จำนวนงานวิจัย ( 2 )

การจัดการความรู้ในการดูแลรักษาสุขภาพตามวิถีไทยด้วยสมุนไพรฟ้าทะลายโจรกรณีศึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านห้วยกระเจา-บ่อยา อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี
การจัดการความรู้ในการดูแลรักษาสุขภาพตามวิถีไทยด้วยสมุนไพรฟ้าทะลายโจรกรณีศึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านห้วยกระเจา-บ่อยา อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและสังเคราะห์ภูมิปัญญาไทยในการดูแลรักษาสุขภาพตามวิถีไทยในด้านต่าง ๆ 2) เพื่อศึกษากระบวนการ การจัดการความรู้ (Knowledge anagement) ภูมิปัญญาไทยของหมอพื้นบ้าน ในการดูแลรักษาสุขภาพ 3) เพื่อถ่ายทอดการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลรักษาสุขภาพด้วยฟ้าทะลายโจรตามวิถีชาวบ้านไปยังกลุ่มเป้าหมาย 4) เพื่อศึกษารูปแบบผลิตภัณฑ์สมุนไพรฟ้าทะลายโจรสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประชาชนในท้องถิ่น ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม (Mixed method research) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ และการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ประชากรที่อาศัยอยู่ในชุมชนบ้านห้วยกระเจา-บ่อยา อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่าง จานวน 90 คน ได้มาโดยการกำหนดจากการสุ่มแบบง่าย นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยสถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x̄) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยด้านการจัดการความรู้การแปรรูปผลิตภัณฑ์สมุนไพรฟ้าทะลายโจร โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x ̅= 4.73, S.D. = 0.281) ความยืดหยุ่นของกระบวนการศึกษาวิจัยในการปรับเปลี่ยนไปตามความสนใจของชุมชน เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การประยุกต์ใช้สมุนไพรได้อย่างมีประสิทธิผล ประชาชนในพื้นที่สามารถนาองค์ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการดูแลรักษาสุขภาพที่เหมาะกับสถานการณ์ของชุมชน เมื่อแยกเป็นรายด้านพบว่าการจัดการความรู้ด้านความเชื่อในครอบครัวมากที่สุด (x ̅= 4.80, S.D. = 0.402) ส่วนกระบวนการจัดการความรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅=4.92, S.D. = 0.246) พบว่า ประชาชนในพื้นที่สามารถนาองค์ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการดูแลรักษาสุขภาพที่เหมาะกับสถานการณ์ชุมชนมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการเรียนรู้จากสื่อออนไลน์มากที่สุด (x ̅= 4.94, S.D. = 0.230) การวิเคราะห์เชิงคุณภาพส่วนด้านการถ่ายทอดการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลรักษาสุขภาพด้วยฟ้าทะลายโจร โดยภาพรวมพบว่านำสมุนไพรฟ้าทะลายโจรมาแปรสภาพเป็น เม็ด ลูกกลอน แคปซูล ฯลฯ เพื่อใช้สะดวกมากขึ้น การวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าการดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพรฟ้าทะลายโจร ตามภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้น ต้องได้รับการแนะนำการใช้จากแพทย์แผนปัจจุบันด้วย เพราะไม่มีหนังสือรับรองหมอพื้นบ้าน

2565
นวัตกรรมสารสกัดน้ำหมักกระเทียมเคลือบกระดาษเช็ดมือเพื่อช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคปนเปื้อนบนผิวหนัง
นวัตกรรมสารสกัดน้ำหมักกระเทียมเคลือบกระดาษเช็ดมือเพื่อช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคปนเปื้อนบนผิวหนัง

งานวิจัยนี้ต้องการพัฒนาชุดคิทสารสกัดน้ำหมักกระเทียมเพื่อการสเปร์ยเคลือบกระดาษเช็ดมือ ด้วยหลักการใช้จุลินทรีย์กลุ่มโพรไบโอติกส์เพื่อสุขภาพ ที่คัดแยกจากโยเกิร์ตและคอมบูชาหมัก ด้วยน้ำหมักกระเทียมที่มีคุณสมบัติในการยับยั้งจุลินทรีย์ที่ก่อโรคเมื่อสกัดด้วยเอทานอลร้อยละ 80 แล้วกำจัดเอทานอลออกจนได้สารสกัดน้ำหมักกระเทียมและสารอินทรีย์ที่เกิดขึ้นในน้ำหมักกระเทียม มีประสิทธิภาพในการทำงานทั้งก่อนและหลังจากเคลือบบนกระดาษเช็ดมือ ในการยับยั้งจุลินทรีย์กลุ่มที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อทางผิวหนัง ก่อให้เกิดท้องเสีย และกำจัดเชื้อที่เป็นตัวบ่งบอกถึงความไม่สะอาด และก่อให้เกิดอาการไข้ในรูปของเชื้อที่ผสมกัน คือ เชื้อ Escherichia coli, Staphylococcus aureus และ Streptococcus faecalis โดยกระดาษเช็ดมือที่เคลือบด้วยสารสกัดกระเทียมหมักสามารถยับยั้งเชื้อก่อโรคทั้งสามชนิดได้ดี โดยส่งเสริมการลดลงอย่างน้อยร้อยละ 50 ของจำนวนแบคทีเรียดังกล่าวทั้งหมดด้วยวิธี Disk Agar Diffusion Method และ (MIC50 ในระยะเวลา 60 วัน) ทั้งยังส่งเสริมการเจริญเติบโตของกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หรือโพรไบโอติกส์ ให้ยังคงอยู่ด้วยวิธี Serial Dilution เมื่อนำกระดาษเช็ดมือดังกล่าวเก็บไว้ในภาชนะปิด แห้ง ไม่มีแสง สามารถเก็บที่อุณหภูมิห้องและที่อุณหภูมิเย็น 4oC ได้นานอย่างน้อย 60 วัน และนานมากกว่า 180 วัน ตามลำดับ ส่วนสารสกัดน้ำหมักกระเทียมที่ความเข้มข้นตั้งแต่ 20-200 mg/mL สามารถเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้องได้นานมากกว่า 6 เดือนหากน้ำหมักกระเทียมที่ได้มาจากการหมักในอาหารเหลวที่เติมนมสดร้อยละ 50 งานวิจัยที่ได้นี้ชี้ให้เห็นว่าชุดคิทสารสกัดน้ำหมักกระเทียมพร้อมการใช้งานเพื่อใช้ฉีดพ่นบนกระดาษเช็ดมือ มีศักยภาพและสามารถพัฒนาในเชิงพาณิชย์ระดับอุตสาหกรรม ทำให้ได้แนวทางการใช้สมุนไพรต่อยอดเพื่อการป้องกันการปนเปื้อนและแพร่กระจายของเชื้อโรค เป็นแนวทางหนึ่งของเทคโนโลยีสีเขียว ลดการใช้สารเคมีที่เป็นพิษอย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพในการยับยั้งจุลินทรีย์ ลดปัญหาของสิ่งแวดล้อมและอันตรายจากการใช้สารเคมี

2566