ภาพปกงานวิจัย การแปรรูปผลิตภัณฑ์เส้นใยกก ไหม ฝ้าย ผักตบชวาสู่เชิงพาณิชย์โดยความร่วมมือของประชาชนในชุมชนตำบลคุ้งกระถิน อ.เมือง จังหวัดราชบุรีและชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก
เจ้าของงานวิจัย เกษสุนีย์ บำรุงจิตต์ ชญานนท์ กุณฑลบุตร
หมวดหมู่ ผลิตภัณฑ์
Subject เส้นใยพืช
วันที่ตีพิมพ์ 2567
เอกสารประกอบ ดาวน์โหลด
จำนวนเข้าชม 10

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างชุมชนให้มีอาชีพและรายได้ที่มั่นคง ให้กับชุมชนมีความเข้มแข็งต่อไป กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนใน จำนวน 234 คน สุ่มอย่างง่ายตามตารางยามาเน่ และข้อมูลเชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณ์ผู้นำกลุ่มชุมชน ประชาชนในกลุ่มชุมชน จำนวน 20 คน คณะผู้วิจัยได้สอบถามให้ได้มาซึ่งความต้องการของผู้บริโภคและตรงตามความต้องการของผู้ประกอบการและท้องตลาด แล้วประเมินรูปแบบผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน โดยปราชญ์ชาวบ้านที่ร่วมแปรรูปผลิตภัณฑ์ให้เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน จำนวน 3 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ ผลิตภัณฑ์จากเส้นใยพืช ผ้าทอจากเส้นใยพืช จำนวน 3 ท่าน เพื่อประเมินความเหมาะสมของรูปแบบในการประยุกต์ เป็นผลิตภัณฑ์ จากนั้นสร้างต้นแบบแล้ว ประเมินผลวัดระดับความคิดเห็นของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์หัตถกรรม จากเส้นใยพืชที่มีในท้องถิ่นมาผสมผสานเส้นใยไหม เส้นใยฝ้าย ผสมผสานให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัยสวยงามได้มาตรฐาน สามารถออกแบบได้ตรงกับความต้องการของท้องตลาด ผู้บริโภค ตรงตามท้องตลาดและผู้ประกอบการต้องการรับซื้อ การดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณควบคู่กันโดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ แบบประเมินความพึงพอใจ เป็นเครื่องมือวิจัย เพื่อเก็บรวบรวม ข้อมูลพิจารณาความเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญและความพึงพอใจจากกลุ่มเป้าหมาย วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (SD) แปลผลในรูปความเรียง ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างในชุมชนกลุ่มสร้างผลิตภัณฑ์จากเส้นใยพืช อำเภอเมือง จังหวัดนครนายกและกลุ่มสร้างผลิตภัณฑ์ตำบลคุ้งกระถิน อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี คิดว่าพืชในท้องถิ่นนี้เหมาะสมกับการนำไปทำผลิตภัณฑ์ สามารถนำไปสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์การใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ มีความต้องการประยุกต์ใช้วัสดุอื่น ๆ ในท้องถิ่นร่วมประกอบ กับตัวผลิตภัณฑ์และเส้นใยจากกก ไหม ฝ้าย ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ที่มีต่อการประเมินรูปแบบผลิตภัณฑ์ หัตถกรรมจากเส้นใยพืช โดยรวมอยู่ในระดับมาก พบว่าผลิตภัณฑ์เหมาะสมกับการใช้งาน การออกแบบผลิตภัณฑ์มีความสวยงาม ลวดลายทันสมัย เป็นที่นิยม สามารถใช้สอยได้ มีความสะดวกสบายในการใช้ มีค่าเฉลี่ยระดับมาก ผลวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึกประชาชน ผู้นำชุมชน และปราชญ์ชาวบ้านทั้ง 2 จังหวัด มีดังนี้ 1) ต้องการสร้างอาชีพเสริม สร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้กับครอบครัว ชุมชน 2) ต้องการทุนงบประมาณสนับสนุนในการทำผลิตภัณฑ์จากหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานอื่น ๆ 3) ต้องการวิทยาการหรือผู้เชี่ยวชาญมาสอนฝึกอบรมการสร้างผลิตภัณฑ์แปลกใหม่ทันสมัยที่ตรงกับความต้องการของประชาชน ผู้บริโภค เพื่อการพัฒนาให้ได้มาตรฐานสู่เชิงพาณิชย์ 4) ต้องการสร้างผลิตภัณฑ์จากเส้นใยพืช เช่น แฝก ฝ้าย ไหม กก สับปะรด ให้มีความหลากหลายทันสมัยสวยงาม เป็นเครื่องใช้ต่าง ๆ เครื่องประดับ เครื่องอุปโภคบริโภค ที่ทันสมัยตรงกับความสนใจและต้องการของท้องตลาด 5) ต้องการสถานที่รับซื้อผลิตภัณฑ์ที่สร้างขึ้นอย่างต่อเนื่อง ข้อเสนอแนะ กลุ่มตัวอย่าง ต้องการผลิตภัณฑ์ที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน ที่ทันสมัยเป็นที่นิยมของท้องตลาดผู้ประกอบการ มีสถานที่รับซื้อผลิตภัณฑ์เป็นประจำต่อเนื่อง ต้องการได้ผู้เชี่ยวชาญเข้ามาพัฒนาบุคลากรในชุมชนให้มีความรู้เชี่ยวชาญด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเส้นใยพืชที่มีในท้องถิ่น ที่มีความรู้ความสามารถ ทำให้บุคลากรในชุมชนมีไหวพริบมีความถนัด จนสามารถได้รับความรู้จากวิทยากรได้รวดเร็ว และสามารถถ่ายทอดความรู้ให้คนในชุมชนได้ต่อไปจนรุ่นสู่รุ่น และต้องการให้รัฐบาล หน่วยงานต่าง ๆ ให้การสนับสนุนเรื่องงบประมาณ ต้นทุนการผลิต อุปกรณ์การผลิต ครุภัณฑ์ ที่เพียงพอสำหรับทำงานต้นแบบที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชนได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างอาชีพและรายได้ที่มั่งคง ยั่งยืนตลอดไป เพื่อพัฒนาและสามารถฝึกทักษะการพัฒนาการผลิตภัณฑ์ที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชนให้ได้มาตรฐาน ผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญและเป็นที่ยอมรับของท้องตลาดผู้ประกอบการ ด้านการตลาด สามารถเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายให้หลากหลาย ให้สะดวกรวดเร็วในการสั่งซื้อ เช่น ออนไลน์ เว็บไซต์ เฟสบุ๊ค ต้องการงบประมาณสนับสนุนในช่วงดำเนินการ ให้สามารถทำงานได้สำเร็จ และได้กำไร พอที่จะลงทุนการผลิตได้ด้วยตนเอง เพราะยังไม่เคยได้รับการสนับสนุน ขาดเงินงบประมาณในการดำเนินการต่อไปให้สำเร็จ การแก้ปัญหาต้องการให้ภาครัฐสนับสนุนงบประมาณดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และผู้ประกอบการร่วมมือกับชุมชน ช่วยจัดจำหน่ายขายผลิตภัณฑ์ให้กับชุมชนเป็นประจำ ความต้องการของผู้บริโภคและผู้รับซื้อทั้งปลีกและส่ง และมีความต้องการประยุกต์ใช้วัสดุอื่น ๆ ในท้องถิ่นร่วมแปรรูปผลิตภัณฑ์จาก เส้นใยจากกก ไหม ฝ้าย เพื่อให้มีความประณีต ละเอียดและมีความสวยงาม เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของชุมชน ให้มีอาชีพและรายได้ที่ยั่งยืนอย่างต่อเนื่องตลอดไป

