จำนวนงานวิจัย ( 8 )

ต้นแบบระบบตรวจสอบการปนเปื้อนในเมล็ดข้าวแบบอัจฉริยะบนแพลตฟอร์มซีร่าคอร์
ต้นแบบระบบตรวจสอบการปนเปื้อนในเมล็ดข้าวแบบอัจฉริยะบนแพลตฟอร์มซีร่าคอร์

คณะผู้วิจัยได้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ของแพลตฟอร์มซีร่าคอร์ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับภาคอุตสาหกรรมในท้องถิ่น พบว่าสามารถนำซีร่าคอร์มาเป็นแพลตฟอร์มหลักในการพัฒนาระบบสนับสนุนกระบวนผลิตได้ โดยเฉพาะในด้านการแปรรูปข้าวเปลือกโดยการสีข้าวผ่านโรงสี ปรากฏว่ามีขั้นตอนคัดแยกสิ่งปนเปื้อนออกจากเมล็ดข้าวที่แปรรูปออกมาเสร็จแล้ว ยังต้องการเทคโนโลยีสนับสนุนเพื่อให้การคัดแยกได้รับความสะดวกและคุณภาพมากขึ้น คณะผู้วิจัยจึงนำแนวคิดนี้มาจัดทำงานวิจัยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างระบบตรวจสอบการปนเปื้อนของเมล็ดข้าวด้วยหลักการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกโดยแพลตฟอร์มซีร่าคอร์ หลักการทำงานของระบบเริ่มต้นจากตรวจสอบเมล็ดข้าวและประมวลผลภาพผ่านกล้องเว็บแคมด้วยแพลตฟอร์มซีร่าคอร์ เมื่อระบบสามารถตรวจสอบเมล็ดข้าวได้แล้วจะจับภาพหน้าจอที่ระบบตรวจสอบได้ ส่งผลไปยังแอพพลิเคชันไลน์เพื่อผู้ใช้ดูผลลัพธ์ในของการตรวจสอบได้ ซึ่งผลการประเมินความพึงพอใจจากผู้ใช้งานระบบพบว่าอยู่ในระดับดี ดังนั้นผลการศึกษาและวิจัยนี้สามารถใช้เป็นระบบต้นแบบของการนำแพลตฟอร์มซีร่าคอร์มาประยุกต์ใช้งาน และเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาในขั้นตอนการคัดแยกสิ่งปนเปื้อนในกระบวนการผลิตได้ รวมถึงเป็นแนวทางการพัฒนาและต่อยอดในภาคอุตสาหกรรมได้ในอนาคต

2566
การพัฒนาแอปพลิเคชันระบบติดตามการปลูกพืชเศรษกิจ พื้นที่เกษตรผสมผสาน หมู่บ้านน้ำทรัพย์ อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี
การพัฒนาแอปพลิเคชันระบบติดตามการปลูกพืชเศรษกิจ พื้นที่เกษตรผสมผสาน หมู่บ้านน้ำทรัพย์ อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี

งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาแอปพลิเคชันระบบติดตามการปลูกพืชเศรษกิจ พื้นที่เกษตรผสมผสาน หมู่บ้านน้ำทรัพย์ อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันระบบติดตามการปลูกพืชเศรษกิจ ในพื้นที่ทำการเกษตรผสมผสาน และเพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อแอปพลิเคชันระบบติดตามการปลูกพืชเศรษกิจ ในพื้นที่ทำการเกษตรผสมผสาน หมู่บ้านน้ำทรัพย์ กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง จำนวน 30 คน ทำการวิเคราะหืและออกแบบระบบ โดยการพัฒนาแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน ด้วยโปรแกรม AppSheet และใช้ Google Sheet เป็นฐานข้อมูลหลักทำการทดลองกับการปลูกกล้วยหอมทอง ผลการวิจัยพบว่า แอปพลิเคชันที่สร้างขึ้น ใช้งานง่ายผ่านระบบสมาร์โฟน สามารถแจ้งเตือนกำหนดการต่างๆ ในการปลูกพืช และแจ้งเตือนผ่านระบบ LINE Notify ผลการประเมินประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน อยู่ในระดับมากที่สุด ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อแอปพลิเคชันระบบติดตามการปลูกพืชเศรษฐกิจ พื้นที่เกษตรผสมผสาน หมู่บ้านน้ำทรัพย์ อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี อยู่ในระดับมากที่สุด แอปพลิเคชันที่สร้างขึ้นสามารถนำไปใช้ได้

