จำนวนงานวิจัย ( 2 )

ฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดว่านนางคำ สำหรับการพัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์โลชั่นบาร์และนวัตกรรมเพื่อการชะลอวัย
ฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดว่านนางคำ สำหรับการพัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์โลชั่นบาร์และนวัตกรรมเพื่อการชะลอวัย

งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์โลชั่นบาร์ที่มีส่วนผสมของว่านนางคำ เพื่อพัฒนาเป็นเวชสำอางเพื่อการชะลอวัยว่านนางคำ (Curcuma aromatica salisb) เป็นว่านที่อยู่ในวงศ์ของของและข่ามีลักษณะคล้ายกับขมิ้น ว่านนางคำมีองค์ประกอบทางของเคมีหลายชนิดที่น่าสนใจ ในงานวิจัยนี้ได้มีการทดสอบองค์ประกอบทางของเคมีของสารสกัดว่านนางคำ โดยได้ทำการสกัดสารออกฤทธิ์ในว่านนางคำโดยใช้เอทานอลทำการระเหยเพื่อให้ได้สารออกฤทธิ์ นอกจากนี้ยังได้ทำการสกัดน้ำมันว่านนางคำเพื่อดูสารออกฤทธิ์อีกด้วย ได้ทำการหาสารออกฤทธิ์ด้วยกระบวนการแก๊สโครมาโทกราฟี และ แมสสเปกโตรเมตรี ได้พบสารออกฤทธิ์หลายตัวที่น่าสนใจ ได้ทำการทดสอบการต้านอนุมูลอิสระโดยวิธีดีพีพีเอช พบว่ามีคุณสมบัติด้านอนุมูลอิสระเพียงเล็กน้อย ได้ทำการทดสอบการต้านอักเสบในเซลล์พบว่าสารสกัดว่านนางคำมีฤทธิ์ต้านอักเสบ ในการวิจัยครั้งนี้ได้มีการพัฒนาขึ้นสูตรตำรับที่ดีที่สุดของโลชั่นบาร์ว่านนางคำ โลชั่นบาร์เป็นโลชั่นแบบก้อนคล้ายสบู่ ไม่มีส่วนผสมของน้ำสารที่ใช้เป็นสารที่อยู่ในรูปแบบน้ำมันแล้วขึ้นรูปด้วยสารขึ้นรูป สูตรที่ดีที่สุดได้ทำการจดแจ้งทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อจะได้มีการถ่ายทอดนวัตกรรมแก่ชุมชนต่อไป

