การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนจากภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลสู่ความยั่งยืนสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดเพชรบุรี เพื่อเพิ่มศักยภาพชุมชนและสมาชิกชุมชนและเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์อย่างยั่งยืน เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องแต่งกายของกลุ่มเป้าหมาย และเพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาห่วงโซ่ผลิตภัณฑ์สิ่งทออย่างยั่งยืน ชุดโครงการวิจัยนี้มีจำนวน 3 โครงการวิจัยย่อย ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน คือ วิจัยเชิงคุณภาพ วิจัยเชิงพื้นที่ และวิจัยประยุกต์ สามารถสรุปผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ได้ 3 ข้อดังนี้ สรุปผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ได้ 3 ข้อดังนี้ 1. เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนจากภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลสู่ความยั่งยืนสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดเพชรบุรี ในกระบวนการวิจัยนี้พัฒนา ผลิตภัณฑ์ชุมชนจากภูมิปัญญาท้องถิ่นได้ 3 ด้าน ดังนี้ 1. ด้านสิ่งทอด้วยนวัตกรรมการพิมพ์ 2. ด้านผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกาย 3. ด้านการตลาดออนไลน์ ซึ่งทั้ง 3 ด้านสามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนได้ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล 2. เพื่อเพิ่มศักยภาพชุมชนและสมาชิกชุมชนและเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชนจากภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน สามารถเพิ่มศักยภาพและเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชนได้ ดังนี้ 1.การสร้างลวดลายบนสิ่งทอเส้นใยป่านศรนารายณ์ และเส้นใยป่านศรนารายณ์ผสมฝ้าย และสร้างทางเลือกให้กับชุมชนได้ต่อยอดความรู้สู่ผลิตภัณฑ์ชุมชน 2.ผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกาย จำนวน 4 ประเภท คือ ชุดสตรี รองเท้า กระเป๋า หมวก หมวก และ 3.สร้างกลยุทธ์โดยใช้การวิเคราะห์ TOWS Matrix ออกมาเป็น 2 กลยุทธ์ คือ กลยุทธ์ที่ 1 กลยุทธ์ภาพลักษณ์ตราผลิตภัณฑ์เพื่อประชาสัมพันธ์และการโฆษณาในสื่อสังคมออนไลน์เชิงพาณิชย์ และกลยุทธ์ที่ 2 กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์ลูกค้าในสื่อสังคมออนไลน์เชิงพาณิชย์สำหรับวิสาหกิจชุมชนยุคดิจิทัล ซึ่งส่งผลให้ชุมชนมีสื่อประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่สนใจได้รู้จักมากขึ้น เป็นช่องทางสร้างรายได้ที่ดีทางหนึ่ง 3. เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องแต่งกายของกลุ่มเป้าหมาย สามารถพัฒนาได้ 2 กลุ่มผลิตภัณฑ์ คือ 1. การสิ่งทอเส้นใยป่านศรนารายณ์ และเส้นใยป่านศรนารายณ์ผสมฝ้าย และ ผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกาย จำนวน 4 ประเภท คือ ชุดสตรี รองเท้า กระเป๋า หมวก เมื่อศึกษาความพึงพอใจจากผู้ตอบแบบสอบถามพบว่า โดยรวมมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด4. เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาห่วงโซ่ผลิตภัณฑ์สิ่งทออย่างยั่งยืน จากการวิจัยทั้ง 3 กิจกรรมย่อย สามารถสรุปได้ว่า วิสาหกิจชุมชนหุบกะพง จังหวัดเพชรบุรี และวิสาหกิจชุมชนอื่นๆ ในจังหวัดเพชรบุรี สามารถนำกระบวนการวิจัยนี้ไปพัฒนาต่อยอด สร้างแนวทางการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มชุมชนได้ เพื่อให้เกิดกลุ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ และมีมูลค่ามากขึ้นจากจากภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล