ภาพปกงานวิจัย การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบจากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเพิ่มรายได้เชิงพาณิชย์ของชุมชนลำบัวลอย อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก
เจ้าของงานวิจัย เกษสุนีย์ บำรุงจิตต์ จิรภัทร ตันติทวีกุล ชญานนท์ กุณฑลบุตร
หมวดหมู่ ทั่วไป การออกแบบแฟชั่น
Subject ผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ ภูมิปัญญาชาวบ้าน หัตถกรรม การทอผ้า
วันที่ตีพิมพ์ 2566
เอกสารประกอบ ดาวน์โหลด
จำนวนเข้าชม 12

เพื่อสร้างชุมชนให้มีความเข้มแข็งต่อไป กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนในตำบลลำบัวลอย อำเภอ ปากพลี จังหวัดนครนายก จำนวนกลุ่มตัวอย่างในชุมชนลำบัวลอย จำนวน 260 คน สุ่มอย่างง่ายตามตาราง ยามาเน่ คณะผู้วิจัยได้สอบถามให้ได้มาซึ่งความต้องการของผู้บริโภคและตรงตามความต้องการของผู้ประกอบการและท้องตลาด แล้วประเมินรูปแบบผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน โดยปราชญ์ชาวบ้านที่ร่วมแปรรูปผลิตภัณฑ์ให้เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน จำนวน 3 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ ผลิตภัณฑ์จากเส้นใยพืช ผ้าทอจากเส้นใยพืช จำนวน 3 ท่าน เพื่อประเมินความเหมาะสมของรูปแบบในการประยุกต์ เป็นผลิตภัณฑ์ จากนั้นสร้างต้นแบบแล้ว ประเมินผลวัดระดับความคิดเห็นของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์หัตถกรรม จากเส้นใยพืชที่มีในท้องถิ่นนมาผสมผสานเส้นใยไหม เส้นใยฝ้าย ผสมผสานให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัยสวยงามได้มาตรฐาน สามารถออกแบบได้ตรงกับความต้องการของท้องตลาด ผู้บริโภค ตรงตามท้องตลาดและผู้ประกอบการต้องการรับซื้อ การดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณควบคู่กันโดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ แบบประเมินความพึงพอใจ เป็นเครื่องมือวิจัย เพื่อเก็บรวบรวม ข้อมูลพิจารณาความเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญและความพึงพอใจจากกลุ่มเป้าหมาย วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (SD) แปลผลในรูปความเรียง ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนในชุมชนตำบลลำบัวลอย อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก มีความคิดเห็นกับผลิตภัณฑ์เดิมยังไม่ทันสมัยและมีความต้องการ ผลิตภัณฑ์จากเส้นใยพืชที่มีในท้องถิ่น เส้นใยกก ผสมเส้นใยไหมผสมผสานเส้นใยอื่น ๆ ที่มีความเหมาะสม จนแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่สวยงามทันสมัย ได้มาตรฐาน เช่น กระเป๋าถือของสตรี กระเป๋าสะพายของสุภาพสตรี หลากหลายรูปแบบ มีความต้องการผลิตภัณฑ์ที่มีรูปแบบสวยงาม มีเอกลักษณ์เด่นของชุมชน มากที่สุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และมีราคาที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ ส่วนปัญหาการผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่ของชุมชน โดยรวม อยู่ในระดับมาก ไม่มีองค์กรสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ปราชญ์ชาวบ้าน และผู้ประกอบการ ได้มีการประเมินรูปแบบผลิตภัณฑ์ หัตถกรรมจากเส้นใยพืช โดยรวมอยู่ในระดับมาก พบว่า ผลิตภัณฑ์มีความสวยงาม ลวดลาย สามารถใช้สอยได้ มีความสะดวกสบายในการใช้ เพื่อพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์ได้ ข้อเสนอแนะ ต้องการผลิตภัณฑ์ที่มีความทันสมัย มีความเป็นอัตลักษณ์ของชุมชน แตกต่างจากผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในท้องถิ่นและต้องการผู้เชี่ยวชาญ การพัฒนาบุคลากรในชุมชนให้มีความรู้เชี่ยวชาญ ด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ตัวแทนกลุ่มในชุมชนที่มีความรู้ความสามารถ มีไหวพริบมีความถนัด สามารถเรียนรู้จากวิทยากรได้รวดเร็ว ประมาณ 4-5 คน สามารถถ่ายทอดความรู้ให้คนในชุมชนได้ต่อไป 1. ฝึกทักษะการพัฒนาการผลิตให้ได้เอกลักษณ์และได้มาตรฐานมากยิ่งขึ้น ไปเรื่อย ๆ 2. ด้านการตลาด สามารถเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายให้หลากหลายมากยิ่งกว่าเดิม เช่น ออนไลน์ เว็บไซต์ เฟสบุ๊ค 3. ด้านการสนับสนุนจากภาครัฐ เกิดการยังได้รับการสนับสนุนไม่ต่อเนื่อง ขาดเงินงบประมาณในการดำเนินการต่อไปให้สำเร็จ การแก้ปัญหาต้องการให้ภาครัฐสนับสนุนงบประมาณดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และทำให้ผู้ประกอบการร่วมมือกับชุมชน ช่วยจัดจำหน่ายและสนับสนุนงบประมาณ และการติดต่อขยายผลิตภัณฑ์ได้สะดวก รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ในทุกด้าน และต้องการวิทยากร ผู้เชี่ยวชาญด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์ มาฝึกอบรมและทุนสนับสนุนในการสร้างผลิตภัณฑ์จากผ้าทอจากเส้นใยพืชในท้องถิ่น เช่น กก ผสมผสานเส้นใยไหม ฝ้าย ให้สวยงามคงทนเมื่อมีการประยุกต์แปรรูปผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับ ความต้องการของผู้บริโภคและผู้รับซื้อทั้งปลีกและส่ง มีและมีความต้องการประยุกต์ใช้วัสดุอื่น ๆ ในท้องถิ่นร่วมแปรรูปกับผลิตภัณฑ์จากเส้นใยจากกก ไหม ฝ้าย เพื่อให้มีความประณีต ละเอียดและมีความสวยงาม เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ให้มีอาชีพและรายได้ที่ยั่งยืน สามารถสร้างอาชีพ สร้างรายได้ เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับชุมชนตำบลลำบัวลอย อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก อย่างต่อเนื่องตลอดไป

APA

เกษสุนีย์ บำรุงจิตต์. จิรภัทร ตันติทวีกุล. ชญานนท์ กุณฑลบุตร. ( 2566 ). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบจากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเพิ่มรายได้เชิงพาณิชย์ของชุมชนลำบัวลอย อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

Chicago

เกษสุนีย์ บำรุงจิตต์. จิรภัทร ตันติทวีกุล. ชญานนท์ กุณฑลบุตร. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบจากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเพิ่มรายได้เชิงพาณิชย์ของชุมชนลำบัวลอย อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก. นครนายก: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2566.

MLA

เกษสุนีย์ บำรุงจิตต์. จิรภัทร ตันติทวีกุล. ชญานนท์ กุณฑลบุตร. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบจากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเพิ่มรายได้เชิงพาณิชย์ของชุมชนลำบัวลอย อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2566.

Vancouver

เกษสุนีย์ บำรุงจิตต์. จิรภัทร ตันติทวีกุล. ชญานนท์ กุณฑลบุตร. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบจากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเพิ่มรายได้เชิงพาณิชย์ของชุมชนลำบัวลอย อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร; 2566.