จำนวนงานวิจัย ( 8 )

แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในชีวิตวิถีใหม่ กรณีศึกษา : คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในชีวิตวิถีใหม่ กรณีศึกษา : คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

การวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในชีวิตวิถีใหม่ กรณีศึกษา : คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาปัจจุบันในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ที่เหมาะสมสำหรับคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างเป็นอาจารย์ระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา ของคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จำนวน 65 คนนักศึกษาระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา ของคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จำนวน 417 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1. สภาพและปัญหาในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์อาจารย์คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ด้านการใช้สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ และการปรับรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนออนไลน์ให้มีความยืดหยุ่นเหมาะกับเนื้อหาที่สอนทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ การตรวจผลงานและให้ข้อมูลย้อนกลับไปยังผู้เรียนผ่านระบบออนไลน์ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ได้เหมาะสมกับเนื้อหาและผู้เรียน และสร้างสื่อการสอนที่นำมาใช้เป็นเครื่องมือในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้ด้วยตนเอง อาจารย์มีความต้องการในการพัฒนาและการฝึกอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์โดยใช้สื่อและเทคโนโลยี และควรมีระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่สามารถเข้าถึงได้ตลอดเวลา และระบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน สภาพและปัญหาในการเรียนการสอนออนไลน์ของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ พบว่า นักศึกษาขาดความมั่นใจเมื่อต้องนำเสนองานในรูปแบบออนไลน์ และการทำงานมอบหมายที่เป็นกลุ่มเป็นอุปสรรคในการเรียนออนไลน์ เนื้อหารายวิชาทฤษฎีเป็นการยากที่นักศึกษาจะให้ความสนใจและพร้อมที่จะตอบคำถามระหว่างเรียน แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่ใช้สืบค้นข้อมูลที่ในการเรียนออนไลน์มีจำกัด สัญญาณเครือข่ายที่นักศึกษาใช้ในการเรียนออนไลน์ไม่เสถียรในการเชื่อมต่อระหว่างเรียน การส่งผลงานปฏิบัติมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก นักศึกษามีอุปกรณ์ที่สามารถใช้ในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ไม่เพียงพอ 2. แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ที่เหมาะสมสำหรับคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ ในภาพรวมในระดับมาก ค่าคะแนนเฉลี่ย 3.83 แนวทางการพัฒนาการการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของอาจารย์คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จำนวน 5 ข้อ เรียงจากมากไปหาน้อย ตามลำดับ ดังต่อไปนี้ 1) มีการจัดอบรมให้ความรู้กับผู้สอนในการจัดการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์ โดยใช้โปรแกรมต่าง ๆ เช่น Google Classroom, Google Meet, Microsoft Teams, Zoom Mooc ฯลฯ ค่าเฉลี่ย 4.20 2) มีระบบเครือข่ายในการเข้าถึงการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ภายในคณะฯ เช่น ระบบอินเทอร์เน็ต, ระบบ WIFI, ระบบ LAN ฯลฯ ค่าเฉลี่ย 4.00 3) มีช่องทางการช่วยเหลืออาจารย์กรณีเกิดปัญหาการสอนออนไลน์ ผ่านช่องทาง Line, website ค่าเฉลี่ย 3.97 4) มีอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์เช่น คอมพิวเตอร์, กล้องสำหรับถ่ายวิดีโอ, กล้องสำหรับติดตั้งคอมพิวเตอร์ PC ฯลฯ ค่าเฉลี่ย 3.83 5) สนับสนุนค่าใช้จ่ายโปรแกรมเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ เช่น Kahoot , Quizizz , Canva , Prezi , Zoom เป็นต้น ค่าเฉลี่ย 3.15 ตามลำดับ

2564
รูปแบบการจัดกิจกรรมการรับน้องอย่างสร้างสรรค์ภายในมหาวิทยาลัย กรณีศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
รูปแบบการจัดกิจกรรมการรับน้องอย่างสร้างสรรค์ภายในมหาวิทยาลัย กรณีศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (Depth Interview) สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ผู้วิจัยกำหนดกลุ่มที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับกิจกรรมการรับน้องของคณะ จำนวนทั้งสิ้น 40 คน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.กลุ่มนักศึกษาที่เป็นผู้จัดกิจกรรมรับน้องไม่มีแผนประเมินความเสี่ยงอย่างเป็นทางการแต่มีแผนปฏิบัติงานอย่างง่าย นอกเหนือจากกิจกรรมรับน้องปี 1 แล้วทุกสาขายังมีกิจกรรมการรับน้องปี 2 เข้าสาขาด้วย โดยสาขาวิชาเทคโนโลยีการโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง (RT) เพียงสาขาเดียวที่ยังคงมีระบบ SOTUS แฝงอยู่ 2.กลุ่มนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ต้องการเข้าร่วมกิจกรรมรับน้องเพราะต้องการสร้างความรู้จัก ความสนิทสนมกับเพื่อนและรุ่นพี่ รวมถึงต้องการที่ปรึกษาทั้งเรื่องการเรียนและชีวิตในมหาวิทยาลัย โดยเข้าใจเรื่องสิทธิส่วนบุคคลและรู้วิธีป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากกิจกรรมรับน้องที่ไม่สร้างสรรค์ รูปแบบการรับน้องที่นักศึกษาปีที่ 1 คิดว่าเหมาะสมคือ กีฬาภายในคณะ กิจกรรมสร้างสรรค์ที่ไม่เครียดมาก กิจกรรมที่แทรกความรู้ด้านวิชาชีพ กิจกรรมสันทนาการ ร้องเพลง และเล่นเกม 3.กิจกรรมรับน้องอย่างสร้างสรรค์ของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนกลุ่มอาจารย์และเจ้าหน้าที่รวมถึงกลุ่มบุคคลภายนอกคิดว่าควรจัดกิจกรรมสันทนาการและฐานกิจกรรม กิจกรรมวิชาชีพที่มีประโยชน์ต่อชุมชน กิจกรรมกีฬา และกิจกรรมบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เพื่อสร้างภาพลักษณ์ด้านวิชาชีพ