2567
การแปรรูปผลิตภัณฑ์เส้นใยกก ไหม ฝ้าย ผักตบชวาสู่เชิงพาณิชย์โดยความร่วมมือของประชาชนในชุมชนตำบลคุ้งกระถิน อ.เมือง จังหวัดราชบุรีและชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก
การแปรรูปผลิตภัณฑ์เส้นใยกก ไหม ฝ้าย ผักตบชวาสู่เชิงพาณิชย์โดยความร่วมมือของประชาชนในชุมชนตำบลคุ้งกระถิน อ.เมือง จังหวัดราชบุรีและชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างชุมชนให้มีอาชีพและรายได้ที่มั่นคง ให้กับชุมชนมีความเข้มแข็งต่อไป กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนใน จำนวน 234 คน สุ่มอย่างง่ายตามตารางยามาเน่ และข้อมูลเชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณ์ผู้นำกลุ่มชุมชน ประชาชนในกลุ่มชุมชน จำนวน 20 คน คณะผู้วิจัยได้สอบถามให้ได้มาซึ่งความต้องการของผู้บริโภคและตรงตามความต้องการของผู้ประกอบการและท้องตลาด แล้วประเมินรูปแบบผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน โดยปราชญ์ชาวบ้านที่ร่วมแปรรูปผลิตภัณฑ์ให้เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน จำนวน 3 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ ผลิตภัณฑ์จากเส้นใยพืช ผ้าทอจากเส้นใยพืช จำนวน 3 ท่าน เพื่อประเมินความเหมาะสมของรูปแบบในการประยุกต์ เป็นผลิตภัณฑ์ จากนั้นสร้างต้นแบบแล้ว ประเมินผลวัดระดับความคิดเห็นของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์หัตถกรรม จากเส้นใยพืชที่มีในท้องถิ่นมาผสมผสานเส้นใยไหม เส้นใยฝ้าย ผสมผสานให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัยสวยงามได้มาตรฐาน สามารถออกแบบได้ตรงกับความต้องการของท้องตลาด ผู้บริโภค ตรงตามท้องตลาดและผู้ประกอบการต้องการรับซื้อ การดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณควบคู่กันโดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ แบบประเมินความพึงพอใจ เป็นเครื่องมือวิจัย เพื่อเก็บรวบรวม ข้อมูลพิจารณาความเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญและความพึงพอใจจากกลุ่มเป้าหมาย วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (SD) แปลผลในรูปความเรียง ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างในชุมชนกลุ่มสร้างผลิตภัณฑ์จากเส้นใยพืช อำเภอเมือง จังหวัดนครนายกและกลุ่มสร้างผลิตภัณฑ์ตำบลคุ้งกระถิน อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี คิดว่าพืชในท้องถิ่นนี้เหมาะสมกับการนำไปทำผลิตภัณฑ์ สามารถนำไปสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์การใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ มีความต้องการประยุกต์ใช้วัสดุอื่น ๆ ในท้องถิ่นร่วมประกอบ กับตัวผลิตภัณฑ์และเส้นใยจากกก ไหม ฝ้าย ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ที่มีต่อการประเมินรูปแบบผลิตภัณฑ์ หัตถกรรมจากเส้นใยพืช โดยรวมอยู่ในระดับมาก พบว่าผลิตภัณฑ์เหมาะสมกับการใช้งาน การออกแบบผลิตภัณฑ์มีความสวยงาม ลวดลายทันสมัย เป็นที่นิยม สามารถใช้สอยได้ มีความสะดวกสบายในการใช้ มีค่าเฉลี่ยระดับมาก ผลวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึกประชาชน ผู้นำชุมชน และปราชญ์ชาวบ้านทั้ง 2 จังหวัด มีดังนี้ 1) ต้องการสร้างอาชีพเสริม สร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้กับครอบครัว ชุมชน 2) ต้องการทุนงบประมาณสนับสนุนในการทำผลิตภัณฑ์จากหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานอื่น ๆ 3) ต้องการวิทยาการหรือผู้เชี่ยวชาญมาสอนฝึกอบรมการสร้างผลิตภัณฑ์แปลกใหม่ทันสมัยที่ตรงกับความต้องการของประชาชน ผู้บริโภค เพื่อการพัฒนาให้ได้มาตรฐานสู่เชิงพาณิชย์ 4) ต้องการสร้างผลิตภัณฑ์จากเส้นใยพืช เช่น แฝก ฝ้าย ไหม กก สับปะรด ให้มีความหลากหลายทันสมัยสวยงาม เป็นเครื่องใช้ต่าง ๆ เครื่องประดับ เครื่องอุปโภคบริโภค ที่ทันสมัยตรงกับความสนใจและต้องการของท้องตลาด 5) ต้องการสถานที่รับซื้อผลิตภัณฑ์ที่สร้างขึ้นอย่างต่อเนื่อง ข้อเสนอแนะ กลุ่มตัวอย่าง ต้องการผลิตภัณฑ์ที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน ที่ทันสมัยเป็นที่นิยมของท้องตลาดผู้ประกอบการ มีสถานที่รับซื้อผลิตภัณฑ์เป็นประจำต่อเนื่อง ต้องการได้ผู้เชี่ยวชาญเข้ามาพัฒนาบุคลากรในชุมชนให้มีความรู้เชี่ยวชาญด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเส้นใยพืชที่มีในท้องถิ่น ที่มีความรู้ความสามารถ ทำให้บุคลากรในชุมชนมีไหวพริบมีความถนัด จนสามารถได้รับความรู้จากวิทยากรได้รวดเร็ว และสามารถถ่ายทอดความรู้ให้คนในชุมชนได้ต่อไปจนรุ่นสู่รุ่น และต้องการให้รัฐบาล หน่วยงานต่าง ๆ ให้การสนับสนุนเรื่องงบประมาณ ต้นทุนการผลิต อุปกรณ์การผลิต ครุภัณฑ์ ที่เพียงพอสำหรับทำงานต้นแบบที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชนได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างอาชีพและรายได้ที่มั่งคง ยั่งยืนตลอดไป เพื่อพัฒนาและสามารถฝึกทักษะการพัฒนาการผลิตภัณฑ์ที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชนให้ได้มาตรฐาน ผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญและเป็นที่ยอมรับของท้องตลาดผู้ประกอบการ ด้านการตลาด สามารถเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายให้หลากหลาย ให้สะดวกรวดเร็วในการสั่งซื้อ เช่น ออนไลน์ เว็บไซต์ เฟสบุ๊ค ต้องการงบประมาณสนับสนุนในช่วงดำเนินการ ให้สามารถทำงานได้สำเร็จ และได้กำไร พอที่จะลงทุนการผลิตได้ด้วยตนเอง เพราะยังไม่เคยได้รับการสนับสนุน ขาดเงินงบประมาณในการดำเนินการต่อไปให้สำเร็จ การแก้ปัญหาต้องการให้ภาครัฐสนับสนุนงบประมาณดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และผู้ประกอบการร่วมมือกับชุมชน ช่วยจัดจำหน่ายขายผลิตภัณฑ์ให้กับชุมชนเป็นประจำ ความต้องการของผู้บริโภคและผู้รับซื้อทั้งปลีกและส่ง และมีความต้องการประยุกต์ใช้วัสดุอื่น ๆ ในท้องถิ่นร่วมแปรรูปผลิตภัณฑ์จาก เส้นใยจากกก ไหม ฝ้าย เพื่อให้มีความประณีต ละเอียดและมีความสวยงาม เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของชุมชน ให้มีอาชีพและรายได้ที่ยั่งยืนอย่างต่อเนื่องตลอดไป

2567