APA

เกษสุนีย์ บำรุงจิตต์. ชญานนท์ กุณฑลบุตร. ( 2567 ). การแปรรูปผลิตภัณฑ์เส้นใยกก ไหม ฝ้าย ผักตบชวาสู่เชิงพาณิชย์โดยความร่วมมือของประชาชนในชุมชนตำบลคุ้งกระถิน อ.เมือง จังหวัดราชบุรีและชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

Chicago

เกษสุนีย์ บำรุงจิตต์. ชญานนท์ กุณฑลบุตร. การแปรรูปผลิตภัณฑ์เส้นใยกก ไหม ฝ้าย ผักตบชวาสู่เชิงพาณิชย์โดยความร่วมมือของประชาชนในชุมชนตำบลคุ้งกระถิน อ.เมือง จังหวัดราชบุรีและชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2567.

MLA

เกษสุนีย์ บำรุงจิตต์. ชญานนท์ กุณฑลบุตร. การแปรรูปผลิตภัณฑ์เส้นใยกก ไหม ฝ้าย ผักตบชวาสู่เชิงพาณิชย์โดยความร่วมมือของประชาชนในชุมชนตำบลคุ้งกระถิน อ.เมือง จังหวัดราชบุรีและชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2567.

Vancouver

เกษสุนีย์ บำรุงจิตต์. ชญานนท์ กุณฑลบุตร. การแปรรูปผลิตภัณฑ์เส้นใยกก ไหม ฝ้าย ผักตบชวาสู่เชิงพาณิชย์โดยความร่วมมือของประชาชนในชุมชนตำบลคุ้งกระถิน อ.เมือง จังหวัดราชบุรีและชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร; 2567.