2563
การใช้ทฤษฎีพหุปัญญาในการจัดการเรียนการสอนวิชาพลศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
การใช้ทฤษฎีพหุปัญญาในการจัดการเรียนการสอนวิชาพลศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการเรียนการสอนวิชาพลศึกษาโดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เพื่อศึกษาความสามารถในการเรียนวิชาพลศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเรียนการสอนวิชาพลศึกษากับความสามารถในการเรียนวิชา พลศึกษาโดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครโดยดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2564 เป็นการวิจัยเชิงสำรวจที่ใช้เครื่องมือแบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วย 4 ส่วน คือ 1) ข้อมูลทั่วไปของนักศึกษาซึ่งเป็นลักษณะทางประชากรศาสตร์ 2) ลักษณะองค์ประกอบของการสอนแบบการใช้ทฤษฎีพหุปัญญา 3) ขั้นตอนการสอนพลศึกษาด้วยการสอนแบบการใช้ทฤษฎีพหุปัญญาเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย และ 4) ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเรียนการสอนวิชาพลศึกษากับความพึงพอใจที่นักศึกษามีต่อการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาโดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญา โดยมีกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จำนวน 357 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนาสำหรับข้อมูลลักษณะทางประชากรศาสตร์ ผลการศึกษาพบว่า ข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พระนคร พบว่า ส่วนใหญ่กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง อายุ 19 ปี เป็นนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มีความคิดเห็นที่มีต่อการสอนวิชาการพลศึกษาด้วยการสอนแบบการใช้ทฤษฎีพหุปัญญา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เพราะนักศึกษาทุกคนมีความสำคัญเท่าเทียมกัน ต้องรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเอง มีการเคลื่อนไหวร่างกาย มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ได้ใช้ประสบการณ์เดิมเพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ และขั้นตอนการสอนพลศึกษาด้วยการสอนแบบการใช้ทฤษฎีพหุปัญญา เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด และนักศึกษาที่มีเพศ อายุ ที่แตกต่างกันมีความ พึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาโดยใช้ทฤษฎี พหุปัญญาไม่แตกต่างกัน แต่นักศึกษาที่เรียนคณะต่างกันจะมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาโดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญาแตกต่างกัน 3 ขั้น ดังนี้1. ขั้นสอน / สาธิต 2. ขั้นปฏิบัติ และ 3. ขั้นปรับปรุง

2565
การศึกษาผลกระทบเนื่องจากกิจกรรมงานเสาเข็มเจาะในโครงการก่อสร้าง อาคารกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
การศึกษาผลกระทบเนื่องจากกิจกรรมงานเสาเข็มเจาะในโครงการก่อสร้าง อาคารกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลกระทบเนื่องจากกิจกรรมงานที่ทามาก่อนหน้า โดยเลือก กิจกรรมงานเสาเข็มเจาะระบบแห้ง โครงการก่อสร้างอาคารกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เป็นกรณีศึกษา โครงการที่ศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีเสาเข็มเจาะ จำนวน 54 ต้น พบว่า ค่าความคลาดเคลื่อนเกินเกณฑ์ที่ยอมให้ 11 ต้น คิดเป็นร้อยละ 20.37 และจากการตรวจสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มด้วยวิธี Seismic Integrity Test ตามมาตรฐาน ASTM.D 5882-00 พบว่า เสาเข็มอยู่ในสภาพสมบูรณ์ จำนวน 53 ต้น คิดเป็นร้อยละ 98.15 และเสาเข็มอยู่ในสภาพบกพร่องบริเวณหัวเสาเข็ม จำนวน 1 ต้น คิดเป็นร้อยละ 1.85 ตำแหน่งของเสาเข็มคลาดเคลื่อนเกินเกณฑ์ที่ยอมให้ ต้องออกแบบแก้ไขฐานรากใหม่ ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนเงิน 75,760.16 บาท ใช้ระยะเวลาในการทำงานเพิ่ม 10 วัน งานก่อสร้างมีกิจกรรมงานอีกหลายกิจกรรม หากทาไม่ได้คุณภาพจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนของโครงการ และระยะเวลาในการก่อสร้าง อาจจะทำให้ประสบปัญหาขาดทุน ไม่สามารถส่งมอบงานตามกาหนดระยะเวลา ทำให้มีค่าปรับเกิดขึ้น ดังนั้นผู้รับเหมาก่อสร้าง ควรให้ความสาคัญกับการบริหารจัดการที่หน้างานให้ดี มีการตรวจสอบก่อนเริ่มทำงาน ขณะทำงาน โดยผู้ที่มีตาแหน่งสูงกว่าตรวจสอบอีกครั้งหนึ่ง เพื่อเป็นการตรวจทานการทำงานของวิศวกรสนาม ก็สามารถลดข้อผิดพลาดในการทำงานลงได้

