จำนวนงานวิจัย ( 3 )

การพัฒนาเกมเพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ในรูปแบบ 3D เรื่อง “ITFD RMUTP HAPPY TOUR GAME”
งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาเกมเพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ในรูปแบบ 3D เรื่อง “ITFD RMUTP HAPPY TOUR GAME” มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์และพัฒนารูปแบบการแนะแนวการศึกษาของคณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น ในการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในระดับชั้นปริญญาตรี เพื่อพัฒนารูปแบบเกมให้สอดคล้องกับความต้องการของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และเพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่มีต่อเกมตามแนวความคิดของ “ITFD RMUTP HAPPY TOUR GAME” การดำเนินงานวิจัยในครั้งนี้การวิจัยแบ่งวิธีการดำเนินงานได้ 3 ช่วงคือ ช่วงที่ 1 ทำการศึกษาข้อมูลทั่วไปที่เกี่ยวข้อง ช่วงที่ 2 พัฒนาและออกแบบรูปแบบเกม 3D เรื่อง ITFD RMUTP HAPPY TOUR GAME และ ช่วงที่ 3 ทำการทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างพร้อมประเมินความพึงพอใจ กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย จากการคัดเลือกแบบเจาะจงจำนวน 50 คน และทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ 5 ด้านคือ ด้านผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ด้านผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านการรับรู้ คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น ด้านผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านความพึงพอใจที่มีต่อเกม “ITFD RMUTP HAPPY TOUR GAME” ด้านผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านการพัฒนาเกม “ITFD RMUTP HAPPY TOUR GAME” และด้านผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านประสิทธิผลของการแนะแนวการศึกษาผ่านเกม “ITFD RMUTP HAPPY TOUR GAME” ผลจากการศึกษาทั้ง 5 ด้านพบว่า นักเรียนกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีเหตุผลที่เลือกเล่นเกมเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน จำนวน 46 คน คิดเป็นร้อยละ 92.00 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่รู้จักคณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น จำนวน 43 คน คิดเป็นร้อยละ 86.00 กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.06 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.59 กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจที่มีต่อเกม “ITFD RMUTP HAPPY TOUR GAME” ในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.16 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.63 สิ่งที่ควรพัฒนาในเกม“ITFD RMUTP HAPPY TOUR GAME” เพื่อให้เกิดการรับรู้ในคณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่นมากขึ้นคืออุปกรณ์ประกอบฉาก จำนวน 38 คน คิดเป็นร้อยละ 76.00 การพัฒนานเกม “ITFD RMUTP HAPPY TOUR GAME” ให้เป็นรูปแบบออนไลน์ในอนาคต กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วย จำนวน 50 คน คิดเป็นร้อยละ 100.00 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการแนะแนวการศึกษาผ่านเกม “ITFD RMUTP HAPPY TOUR GAME” จำนวน 47 คน คิดเป็นร้อยละ 94.00 กลุ่มตัวอย่างมีความสนใจที่จะมาสมัครเข้าศึกษาต่อ คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.72 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.64

การเสริมสร้างศักยภาพชุมชนด้วยทุนวัฒนธรรมร่วมสมัยเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากสำหรับวิสาหกิจชุมชน จังหวัดสุพรรณบุรี