2566
การพัฒนาเครื่องต้นแบบปัญญาประดิษฐ์สาหรับคัดแยกขยะรีไซเคิลอย่างยั่งยืนด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน
การพัฒนาเครื่องต้นแบบปัญญาประดิษฐ์สาหรับคัดแยกขยะรีไซเคิลอย่างยั่งยืนด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน

การพัฒนาเครื่องต้นแบบปัญญาประดิษฐ์สำหรับคัดแยกขยะรีไซเคิลอย่างยั่งยืนด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์สำหรับพัฒนาต้นแบบเครื่องคัดแยกขยะรีไซเคิล เพื่อนำต้นแบบเครื่องคัดแยกขยะรีไซเคิลไปใช้ภายในคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อการถ่ายทอดองค์ความรู้จากการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะรีไซเคิลให้กับสถานศึกษา โดยการพัฒนาเครื่องต้นแบบปัญญาประดิษฐ์สำหรับจัดการขยะรีไซเคิลอย่างยั่งยืนด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน การวิจัยนี้เป็นตอบสนองนโยบายรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการและการจัดการ Zero Waste to Landfill ส่งเสริมการคัดแยกขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทาง เพื่อให้สะดวกต่อการนำไปใช้ประโยชน์ รวมถึงรองรับนโยบายของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ต้องการพัฒนาทางด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย (Green & Clean Faculty) เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการส่งเสริมการจัดทำสำนักงานสีเขียว (Green Office) โดยการออกแบบเครื่องต้นแบบที่มีขนาดความกว้างเท่ากับ 78เซนติเมตร ความยาวเท่ากับ 112 เซนติเมตร และความสูง เท่ากับ 153 เซนติเมตร นำเทคนิคการถ่ายโอนการเรียนรู้จาก โครงข่ายประสาทเทียมแบบ VGG16 มาพัฒนาเพื่อให้ได้โมเดลที่เหมาะสมสำหรับการคัดแยกขยะรีไซเคิล ใช้ Microcontroller ARM Cortex-A72 ในการควบคุมการทำงาน ผลการทดสอบ การทำนายการคัดแยกขยะรีไซเคิลของโมเดลที่พัฒนาขึ้นมีความถูกต้อง ร้อยละ 89.33 และการทดสอบการทำงานของระบบของเครื่องต้นแบบสามารถทางานตามขอบเขตที่กำหนด โดยสามารถคัดแยกประเภทของขยะรีไซเคิลได้ตามวัตถุประสงค์

2566
การฟื้นฟูเศรษฐกิจและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนจากภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยนวัตกรรม และเทคโนโลยีดิจิทัลสู่ความยั่งยืนสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดเพชรบุรี
การฟื้นฟูเศรษฐกิจและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนจากภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยนวัตกรรม และเทคโนโลยีดิจิทัลสู่ความยั่งยืนสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดเพชรบุรี

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนจากภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลสู่ความยั่งยืนสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดเพชรบุรี เพื่อเพิ่มศักยภาพชุมชนและสมาชิกชุมชนและเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์อย่างยั่งยืน เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องแต่งกายของกลุ่มเป้าหมาย และเพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาห่วงโซ่ผลิตภัณฑ์สิ่งทออย่างยั่งยืน ชุดโครงการวิจัยนี้มีจำนวน 3 โครงการวิจัยย่อย ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน คือ วิจัยเชิงคุณภาพ วิจัยเชิงพื้นที่ และวิจัยประยุกต์ สามารถสรุปผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ได้ 3 ข้อดังนี้ สรุปผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ได้ 3 ข้อดังนี้ 1. เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนจากภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลสู่ความยั่งยืนสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดเพชรบุรี ในกระบวนการวิจัยนี้พัฒนา ผลิตภัณฑ์ชุมชนจากภูมิปัญญาท้องถิ่นได้ 3 ด้าน ดังนี้ 1. ด้านสิ่งทอด้วยนวัตกรรมการพิมพ์ 2. ด้านผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกาย 3. ด้านการตลาดออนไลน์ ซึ่งทั้ง 3 ด้านสามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนได้ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล 2. เพื่อเพิ่มศักยภาพชุมชนและสมาชิกชุมชนและเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชนจากภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน สามารถเพิ่มศักยภาพและเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชนได้ ดังนี้ 1.การสร้างลวดลายบนสิ่งทอเส้นใยป่านศรนารายณ์ และเส้นใยป่านศรนารายณ์ผสมฝ้าย และสร้างทางเลือกให้กับชุมชนได้ต่อยอดความรู้สู่ผลิตภัณฑ์ชุมชน 2.ผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกาย จำนวน 4 ประเภท คือ ชุดสตรี รองเท้า กระเป๋า หมวก หมวก และ 3.สร้างกลยุทธ์โดยใช้การวิเคราะห์ TOWS Matrix ออกมาเป็น 2 กลยุทธ์ คือ กลยุทธ์ที่ 1 กลยุทธ์ภาพลักษณ์ตราผลิตภัณฑ์เพื่อประชาสัมพันธ์และการโฆษณาในสื่อสังคมออนไลน์เชิงพาณิชย์ และกลยุทธ์ที่ 2 กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์ลูกค้าในสื่อสังคมออนไลน์เชิงพาณิชย์สำหรับวิสาหกิจชุมชนยุคดิจิทัล ซึ่งส่งผลให้ชุมชนมีสื่อประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่สนใจได้รู้จักมากขึ้น เป็นช่องทางสร้างรายได้ที่ดีทางหนึ่ง 3. เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องแต่งกายของกลุ่มเป้าหมาย สามารถพัฒนาได้ 2 กลุ่มผลิตภัณฑ์ คือ 1. การสิ่งทอเส้นใยป่านศรนารายณ์ และเส้นใยป่านศรนารายณ์ผสมฝ้าย และ ผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกาย จำนวน 4 ประเภท คือ ชุดสตรี รองเท้า กระเป๋า หมวก เมื่อศึกษาความพึงพอใจจากผู้ตอบแบบสอบถามพบว่า โดยรวมมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด4. เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาห่วงโซ่ผลิตภัณฑ์สิ่งทออย่างยั่งยืน จากการวิจัยทั้ง 3 กิจกรรมย่อย สามารถสรุปได้ว่า วิสาหกิจชุมชนหุบกะพง จังหวัดเพชรบุรี และวิสาหกิจชุมชนอื่นๆ ในจังหวัดเพชรบุรี สามารถนำกระบวนการวิจัยนี้ไปพัฒนาต่อยอด สร้างแนวทางการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มชุมชนได้ เพื่อให้เกิดกลุ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ และมีมูลค่ามากขึ้นจากจากภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล

2565
แอปพลิเคชันส่งข้อความแจ้งเตือนนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร RMUTP SMART CARE
แอปพลิเคชันส่งข้อความแจ้งเตือนนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร RMUTP SMART CARE

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาแอปพลิเคชันส่งข้อความแจ้งเตือนนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร RMUTP SMART CARE และ (2) ศึกษาความพึงพอใจต่อแอปพลิเคชันส่งข้อความแจ้งเตือนนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร RMUTP SMART CARE ซึ่งเป็นการวิจัยและพัฒนาแอปพลิเคชันส่งข้อความแจ้งเตือนนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร RMUTP SMART CARE และใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครจำนวน 100คน และสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (𝑥̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า(1) การพัฒนาแอปพลิเคชันส่งข้อความแจ้งเตือนนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร RMUTP SMART CARE RMUTP Smart Care ใช้สำหรับแจ้งข้อมูลข่าวสารและกิจกรรมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยให้กับนักศึกษาทราบผ่านแอปพลิเคชันไลน์ และ (2) นักศึกษามีความพึงต่อแอปพลิเคชันส่งข้อความแจ้งเตือนนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร อยู่ในระดับมาก

2565