2566
กลยุทธ์ความสำเร็จของการเรียนออนไลน์ของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์
กลยุทธ์ความสำเร็จของการเรียนออนไลน์ของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาปัจจัยความสำเร็จการเรียนออนไลน์ และกลยุทธ์ความสำเร็จการเรียนออนไลน์ ของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ที่กำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษา 2564 จำนวน 277 คน และผู้สอนจำนวน 7 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ค่าความถี่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้คือการสัมภาษณ์ และวิเคร์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1. ลักษณะทางประชากรของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 67.87 มีอายุ 19 ปีสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 32.49 โดยกลุ่มตัวอย่างศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 2 จำนวนสูงสุด ร้อยละ 37.18 ส่วนใหญ่อยู่บ้านตัวเอง ร้อยละ76.53 สำหรับสถานที่สะดวกในการเรียนออนไลน์ ส่วนใหญ่ใช้ที่บ้านร้อยละ 83.39 ส่วนอุปกรณ์ที่กลุ่มตัวอย่างใช้ในการเชื่อมต่อสัญญานในการเรียนออนไลน์ส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์มือถือ ร้อยละ 89.89 และกลุ่มตัวอย่างกว่าครึ่งไม่มีปัญหาเกี่ยวกับสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในการเรียนออนไลน์ ร้อยละ 63.54 2. ปัจจัยความสำเร็จการเรียนออนไลน์ของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมาก (x ̅= 3.66, S.D.= 0.96) โดยปัจจัยความสำเร็จการเรียนออนไลน์ของกลุ่มตัวอย่างด้านเนื้อหามีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( x ̅= 3.74 S.D.= 0.90) รองลงมาคือด้านเทคโนโลยี และด้านผู้สอน (x ̅= 3.65 S.D.= 0.96, x ̅= 3.62 S.D.= 0.98) ตามลำดับ 3. กลยุทธการเรียนออนไลน์ของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ ที่ควรมี ประกอบด้วยปัจจัยการสอน ออกแบบการเรียนการสอนที่ชัดเจนตั้งแต่วัตถุประสงค์ กิจกรรมการเรียนเรียน และการประเมินผล จัดทำสื่อการสอนให้เหมาะสม มีทักษะทางเทคโนโลยีสามารถใช้ประโยชน์เครื่องมือออนไลน์ได้ และบริหารจัดเวลาการเรียนที่อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจัยการเรียน มีการทำข้อตกลงในการเรียน ผู้เรียนควรมีความพร้อมในการเรียน มีทักษะทางเทคโนโลยี ควรมีการสะท้อนกลับ( Feedback) ของผู้เรียน รวมถึงมีการบันทึกการสอนเพื่อนักศึกษาสามารถเรียนรู้ย้อนหลังได้และเพิ่มช่องทางการส่งงาน ปัจจัยเนื้อหา ควรจัดรูปแบบการเรียนการสอน สื่อการสอนใหม่มีความ หลากหลาย และเสริมสร้างการเรียนรู้เชิงรุกนอกชั้นเรียน ปัจจัยเทคโนโลยี ควรสร้างสังคมออนไลน์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน จัดอบรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ต้องใช้ มีความพร้อมในการเข้าถึงการเรียนการสอนออนไลน์ รวมถึงแชร์เครื่องมือ/โปรแกรมที่ใช้ให้กับนักศึกษา และควรตรวจสอบช่องทางการสื่อสารที่ใช้ตลอดเวลา ปัจจัยสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ ควรสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ร่วมกัน เลือกใช้ครื่องมือที่เหมาะสมในแต่ละกิจกรรมการเรียนการสอน จัดส่งเนื้อหาบทเรียน วีดีโอ ให้นักศึกษาดูก่อนเรียน แบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่มย่อย และมอบหมายให้นักศึกษาศึกษาจากแหล่งเรียนรู้อื่นๆ เพิ่มเติม

2565