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างศักยภาพชุมชนด้วยทุนวัฒนธรรมร่วมสมัย เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากสำหรับวิสาหกิจชุมชน จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อออกแบบและสร้างสรรค์ลวดลายสิ่งทอ ผลิตภัณฑ์จากผ้าทอพื้นถิ่น ด้วยทุนวัฒนธรรมร่วมสมัยผ่านกระบวนการทางวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยทุนวัฒนธรรมจังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อเพิ่มศักยภาพชุมชนและสมาชิกชุมชนและพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้กับผลิตภัณฑ์อย่างยั่งยืน และเพื่อเป็นแนวทางเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชน ด้วยทุนวัฒนธรรมร่วมสมัยสู่เชิงพาณิชย์ ชุดโครงการวิจัยนี้มีจำนวน 3 โครงการวิจัยย่อย ใช้วิธีการวิจัย แบบผสมผสาน คือ วิจัยเชิงพื้นที่และวิจัยประยุกต์ สามารถสรุปผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ได้ 3 ข้อดังนี้ 1. การเสริมสร้างศักยภาพชุมชนด้วยทุนวัฒนธรรมร่วมสมัยเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากสำหรับวิสาหกิจชุมชน จังหวัดสุพรรณบุรี ในกระบวนการวิจัยนี้นำทุนวัฒนธรรมตามอัตลักษณ์ชุมชนของจังหวัดสุพรรณบุรี แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มศิลปะ กลุ่มวัฒนธรรมอัตลักษณ์ กลุ่มภูมิปัญญาอัตลักษณ์ กลุ่มสิ่งทอ และกลุ่มบรรจุภัณฑ์ ใช้สัญญะของทุนวัฒนธรรมแสดงถึงความร่วมสมัยและเป็นอัตลักษณ์ชุมชน เพื่อเสริมสร้างศักยภาพชุมชน2. เพื่อออกแบบและสร้างสรรค์ลวดลายสิ่งทอ ผลิตภัณฑ์จากผ้าทอพื้นถิ่น ด้วยทุนวัฒนธรรม ร่วมสมัยผ่านกระบวนการทางวิจัย เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยทุนวัฒนธรรมจังหวัดสุพรรณบุรี ได้ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเสื้อผ้าสตรี เครื่องประกอบการแต่งกาย และผลงานจิตรกรรม ด้วยนวัตกรรมศิลปะและเทคโนโลยี กลุ่มผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์ด้วยใช้ผ้าขาวม้าลายตาโก้ 5 ประเภท คือ หมวก รองเท้า กระเป๋า เสื้อผ้าบุรุษ และเสื้อผ้าสตรี โดยใช้แนวโน้มแฟชั่น กลุ่มอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ต้นแบบ 3 ประเภท คือ ถุง 1 รูปแบบ กล่อง 2 รูปแบบ และฉลาก 2 รูปแบบ 3. เพื่อเพิ่มศักยภาพชุมชนและสมาชิกชุมชนและพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้กับผลิตภัณฑ์ อย่างยั่งยืน พบว่าลวดลายผลิตภัณฑ์สิ่งทอ สามารถสื่อถึงอัตลักษณ์อู่ทอง ผลิตภัณฑ์ต้นแบบสามารถใช้ เป็นต้นแบบให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่มีลวดลายและรูปแบบร่วมสมัย เพิ่มความหลากหลาย เป็นการช่วยส่งเสริมให้มีการนำลวดลายจากอัตลักษณ์ไปผลิตเป็นผืนผ้า และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อจำหน่าย ส่งผล ให้สมาชิกในชุมชนมีอาชีพที่มั่นคง มีรายได้เลี้ยงครอบครัว สร้างคุณค่าให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง ผลการสอบถามความพึงพอใจภาพรวม ดังนี้ 1. ด้านการออกแบบ ผลิตภัณฑ์ผลงานจิตรกรรม แบบที่ 1 ลวดลายอัตลักษณ์จากพวงมโหตร แบบที่ 2 ลวดลายอัตลักษณ์จากพวงมโหตร ผลิตภัณฑ์ เครื่องประกอบการแต่งกาย (กระเป๋า) แบบที่ 1 ลวดลายอัตลักษณ์จากธรรมจักรอู่ทอง แบบที่ 2 ลวดลาย อัตลักษณ์จากธรรมจักรอู่ทอง 2. ด้านการออกแบบสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์จากผ้าทอพื้นถิ่น มีความพึงพอใจระดับมากที่สุด และ 3. ด้านตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบจากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเพิ่มรายได้เชิงพาณิชย์ของชุมชนลำบัวลอย อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก
เพื่อสร้างชุมชนให้มีความเข้มแข็งต่อไป กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนในตำบลลำบัวลอย อำเภอ ปากพลี จังหวัดนครนายก จำนวนกลุ่มตัวอย่างในชุมชนลำบัวลอย จำนวน 260 คน สุ่มอย่างง่ายตามตาราง ยามาเน่ คณะผู้วิจัยได้สอบถามให้ได้มาซึ่งความต้องการของผู้บริโภคและตรงตามความต้องการของผู้ประกอบการและท้องตลาด แล้วประเมินรูปแบบผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน โดยปราชญ์ชาวบ้านที่ร่วมแปรรูปผลิตภัณฑ์ให้เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน จำนวน 3 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ ผลิตภัณฑ์จากเส้นใยพืช ผ้าทอจากเส้นใยพืช จำนวน 3 ท่าน เพื่อประเมินความเหมาะสมของรูปแบบในการประยุกต์ เป็นผลิตภัณฑ์ จากนั้นสร้างต้นแบบแล้ว ประเมินผลวัดระดับความคิดเห็นของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์หัตถกรรม จากเส้นใยพืชที่มีในท้องถิ่นนมาผสมผสานเส้นใยไหม เส้นใยฝ้าย ผสมผสานให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัยสวยงามได้มาตรฐาน สามารถออกแบบได้ตรงกับความต้องการของท้องตลาด ผู้บริโภค ตรงตามท้องตลาดและผู้ประกอบการต้องการรับซื้อ การดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณควบคู่กันโดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ แบบประเมินความพึงพอใจ เป็นเครื่องมือวิจัย เพื่อเก็บรวบรวม ข้อมูลพิจารณาความเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญและความพึงพอใจจากกลุ่มเป้าหมาย วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (SD) แปลผลในรูปความเรียง ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนในชุมชนตำบลลำบัวลอย อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก มีความคิดเห็นกับผลิตภัณฑ์เดิมยังไม่ทันสมัยและมีความต้องการ ผลิตภัณฑ์จากเส้นใยพืชที่มีในท้องถิ่น เส้นใยกก ผสมเส้นใยไหมผสมผสานเส้นใยอื่น ๆ ที่มีความเหมาะสม จนแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่สวยงามทันสมัย ได้มาตรฐาน เช่น กระเป๋าถือของสตรี กระเป๋าสะพายของสุภาพสตรี หลากหลายรูปแบบ มีความต้องการผลิตภัณฑ์ที่มีรูปแบบสวยงาม มีเอกลักษณ์เด่นของชุมชน มากที่สุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และมีราคาที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ ส่วนปัญหาการผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่ของชุมชน โดยรวม อยู่ในระดับมาก ไม่มีองค์กรสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ปราชญ์ชาวบ้าน และผู้ประกอบการ ได้มีการประเมินรูปแบบผลิตภัณฑ์ หัตถกรรมจากเส้นใยพืช โดยรวมอยู่ในระดับมาก พบว่า ผลิตภัณฑ์มีความสวยงาม ลวดลาย สามารถใช้สอยได้ มีความสะดวกสบายในการใช้ เพื่อพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์ได้ ข้อเสนอแนะ ต้องการผลิตภัณฑ์ที่มีความทันสมัย มีความเป็นอัตลักษณ์ของชุมชน แตกต่างจากผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในท้องถิ่นและต้องการผู้เชี่ยวชาญ การพัฒนาบุคลากรในชุมชนให้มีความรู้เชี่ยวชาญ ด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ตัวแทนกลุ่มในชุมชนที่มีความรู้ความสามารถ มีไหวพริบมีความถนัด สามารถเรียนรู้จากวิทยากรได้รวดเร็ว ประมาณ 4-5 คน สามารถถ่ายทอดความรู้ให้คนในชุมชนได้ต่อไป 1. ฝึกทักษะการพัฒนาการผลิตให้ได้เอกลักษณ์และได้มาตรฐานมากยิ่งขึ้น ไปเรื่อย ๆ 2. ด้านการตลาด สามารถเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายให้หลากหลายมากยิ่งกว่าเดิม เช่น ออนไลน์ เว็บไซต์ เฟสบุ๊ค 3. ด้านการสนับสนุนจากภาครัฐ เกิดการยังได้รับการสนับสนุนไม่ต่อเนื่อง ขาดเงินงบประมาณในการดำเนินการต่อไปให้สำเร็จ การแก้ปัญหาต้องการให้ภาครัฐสนับสนุนงบประมาณดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และทำให้ผู้ประกอบการร่วมมือกับชุมชน ช่วยจัดจำหน่ายและสนับสนุนงบประมาณ และการติดต่อขยายผลิตภัณฑ์ได้สะดวก รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ในทุกด้าน และต้องการวิทยากร ผู้เชี่ยวชาญด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์ มาฝึกอบรมและทุนสนับสนุนในการสร้างผลิตภัณฑ์จากผ้าทอจากเส้นใยพืชในท้องถิ่น เช่น กก ผสมผสานเส้นใยไหม ฝ้าย ให้สวยงามคงทนเมื่อมีการประยุกต์แปรรูปผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับ ความต้องการของผู้บริโภคและผู้รับซื้อทั้งปลีกและส่ง มีและมีความต้องการประยุกต์ใช้วัสดุอื่น ๆ ในท้องถิ่นร่วมแปรรูปกับผลิตภัณฑ์จากเส้นใยจากกก ไหม ฝ้าย เพื่อให้มีความประณีต ละเอียดและมีความสวยงาม เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ให้มีอาชีพและรายได้ที่ยั่งยืน สามารถสร้างอาชีพ สร้างรายได้ เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับชุมชนตำบลลำบัวลอย อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก อย่างต่อเนื่องตลอดไป