จำนวนงานวิจัย ( 5 )

การสร้างทักษะแฟชั่นและการจัดการสินค้าด้วยสื่อการรู้ดิจิทัล
การสร้างทักษะแฟชั่นและการจัดการสินค้าด้วยสื่อการรู้ดิจิทัล

การสร้างทักษะแฟชั่นและการจัดการสินค้าด้วยสื่อการรู้ดิจิทัล มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างทักษะและจัดทำสื่อการรู้ดิจิทัลด้านแฟชั่นและการจัดการสินค้า และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ สื่อการรู้ดิจิทัลด้านแฟชั่นและการจัดการสินค้า โดยจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ความรู้ด้านแฟชั่น จัดทำแบบสอบถามแบบออนไลน์ วิเคราะห์ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามด้วยค่าสัมประสิทธิแอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.969 โพสต์ช่องทางการเข้าถึงแบบสอบถามในโซเชียลมีเดีย ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ ถึง เมษายน 2566 รวบรวมผลจากแบบสอบถาม ความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบสะดวกจากบุคคลทั่วไปที่ชมหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ความรู้ด้านแฟชั่น และมีความยินดีให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถาม แบบออนไลน์ จำนวน 40 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา สรุปผลดังนี้ การจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ความรู้ด้านแฟชั่น เป็นประเภทหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสอน ประกอบด้วยเนื้อหาตามกลุ่มทักษะที่สำคัญสำหรับการศึกษาด้านออกแบบแฟชั่นและการจัดการสินค้า 5 กลุ่ม คือ การออกแบบ ผ้าและการตัดเย็บ การสร้างสรรค์ลวดลายการนำเสนอผลงานแฟชั่น และการจัดการสินค้า ใช้โปรแกรม FlipHTML5 เพราะสะดวกต่อผู้เรียนในการใช้งานและการเข้าถึง ออกแบบโครงสร้างเนื้อหาแบบไม่เป็นเส้นตรงเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเลือก หรือข้าม หรือย้อนไปยังเนื้อหาที่ต้องการได้ ผลความพึงพอใจต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ความรู้ด้านแฟชั่น ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นกลุ่มตัวอย่างส่วนมากเป็นบุคคลภายนอกสาขาวิชาออกแบบแฟชั่นและการจัดการสินค้า (ร้อยละ 45.00) อาชีพนักเรียน/นักศึกษา (ร้อยละ 35.00) อายุระหว่าง 18-22 ปี (ร้อยละ 35.00) ทุกคนใช้โทรศัพท์มือถือเป็นเครื่องมือในการเข้าถึงแหล่งความรู้ในอินเทอร์เน็ต (ร้อยละ 100.00) และส่วนใหญ่เคยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (ร้อยละ 80.00) มีความพึงพอใจเฉลี่ยรวมในระดับพึงพอใจมากในด้านเนื้อหา (ค่าเฉลี่ย 4.40 ค่า S.D. 0.50) ด้านคุณภาพ (ค่าเฉลี่ย 4.48 ค่า S.D. 0.47) และมีความพึงพอใจมากที่สุดในด้านความพึงพอใจโดยภาพรวม (ค่าเฉลี่ย 4.51 และค่า S.D. 0.44) ผู้ตอบแบบสอบถามให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเพิ่มคลิปวิดีโอ หรือภาพเคลื่อนไหวในช่วงของงานปฏิบัติ สำหรับข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป คือ การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉพาะเรื่องที่ผู้สนใจสามารถนำไปประกอบอาชีพได้ รวมถึงการศึกษาความต้องการพัฒนาทักษะเดิม เพิ่มเติมทักษะใหม่ ของผู้ประกอบอาชีพหรือแรงงานในสาขาอาชีพต่าง ๆ เพื่อนำมากำหนดรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย

2565
การพัฒนาระบบฐานข้อมูลพันธุกรรมพืช และวัฒนธรรมพื้นถิ่น ของคณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
การพัฒนาระบบฐานข้อมูลพันธุกรรมพืช และวัฒนธรรมพื้นถิ่น ของคณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาระบบจัดเก็บข้อมูลพันธุกรรมพืช และ ข้อมูลวัฒนธรรมพื้นถิ่น ที่ได้จากการสารวจโดยคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร และ เพื่อสนองพระราชดาริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดาริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ซึ่งเป็นภารกิจที่สาคัญของมหาวิทยาลัยฯ ในการรวบรวมข้อมูลพันธุกรรมพืชที่หายาก และ รวบรวมข้อมูลวัฒธรรมพื้นที่ทรงคุณค่าไม่ให้สูญหาย กับทั้งเพื่อความสะดวกในการสืบค้นข้อมูล ระบบดังกล่าวถูกออกแบบให้สามารถจัดเก็บข้อมูล และ สืบค้นข้อมูลได้อย่างเป็นระบบ โดยที่การจัดเก็บข้อมูลแบ่งตามหัวข้อคือ ข้อมูลพื้นฐานของท้องถิ่น ข้อมูลการประกอบอาชีพ ข้อมูลด้านกายภาพ ข้อมูลประวัติหมู่บ้าน ชุมชน และวิถีชุมชน ข้อมูลการใช้ประโยชน์จากพืช ข้อมูลการใช้ประโยชน์จากสัตว์ ข้อมูลการใช้ประโยชน์ชีวภาพอื่นๆ ข้อมูลภูมิปัญญา ข้อมูลแหล่งทรัพยากร และ โบราณคดี ผลการประเมินระบบจาก นักศึกษา คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และ ประชาชนทั่วไป ที่ใช้งานระบบ แบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ ประสิทธิภาพของระบบได้ผลร้อยละ 4.34 จากคะแนนเต็ม 5 และ ความพึงพอใจ ได้ผลร้อยละ 4.51 จากคะแนนเต็ม 5

2566
ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพระบบบัญชีออนไลน์แบบคลาวด์ของวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (SMEs) ในประเทศไทย
ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพระบบบัญชีออนไลน์แบบคลาวด์ของวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (SMEs) ในประเทศไทย

ระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Accounting) ถือเป็นเป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศทางการบัญชีรูปแบบใหม่ โปรแกรมบัญชีบนคลาวด์เป็นผลมาจากการประมวลผลข้อมูลทางการบัญชีในรูปแบบดิจิดัลโดยเริ่มตั้งแต่จากระบบบัญชีรูปแบบเดิมไปยังโปรแกรมบัญชีบนคลาวด์ที่ทำให้การปฏิบัติงานด้านบัญชีมีความยึดหยุ่น และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น งานวิจัยทางด้านโปรแกรมบัญชีบนคลาวด์กลายเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจมากขึ้นในการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่ม ธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม (SMEs) ในประเทศไทย ดังนั้นการศึกษาในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุของประสิทธิภาพระบบบัญชีออนไลน์แบบคลาวด์ของธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมในประเทศไทย. โดยใช้วิธีเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามด้วยตนเองในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเจ้าของกิจการ ผู้บริหารจานวน 361 บริษัทในประเทศไทย จากผลการวิจัยนี้พบว่าการสนับสนุนผู้บริหารระดับสูงความสามารถขององค์กร คุณภาพการบริการ และคุณภาพของระบบ ส่งผลในเชิงบวกต่อการรับรู้ประโยชน์จากการใช้ และการรับรู้ความง่ายในการใช้งานของระบบบัญชีออนไลน์แบบคลาวด์ และการรับรู้ประโยชน์จากการใช้งาน และการรับรู้ความง่ายในการใช้งานส่งผลในเชิงบวกต่อความพึงพอใจจากการใช้ระบบบัญชีออนไลน์แบบคลาวด์ อีกทั้งความพึงพอใจจากการใช้ส่งผลในเชิงบวกต่อประสิทธิภาพจากการใช้ระบบบัญชีออนไลน์แบบ คลาวด์ในทางตรงกันข้ามยังพบว่าแรงกดดันจากสภาพแวดล้อมทางธุรกิจไม่มีส่งผลต่อการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน และการรับรู้ประโยชน์ในการใช้งานระบบ และการรับรู้ความง่ายในการใช้งานส่งผลในเชิงลบต่อการรับรู้ประโยชน์ในการใช้งานระบบบัญชีออนไลน์แบบคลาวด์ซึ่งมีความขัดแย้งกับงานวิจัยในอดีตเป็นส่วนใหญ่

