ภาพปกงานวิจัย กลยุทธ์ความสำเร็จของการเรียนออนไลน์ของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์
เจ้าของงานวิจัย อรุณี อรุณเรือง ทรงสิริ วิชิรานนท์
หมวดหมู่ การศึกษา
Subject การสอน คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน
วันที่ตีพิมพ์ 2565
เอกสารประกอบ ดาวน์โหลด
จำนวนเข้าชม 41

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาปัจจัยความสำเร็จการเรียนออนไลน์ และกลยุทธ์ความสำเร็จการเรียนออนไลน์ ของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ที่กำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษา 2564 จำนวน 277 คน และผู้สอนจำนวน 7 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ค่าความถี่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้คือการสัมภาษณ์ และวิเคร์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1. ลักษณะทางประชากรของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 67.87 มีอายุ 19 ปีสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 32.49 โดยกลุ่มตัวอย่างศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 2 จำนวนสูงสุด ร้อยละ 37.18 ส่วนใหญ่อยู่บ้านตัวเอง ร้อยละ76.53 สำหรับสถานที่สะดวกในการเรียนออนไลน์ ส่วนใหญ่ใช้ที่บ้านร้อยละ 83.39 ส่วนอุปกรณ์ที่กลุ่มตัวอย่างใช้ในการเชื่อมต่อสัญญานในการเรียนออนไลน์ส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์มือถือ ร้อยละ 89.89 และกลุ่มตัวอย่างกว่าครึ่งไม่มีปัญหาเกี่ยวกับสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในการเรียนออนไลน์ ร้อยละ 63.54 2. ปัจจัยความสำเร็จการเรียนออนไลน์ของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมาก (x ̅= 3.66, S.D.= 0.96) โดยปัจจัยความสำเร็จการเรียนออนไลน์ของกลุ่มตัวอย่างด้านเนื้อหามีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( x ̅= 3.74 S.D.= 0.90) รองลงมาคือด้านเทคโนโลยี และด้านผู้สอน (x ̅= 3.65 S.D.= 0.96, x ̅= 3.62 S.D.= 0.98) ตามลำดับ 3. กลยุทธการเรียนออนไลน์ของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ ที่ควรมี ประกอบด้วยปัจจัยการสอน ออกแบบการเรียนการสอนที่ชัดเจนตั้งแต่วัตถุประสงค์ กิจกรรมการเรียนเรียน และการประเมินผล จัดทำสื่อการสอนให้เหมาะสม มีทักษะทางเทคโนโลยีสามารถใช้ประโยชน์เครื่องมือออนไลน์ได้ และบริหารจัดเวลาการเรียนที่อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจัยการเรียน มีการทำข้อตกลงในการเรียน ผู้เรียนควรมีความพร้อมในการเรียน มีทักษะทางเทคโนโลยี ควรมีการสะท้อนกลับ( Feedback) ของผู้เรียน รวมถึงมีการบันทึกการสอนเพื่อนักศึกษาสามารถเรียนรู้ย้อนหลังได้และเพิ่มช่องทางการส่งงาน ปัจจัยเนื้อหา ควรจัดรูปแบบการเรียนการสอน สื่อการสอนใหม่มีความ หลากหลาย และเสริมสร้างการเรียนรู้เชิงรุกนอกชั้นเรียน ปัจจัยเทคโนโลยี ควรสร้างสังคมออนไลน์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน จัดอบรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ต้องใช้ มีความพร้อมในการเข้าถึงการเรียนการสอนออนไลน์ รวมถึงแชร์เครื่องมือ/โปรแกรมที่ใช้ให้กับนักศึกษา และควรตรวจสอบช่องทางการสื่อสารที่ใช้ตลอดเวลา ปัจจัยสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ ควรสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ร่วมกัน เลือกใช้ครื่องมือที่เหมาะสมในแต่ละกิจกรรมการเรียนการสอน จัดส่งเนื้อหาบทเรียน วีดีโอ ให้นักศึกษาดูก่อนเรียน แบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่มย่อย และมอบหมายให้นักศึกษาศึกษาจากแหล่งเรียนรู้อื่นๆ เพิ่มเติม

APA

อรุณี อรุณเรือง. ทรงสิริ วิชิรานนท์. ( 2565 ). กลยุทธ์ความสำเร็จของการเรียนออนไลน์ของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

Chicago

อรุณี อรุณเรือง. ทรงสิริ วิชิรานนท์. กลยุทธ์ความสำเร็จของการเรียนออนไลน์ของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2565.

MLA

อรุณี อรุณเรือง. ทรงสิริ วิชิรานนท์. กลยุทธ์ความสำเร็จของการเรียนออนไลน์ของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2565.

Vancouver

อรุณี อรุณเรือง. ทรงสิริ วิชิรานนท์. กลยุทธ์ความสำเร็จของการเรียนออนไลน์ของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร; 2565.