั้งในระดับท้องถิ่น และระดับประเทศยั่งยืนต่อไป ปริมาณการใช้เปลือกส้มโอที่เหมาะสมในการพัฒนา เป็นผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว ปริมาณการใช้ผงเปลือกส้มโอในกรอบเค็มที่เหมาะสมคือร้อยละ 5 โดยผู้ชิมให้คะแนนการยอมรับทางประสาทสัมผัสในด้านลักษณะปรากฎ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส อยู่ในระดับความชอบปานกลางถึงชอบมาก ส่วนปริมาณเปลือกส้มโออบแห้งที่เหมาะสมในกราโนล่า คือปริมาณร้อยละ 50 บ อยู่ในระดับความชอบปานกลางถึงชอบมาก ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบ ทางเคมีการใช้เปลือกส้มโอที่เหมาะสมในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว 2 ผลิตภัณฑ์ การใช้ เปลือกส้มโอในขนม ขบเคี้ยวทั้ง 2 ผลิตภัณฑ์ จะช่วยเพิ่มปริมาณใยอาหารให้กับผลิตภัณฑ์มากยิ่งขึ้น เมื่อนำผลิตภัณฑ์ ไปทดสอบการยอมรับของผู้บริโภค พบว่าบริโภคให้การยอมรับขนมขบเคี้ยวจาก เปลือกส้มโอ และถ้ามีวางจำหน่ายในท้องตลาดผู้บริโภคสนใจซื้อเพราะผลิตภัณฑ์มีรสชาติกลมกล่อม/ ความอร่อย พอใจในราคา ความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อการผลิตผลิตภัณฑ์จากเปลือกส้มโอ เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจ พิมเสนน้ำจากเปลือกส้มโอ มีความ พึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาพัดหอมบุหงาส้มโอ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ถุง หอมบุหงาส้มโอ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เทียนหอมส้มโอ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากที่สุด และยาดมส้มโอ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ตามลำดับการศึกษาปริมาณที่ เหมาะสมในการใช้น้ำและเปลือกส้มโอในน้ำจิ้มบ๊วยเจี่ย พบว่าผู้ทดสอบให้การยอมรับการใช้น้ำส้มโอ ทดแทนน้ำเปล่าที่ระดับร้อยละ 50 และปริมาณเปลือกส้มโอที่ระดับร้อยละ 15 และน้ำและเปลือกส้มโอ ในน้ำจิ้มซีฟู้ด พบว่าผู้ทดสอบให้การยอมรับการเสริมน้ำส้มโอที่ระดับร้อยละ 50 และปริมาณเปลือกส้ม โอที่ระดับร้อยละ 15 ไม่แตกต่างจากสูตรพื้นฐาน และเมื่อวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีพบว่าการใส่ น้ำส้มโอและเปลือกส้มโอทำให้น้ำจิ้มมีปริมาณความชื้นที่ลดลง แต่ในขณะเดียวกันเถ้า ใยอาหาร และ คาร์โบไฮเดรตรวมมีปริมาณเพิ่มขึ้น น้ำส้มโอและเปลือกส้มโอมาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม 2 ประเภท คือ น้ำส้มโอพร้อมดื่มและน้ำส้มโอเข้มข้น พบว่าปริมาณการเสริมเปลือกส้มโอที่เหมาะสมใน น้ำส้มโอพร้อมดื่ม คือ ร้อยละ 3 ปริมาณการเสริมเปลือกส้มโอที่เหมาะสมในน้ำส้มโอเข้มข้น คือ ร้อย ละ 1.5 ผลการศึกษาปริมาณเสริมแป้งเปลือกขาวส้มโอที่เหมาะสมใน พบว่า ผู้ทดสอบชิมให้การ ยอมรับนักเก็ตเสริมเปลือกขาวส้มโอที่ร้อยละ 10 มากที่สุดในด้านลักษณะปรากฎ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อ สัมผัส และความชอบโดยรวม อยู่ในระดับความชอบปานกลาง ผลการศึกษาปริมาณแป้งเปลือกส้มโอ ขาวที่เหมาะสมในหอยจ้อ พบว่า ผู้ทดสอบชิมให้การยอมรับปริมาณแป้งเปลือกส้มโอขาวที่ร้อยละ 10 มากที่สุด ในด้านลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส (ความกรอบ) และความชอบโดยรวม อยู่ในระดับความชอบปานกลาง ผลการศึกษาคุณสมบัติทาง เคมี และกายภาพ พบว่า การเพิ่ม ปริมาณแป้งเปลือกขาวส้มโอในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูป ไม่มีผลต่อสีของผลิตภัณฑ์ การศึกษา ปริมาณเปลือกส้มโอทดแทนผลไม้หมักในฟรุตเค้กในปริมาณพบว่าผู้ชิมให้การยอมรับปริมาณเปลือก ส้มโอทดแทนผลไม้หมักในฟรุตเค้ก 100% ด้านกลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม (p> 0.05)