จำนวนงานวิจัย ( 4 )

การสร้างสื่อออนไลน์วิธีถอดลายผ้าทอจากตัวอย่างผ้าทอพื้นเมืองของจังหวัดสุรินทร์สู่การเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์
การสร้างสื่อออนไลน์วิธีถอดลายผ้าทอจากตัวอย่างผ้าทอพื้นเมืองของจังหวัดสุรินทร์สู่การเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างสื่อออนไลน์วิธีถอดลายผ้าทอจากตัวอย่างผ้าทอพื้นเมืองของจังหวัดสุรินทร์ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ระหว่างก่อนและหลังการใช้สื่อออนไลน์ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้สื่อออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอ คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จำนวน 20 คน ซึ่งได้มาจากวิธีแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ สื่อออนไลน์และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วยค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงปริมาณประกอบด้วย Independent Sample t-test ผลการวิจัยพบว่า สื่อออนไลน์วิธีถอดลายผ้าประกอบด้วยกราฟผ้าทอ 18 ลาย ได้แก่ ผ้าโฮลโกนกระอ็อบ ผ้าลายฉัตรทอง ผ้าลายกระแสร์มูย ผ้าลายกระแสร์ปีร์ ผ้าลายตร็อบจังกอม (มะเขือพวง) ผ้าโสร่ง ผ้าลายดอกพิกุล ผ้าลายติงลาดออบปวง 1 (ผีเสื้อกอดไข่ 1) ผ้าลายติงลาดออบปวง 2 (ผีเสื้อกอดไข่ 2) ผ้าลายสับปะรด ผ้าลายหัวเข็มขัด ผ้าลายนางสนม ผ้าลายผกามะออม ผ้ากลาสนัน (ร่างแห) ผ้าลายตะขอใหญ่ ผ้าลายพนมบ๊ะ ผ้าโฮลปันเตือด และผ้าลายพนมเป็ง การทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังใช้มีระดับความรู้สูงขึ้นกว่าการทดสอบก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 21 – 25 ปี พฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์วิธีถอดลายผ้าทอ 1 ชั่วโมง ต่อวัน ในช่วงเวลา 15.01 – 18.00 น. สถานที่ใช้สื่อออนไลน์มากที่สุดได้แก่ ในพื้นที่สถานศึกษา และใช้สื่อออนไลน์ผ่านโน๊ตบุ๊ค ความพึงพอใจของนักศึกษาสาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่มีต่อสื่อออนไลน์วิธีถอดลายผ้าทอจากตัวอย่างผ้าทอพื้นเมืองของจังหวัดสุรินทร์ โดยรวมอยู่ในระดับ มาก

2565
การพัฒนาเกมเพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ในรูปแบบ 3D เรื่อง “ITFD RMUTP HAPPY TOUR GAME”
การพัฒนาเกมเพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ในรูปแบบ 3D เรื่อง “ITFD RMUTP HAPPY TOUR GAME”

งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาเกมเพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ในรูปแบบ 3D เรื่อง “ITFD RMUTP HAPPY TOUR GAME” มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์และพัฒนารูปแบบการแนะแนวการศึกษาของคณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น ในการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในระดับชั้นปริญญาตรี เพื่อพัฒนารูปแบบเกมให้สอดคล้องกับความต้องการของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และเพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่มีต่อเกมตามแนวความคิดของ “ITFD RMUTP HAPPY TOUR GAME” การดำเนินงานวิจัยในครั้งนี้การวิจัยแบ่งวิธีการดำเนินงานได้ 3 ช่วงคือ ช่วงที่ 1 ทำการศึกษาข้อมูลทั่วไปที่เกี่ยวข้อง ช่วงที่ 2 พัฒนาและออกแบบรูปแบบเกม 3D เรื่อง ITFD RMUTP HAPPY TOUR GAME และ ช่วงที่ 3 ทำการทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างพร้อมประเมินความพึงพอใจ กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย จากการคัดเลือกแบบเจาะจงจำนวน 50 คน และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ 5 ด้านคือ ด้านผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ด้านผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านการรับรู้ คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น ด้านผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านความพึงพอใจที่มีต่อเกม “ITFD RMUTP HAPPY TOUR GAME” ด้านผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านการพัฒนาเกม “ITFD RMUTP HAPPY TOUR GAME” และด้านผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านประสิทธิผลของการแนะแนวการศึกษาผ่านเกม “ITFD RMUTP HAPPY TOUR GAME” ผลจากการศึกษาทั้ง 5 ด้านพบว่า นักเรียนกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีเหตุผลที่เลือกเล่นเกมเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน จำนวน 46 คน คิดเป็นร้อยละ 92.00 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่รู้จักคณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น จำนวน 43 คน คิดเป็นร้อยละ 86.00 กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.06 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.59 กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจที่มีต่อเกม “ITFD RMUTP HAPPY TOUR GAME” ในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.16 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.63 สิ่งที่ควรพัฒนาในเกม“ITFD RMUTP HAPPY TOUR GAME” เพื่อให้เกิดการรับรู้ในคณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่นมากขึ้นคืออุปกรณ์ประกอบฉาก จำนวน 38 คน คิดเป็นร้อยละ 76.00 การพัฒนานเกม “ITFD RMUTP HAPPY TOUR GAME” ให้เป็นรูปแบบออนไลน์ในอนาคต กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วย จำนวน 50 คน คิดเป็นร้อยละ 100.00 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการแนะแนวการศึกษาผ่านเกม “ITFD RMUTP HAPPY TOUR GAME” จำนวน 47 คน คิดเป็นร้อยละ 94.00 กลุ่มตัวอย่างมีความสนใจที่จะมาสมัครเข้าศึกษาต่อ คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.72 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.64

2565
การเสริมสร้างศักยภาพชุมชนด้วยทุนวัฒนธรรมร่วมสมัยเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากสำหรับวิสาหกิจชุมชน จังหวัดสุพรรณบุรี
การเสริมสร้างศักยภาพชุมชนด้วยทุนวัฒนธรรมร่วมสมัยเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากสำหรับวิสาหกิจชุมชน จังหวัดสุพรรณบุรี