2565
การเพิ่มประสิทธิภาพข้อมูลนักศึกษาด้วยแดชบอร์ดเชิงโต้ตอบ
การเพิ่มประสิทธิภาพข้อมูลนักศึกษาด้วยแดชบอร์ดเชิงโต้ตอบ

งานวิจัยนี้นำเสนอการพัฒนาแดชบอร์ดเชิงโต้ตอบข้อมูลนักศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครื่องมือบริการจัดการข้อมูลนักศึกษาในเชิงลึกของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ภายใต้หลักแนวคิดการขับเคลื่อนองค์กรด้วยข้อมูล งานวิจัยนี้ใช้ข้อมูลนักศึกษา 3 ข้อมูลหลักที่สนับสนุนระบบการประเมินคุณภาพการศึกษา ประกอบด้วย (1) ข้อมูลการสมัคร-รับไว้ (2) ข้อมูลนักศึกษาคงอยู่ และ (3) ข้อมูลการสำเร็จการศึกษา โดยนำเสนอในรูปแบบแดชบอร์ดเชิงโต้ตอบออนไลน์ เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาในครั้งนี้ ประกอบด้วย เครื่องมือมือจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบตาราง Google Sheet เครื่องมือนำเสนอข้อมูลด้วยภาพ Looker Studio ภาษาเขียนโปรแกรมภาษาไพธอนร่วมกับไลบรารี tabula-py เพื่อสกัดข้อมูลจากไฟล์ PDF และเครื่องมือแบบสอบถามออนไลน์ Google From เพื่อเก็บรวบรวมข้อความความพึงพอใจของผู้ใช้งาน ผลการวิจัยพบว่า แดชบอร์ดข้อมูลนักศึกษานำเสนอข้อมูลได้ตามขอบเขตของงานวิจัย สามารถสนับสนุนการเลือกดูข้อมูลจากผู้ใช้งานแบบอินเตอร์แอคทีฟได้ ในการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานจำนวน 60 ราย ประกอบด้วย ผู้บริหาร อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ประจำ และเจ้าหน้าที่ พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากสุดที่ค่าเฉลี่ย 4.56 นับว่าแดชบอร์ดข้อมูลนักศึกษาเป็นเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจในการบริหารจัดการเกี่ยวกับนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2566
การวิจัยและพัฒนาสื่อเทคโนโลยีสีเขียวกับระบบสารสนเทศ เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ในรูปแบบของเทคโนโลยีจักรวาลนฤมิต
การวิจัยและพัฒนาสื่อเทคโนโลยีสีเขียวกับระบบสารสนเทศ เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ในรูปแบบของเทคโนโลยีจักรวาลนฤมิต

เทคโนโลยีจักรวาลนฤมิต เป็นเทคโนโลยีที่สามารถช่วยจำลองให้เราไปอยู่ในสถานที่ต่าง ๆ ได้แม้จะนั่งอยู่กับที่ก็ตาม โดยอาศัยการเชื่อมต่อผ่านรูปแบบต่าง ๆ เช่น อินเทอร์เน็ต อุปกรณ์ สมาร์ทโฟน แอปพลิเคชัน และซอฟต์แวร์ ถือเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่กำลังปลุกกระแสเพื่อปูทางไปสู่โลกแห่งอนาคต และ การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบเทคโนโลยีจักรวาลนฤมิต ร่วมกับการ พัฒนาสื่อเทคโนโลยีสีเขียวกับระบบสารสนเทศเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ด้วยการใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง Virtual Reality (VR) ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เข้าสู่โลกเสมือนจริงที่ผู้เรียนไม่สามารถทำได้ในสภาพจริง อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ผลการวิจัยพบว่า ผลการประเมินคุณภาพซึ่งประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาและด้านสื่อ พบว่าสื่อเสมือนจริง วีอาร์ ด้านเนื้อหามีค่าเฉลี่ย 4.72 และ ด้านสื่อและวิธีการนำเสนอ มีค่าเฉลี่ย 4.53 คุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดีมาก

2566