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างศักยภาพชุมชนด้วยทุนวัฒนธรรมร่วมสมัย เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากสำหรับวิสาหกิจชุมชน จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อออกแบบและสร้างสรรค์ลวดลายสิ่งทอ ผลิตภัณฑ์จากผ้าทอพื้นถิ่น ด้วยทุนวัฒนธรรมร่วมสมัยผ่านกระบวนการทางวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยทุนวัฒนธรรมจังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อเพิ่มศักยภาพชุมชนและสมาชิกชุมชนและพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้กับผลิตภัณฑ์อย่างยั่งยืน และเพื่อเป็นแนวทางเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชน ด้วยทุนวัฒนธรรมร่วมสมัยสู่เชิงพาณิชย์ ชุดโครงการวิจัยนี้มีจำนวน 3 โครงการวิจัยย่อย ใช้วิธีการวิจัย แบบผสมผสาน คือ วิจัยเชิงพื้นที่และวิจัยประยุกต์ สามารถสรุปผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ได้ 3 ข้อดังนี้ 1. การเสริมสร้างศักยภาพชุมชนด้วยทุนวัฒนธรรมร่วมสมัยเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากสำหรับวิสาหกิจชุมชน จังหวัดสุพรรณบุรี ในกระบวนการวิจัยนี้นำทุนวัฒนธรรมตามอัตลักษณ์ชุมชนของจังหวัดสุพรรณบุรี แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มศิลปะ กลุ่มวัฒนธรรมอัตลักษณ์ กลุ่มภูมิปัญญาอัตลักษณ์ กลุ่มสิ่งทอ และกลุ่มบรรจุภัณฑ์ ใช้สัญญะของทุนวัฒนธรรมแสดงถึงความร่วมสมัยและเป็นอัตลักษณ์ชุมชน เพื่อเสริมสร้างศักยภาพชุมชน2. เพื่อออกแบบและสร้างสรรค์ลวดลายสิ่งทอ ผลิตภัณฑ์จากผ้าทอพื้นถิ่น ด้วยทุนวัฒนธรรม ร่วมสมัยผ่านกระบวนการทางวิจัย เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยทุนวัฒนธรรมจังหวัดสุพรรณบุรี ได้ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเสื้อผ้าสตรี เครื่องประกอบการแต่งกาย และผลงานจิตรกรรม ด้วยนวัตกรรมศิลปะและเทคโนโลยี กลุ่มผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์ด้วยใช้ผ้าขาวม้าลายตาโก้ 5 ประเภท คือ หมวก รองเท้า กระเป๋า เสื้อผ้าบุรุษ และเสื้อผ้าสตรี โดยใช้แนวโน้มแฟชั่น กลุ่มอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ต้นแบบ 3 ประเภท คือ ถุง 1 รูปแบบ กล่อง 2 รูปแบบ และฉลาก 2 รูปแบบ 3. เพื่อเพิ่มศักยภาพชุมชนและสมาชิกชุมชนและพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้กับผลิตภัณฑ์ อย่างยั่งยืน พบว่าลวดลายผลิตภัณฑ์สิ่งทอ สามารถสื่อถึงอัตลักษณ์อู่ทอง ผลิตภัณฑ์ต้นแบบสามารถใช้ เป็นต้นแบบให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่มีลวดลายและรูปแบบร่วมสมัย เพิ่มความหลากหลาย เป็นการช่วยส่งเสริมให้มีการนำลวดลายจากอัตลักษณ์ไปผลิตเป็นผืนผ้า และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อจำหน่าย ส่งผล ให้สมาชิกในชุมชนมีอาชีพที่มั่นคง มีรายได้เลี้ยงครอบครัว สร้างคุณค่าให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง ผลการสอบถามความพึงพอใจภาพรวม ดังนี้ 1. ด้านการออกแบบ ผลิตภัณฑ์ผลงานจิตรกรรม แบบที่ 1 ลวดลายอัตลักษณ์จากพวงมโหตร แบบที่ 2 ลวดลายอัตลักษณ์จากพวงมโหตร ผลิตภัณฑ์ เครื่องประกอบการแต่งกาย (กระเป๋า) แบบที่ 1 ลวดลายอัตลักษณ์จากธรรมจักรอู่ทอง แบบที่ 2 ลวดลาย อัตลักษณ์จากธรรมจักรอู่ทอง 2. ด้านการออกแบบสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์จากผ้าทอพื้นถิ่น มีความพึงพอใจระดับมากที่สุด และ 3. ด้านตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์

2565
การยกระดับวิสาหกิจชุมชนและส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าพื้นเมือง ตำบลหนองพันจันทร์ อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี
การยกระดับวิสาหกิจชุมชนและส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าพื้นเมือง ตำบลหนองพันจันทร์ อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการด้านรูปแบบสินค้าที่ระลึกจากผ้าทอพื้นเมือง ตำบลพันจันทร์ อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี 2) ศึกษากระบวนการพัฒนาสินค้าที่ระลึกจากผ้าทอพื้นเมืองให้มีเอกลักษณ์และมีรูปแบบสร้างสรรค์ ผลการวิจัย พบว่า การออกแบบผลิตภัณฑ์สินค้าที่ระลึกจากผ้าทอพื้นเมืองสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผ้าทอพื้นเมือง ตำบลพันจันทร์ อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี ผู้วิจัยได้ทำการออกแบบผลิตภัณฑ์สินค้าที่ระลึกจากผ้าทอพื้นเมือง จำนวน 3 ประเภท ได้แก่ กระเป๋า จำนวน 3 รูปแบบ ชุดภาพศิลปะ จำนวน 3 รูปแบบ และตุ๊กตา จำนวน 3 รูปแบบ จากนั้นทำการสำรวจความพึงพอใจ จากผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 100 คน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 65 ช่วงอายุ 30 – 39 ปี คิดเป็นร้อยละ 29 อาชีพธุรกิจส่วนตัว คิดเป็นร้อยละ 25 และมีรายได้ 20,001 – 30,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 30 ความพึงพอใจที่มีต่อการออกแบบผลิตภัณฑ์สินค้าที่ระลึกจากผ้าทอพื้นเมืองสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าทอพื้นเมือง ตำบลพัน จันทร์ อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี จำนวน 3 ประเภท ได้แก่ กระเป๋า จำนวน 3 รูปแบบ ชุดภาพศิลปะ จำนวน 3 รูปแบบ และตุ๊กตา จำนวน 3 รูปแบบ พบว่า มีความพึงพอใจด้านการออกแบบ ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านประโยชน์ใช้สอย อยู่ในระดับมากที่สุด ดังนี้ ออกแบบกระเป๋า รูปแบบที่ 1 มีค่าเฉลี่ยรวมทุกด้าน 4.70 ออกแบบชุดภาพศิลปะ รูปแบบที่ 3 มีค่าเฉลี่ยรวมทุกด้าน 4.66 และออกแบบตุ๊กตา รูปแบบที่ 2 มีค่าเฉลี่ยรวมทุกด้าน 4.65 นำผลการสำรวจความพึงพอใจที่มีต่อการออกแบบผลิตภัณฑ์สินค้าที่ระลึกจากผ้าทอพื้นเมืองสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าทอพื้นเมือง ตำบลพันจันทร์ อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี จำนวน 3 รูปแบบ ที่ได้คะแนนมากที่สุด นำมาสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์สินค้าที่ระลึกจากผ้าทอพื้นเมืองสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าทอพื้นเมือง ตำบลพันจันทร์ อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี จำนวน 3 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ กระเป๋า ชุดภาพศิลปะ และตุ๊กตา จากนั้นทำการสำรวจความพึงพอใจที่มีต่อต้นแบบผลิตภัณฑ์ จากผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 100 คน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 63 ช่วง อายุ 30 – 39 ปี คิดเป็นร้อยละ 32 อาชีพรับราชการ คิดเป็นร้อยละ 23 และมีรายได้ 20,001 – 30,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 30 ความพึงพอใจที่มีต่อต้นออกแบบผลิตภัณฑ์สินค้าที่ระลึกจากผ้าทอพื้นเมืองสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าทอพื้นเมือง ตำบลพันจันทร์ อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี จำนวน 3 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ กระเป๋า ชุดภาพศิลปะ และตุ๊กตา พบว่า มีความพึงพอใจ ด้านการออกแบบ ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านประโยชน์ใช้สอย อยู่ในระดับมากที่สุด ดังนี้ ต้นแบบ กระเป๋า มีค่าเฉลี่ยรวมทุกด้าน 4.75 ต้นแบบชุดภาพศิลปะ มีค่าเฉลี่ยรวมทุกด้าน 4.73 และต้นแบบ ตุ๊กตา มีค่าเฉลี่ยรวมทุกด้าน 4.76 ทั้งนี้ได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ต้นแบบสินค้าที่ระลึกจากผ้าทอพื้นเมือง สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผา้ ทอพื้นเมือง ตำบลพันจันทร์ อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี ที่ได้จากการ วิจัยครั้งนี้ ให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าทอพื้นเมือง ตำบลพันจันทร์ อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี สามารถตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มฯ ได้เป็นอย่างดี มีความสวยงาม ทันสมัย และทันเหตุการณ์ ในปัจจุบัน สามารถทำการผลิตผลิตภัณฑ์ดังกล่าวออกจำหน่ายสู่ท้องตลาดได้ สามารถนำไปสร้าง มูลค่าเพิ่มให้กับผ้าทอพื้นเมือง ได้สินค้าที่ระลึกประจำกลุ่ม เพื่อให้กลุ่มมีสินค้าที่ระลึกที่มีเอกลักษณ์มี จุดขาย อีกทั้งสามารถกระตุ้นการพัฒนาสินค้าในระดับชุมชนท้องถิ่นให้สามารถแข่งขันกับผู้ผลิตราย อื่นได้ ด้วยหลักของการพัฒนาและช่วยพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนให้มีความเข้มแข็ง

2565