จำนวนงานวิจัย ( 9 )

คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครูพลศึกษาในมุมมองของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
งานวิจัยนี้มีเพื่อศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครูพลศึกษาในมุมมองของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เพื่อศึกษาแนวทางคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครูพลศึกษาในมุมมองของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร โดยดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ.2563 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2564 เป็นการวิจัยเชิงสำรวจที่ใช้เครื่องมือแบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) ข้อมูลทั่วไปของนักศึกษาซึ่งเป็นลักษณะทางประชากรศาสตร์ 2) คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครูพลศึกษาในมุมมองของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พระนคร ทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่ ด้านวิชาการและการสอน ด้านคุณธรรมและความประพฤติ ด้านบุคลิกภาพและมนุษยสัมพันธ์ ด้านการบริการวิชาการแก่สังคม 3) ความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะของครูพลศึกษาเพิ่มเติมในมุมมองของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่ ด้านวิชาการและการสอน ด้านคุณธรรมและความประพฤติ ด้านบุคลิกภาพและมนุษยสัมพันธ์ ด้านการบริการวิชาการแก่สังคม โดยมีกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลพระนคร จำนวน 382 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนาสำหรับข้อมูลลักษณะทางประชากรศาสตร์ ผลการศึกษาพบว่า ข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พระนคร พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 20 ปี กำลังศึกษาอยู่คณะวิศวกรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างมีระดับความคิดเห็นในเรื่องของคุณลักษณะที่เป็นจริงของครูพลศึกษา โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ คุณลักษณะที่เป็นจริงของครูพลศึกษาด้านคุณธรรมและความประพฤติ มากที่สุด รองลงมา คือ ด้านวิชาการและการสอน และในเรื่องของคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครูพลศึกษาในความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครูพลศึกษาด้านบุคลิกภาพและมนุษยสัมพันธ์ มากที่สุด รองลงมา คือ ด้านคุณธรรมและความประพฤติ มุมมองของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ที่มีต่อคุณลักษณะของครูพลศึกษาทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่ ด้านวิชาการและการสอน ด้านคุณธรรมและความประพฤติ ด้านบุคลิกภาพและมนุษยสัมพันธ์ ด้านการบริการวิชาการแก่สังคม แสดงให้เห็นว่าในภาพรวมครูพลศึกษา ควรมีทักษะทางด้านกีฬา และนันทนาการ มีมนุษยสัมพันธ์ดี สร้างบรรยากาศที่ดีน่าเรียนไม่ตึงเครียดจนเกินไป มีคุณธรรม เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่นักศึกษา รับฟังความคิดเห็น มีความรับผิดชอบ จริงใจ มีทัศนคติที่ดีกับนักศึกษาทุกคน อัธยาศัยดี เป็นกันเอง แต่งตัวเหมาะสม พูดจาดี เข้าถึงได้ง่าย มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีน้ำใจ มีการแจ้งข่าวสารเกี่ยวกับกีฬาให้นักศึกษาได้ทราบ มีอุปกรณ์กีฬาให้นักศึกษาได้ยืมใช้นอกเหนือจากเวลาเรียน มีความเข้าใจและเข้าถึงนักศึกษา สนับสนุน แนะแนวทางการศึกษาให้กับนักศึกษา ให้คำปรึกษา และ/หรือคำแนะนำที่ดีให้กับนักศึกษา ตั้งใจสอน ส่งเสริมนักศึกษาในทางที่ดี มีความเป็นผู้นำ

การจัดหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตในประเทศไทยเพื่อรองรับการเปิดในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาการจัดหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตในประเทศไทยเพื่อรองรับการเปิดในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิเคราะห์โครงสร้างและรูปแบบของหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตในประเทศไทยสำหรับไปปรับใช้กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 2)เพื่อศึกษาวิเคราะห์บริบทและกฎระเบียบของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลและมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการจัดทำหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลและให้เป็นไปตามมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษาและมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผสมผสานระหว่างการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) โดยเลือกกำหนดจากประชากรผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (key Informants) จำนวน 4 กลุ่มๆ ละ 5 คน จำนวน 20 คน สุดท้ายเป็นการสนทนากลุ่ม (Focus Group) จำนวน 8 คน ผลการวิจัยพบว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลต้องมีการจัดทำร่างหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตที่มีมาตรฐานไม่ต่ำกว่ามาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีสาขาวิชานิติศาสตร์ พ.ศ. 2561 ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีสาขาวิชานิติศาสตร์ พ.ศ. 2561 โดยจัดทำหลักสูตรให้มีเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล กำหนดเป้าหมายและผลลัพธ์ให้ชัดเจน เน้นกลไกตามยุทธศาสตร์การจัดการเรียนการสอน ซึ่งมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาที่ประกาศใช้ในปี พ.ศ. 2565 สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดทำหลักสูตรนิติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลได้ ส่งเสริมให้บัณฑิตศึกษาต่อในหลักสูตรเนติบัณฑิต และมีการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบคลังหน่วยกิต (NCBS) สำหรับการร่างหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสามารถนำภูมิหลังหรือพื้นฐาน คือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาประยุกต์หรือบูรณาการกับการสร้างรายวิชาทางด้านนิติศาสตร์ โดยมุ่งเน้นกฎหมายเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กฎหมายเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ กฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจ กฎหมายเกี่ยวกับวิศวกรรม เทคโนโลยี กฎหมายเกี่ยวกับนวัตกรรม เป็นต้น นอกจากนี้ควรจัดให้มีวิชาทักษะในการปฏิบัติงานด้านกฎหมาย หรือพัฒนาเป็นหลักสูตรพหุวิทยาการแบบผสมผสาน ที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ในทางปฏิบัติ

การศึกษาสัดส่วนของปริมาตรคอนกรีตต่อปริมาณเหล็กเสริมในงานโครงสร้างพื้นไร้คานของอาคารขนาดใหญ่
การประมาณราคาแบบละเอียดต้องใช้ผู้ที่เชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ในการประมาณราคางานก่อสร้าง และต้องใช้ระยะเวลานานในการหาปริมาณวัสดุ ความถูกต้องของปริมาณวัสดุจึงมีความสาคัญในการกาหนดราคางานก่อสร้าง ดังนั้นหากมีเกณฑ์หรือเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ประมาณราคางานก่อสร้างใช้งานได้ง่ายและสะดวก ก็จะช่วยลดระยะเวลาในการทางานลงได้ ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาความสัมพันธ์เชิงสัดส่วนของปริมาตรคอนกรีตต่อปริมาณเหล็กเสริมในงานโครงสร้างระบบพื้นไร้คานของอาคารขนาดใหญ่ เป็นกรณีศึกษา จากนั้นนาค่าความสัมพันธ์ด้านสัดส่วนที่ได้ไปทดสอบกับอาคารที่มีรูปแบบคล้ายกัน และตัวแปรในการออกแบบเหมือนกัน นาค่าที่ได้มาเปรียบเทียบกับการประมาณราคาแบบละเอียด พบว่า ปริมาตรคอนกรีตและปริมาณเหล็กเสริมที่ได้มากกว่าค่าที่ได้จากการประมาณราคาแบบละเอียด ร้อยละ 5.86 และ 8.95 ตามลาดับ ค่าที่ได้แตกต่างกันไม่เกินร้อยละ 10 อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ดังนั้นค่าสัดส่วนความสัมพันธ์ที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้ สามารถนาไปใช้ในตรวจสอบปริมาณงานเหล็กเสริมและคอนกรีตในเบื้องต้นของอาคารที่มีรูปแบบคล้ายกัน และตัวแปรในการออกแบบเหมือนกันได้ในเวลาอันรวดเร็ว สามารถลดระยะเวลาในการทางานลงได้

การศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ที่กำลังศึกษาอยู่ในปการศึกษา 2564 จำนวน 200 คน และผู้สอนจำนวน 7 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้คือการสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหาผลการศึกษาพบว่า 1. ลักษณะทางประชากรของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 130 คน คิดเป็นร้อยละ65.00 และเพศชาย จำนวน 70 คน คิดเป็นร้อยละ 35.00 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุ 20 ปี จำนวน 75 คน คิดเป็นร้อยละ 37.50 ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 2 จำนวน 78 คน คิดเป็นร้อยละ 39.00 อาศัยอยู่บ้านตนเอง 98 คน คิดเป็นร้อยละ 49.00 สถานที่สะดวกในการเรียนออนไลน์คือที่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 46.50 ส่วนอุปกรณ์ที่กลุ่มตัวอย่างใช้ในการเชื่อมต่อสัญญานในการเรียนออนไลน์ส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์มือถือ จำนวน 118 คน คิดเป็นร้อยละ 59.00 และกลุ่มตัวอย่างกว่าครึ่งที่พบปัญหาเกี่ยวกับสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในการเรียนออนไลน์ คิดเป็นร้อยละ 67.50 2.ผลการวิเคราะห์ข้อมูลของสื่อเทคโนโลยีที่ใช้ในการเรียนการสอนออนไลน์ของกลุ่มตัวอย่างพบว่า สื่อเทคโนโลยี/โปรแกรมที่นิยมใช้ในการเรียนการสอนออนไลน์ได้แก่ Google Classroom 75%รองลงมาคือ Line 10.00 % Facebookและ Zoom คิดเป็น 5.00% อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเรียนออนไลน์มากที่สุดคือโทรศัพท์มือถือ ( Smart phone) มีจำนวนมากที่สุดคือ 84.62 % รองลงมาคือ Notebook 55.51% Tablet/IPad 15.36% Computer (PC) 11.63% และอื่นๆ 0.28 % สัญญาณอินเทอร์เน็ตที่กลุ่มตัวอย่างใช้ในการเรียนออนไลน์มากที่สุดคือ จากโทรศัพท์มือถือ คิดเป็นร้อยละ 56 รองลงมาคือบ้านหรือที่พักอาศัยและสถานศึกษา 3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลปัญหาและปัจจัยที่สำคัญของการเรียนการสอนออนไลน์ พบว่าปัญหาที่เกิดมากที่สุดคือความไม่เสถียรของสัญญาณอินเทอร์เน็ต และสถานที่ไม่เอื้ออำนวยในการเรียนการสอน คิดเป็น 90% รองลงมาคือค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในการเติมเงินค่าอินเทอร์เน็ต คิดเป็น 87.50% สำหรับปัญหาที่พบรองลงมาคือความเข้าใจในการสื่อสารระหว่างผู้สอนและนักศึกษาควบคุมตนเองให้อยู่หน้าจอโทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์ได้ตลอดเวลาที่เรียน คิดเป็น 75 % นอกจากนั้นก็จะเป็นการเรียนวิชาที่เป็นปฏิบัติที่จะเข้าใจยากรวมทั้งผู้เรียนไม่มีสมาธิในการเรียน 4. แนวทางในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของกลุ่มตัวอย่างพบว่า เนื้อหาของบทเรียน กิจกรรมการเรียนการสอนควรมีการออกแบบให้น่าสนใจเหมาะสมกับเวลา ในการเรียนการสอนออนไลน์ที่จะต่างจากการเรียนการสอนปกติ สื่อการสอนควรมีความสัมพันธ์กับเนื้อหา มีความทันสมัยน่าสนใจ สื่อสัญญาณอินเทอร์เน็ตควรมีความเสถียรและควรมีบริการฟรีสำหรับการเรียน อุปกรณ์ในการเรียนการสอนควรมีการสำรวจความพร้อมของผู้เรียนและสถานศึกษาควรหาวิธีการสนับสนุนอุปกรณ์การเรียนให้กับนักศึกษา การสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียนควรมีการสื่อสารที่สร้างความเข้าใจตรงกัน ควรมีการสื่อสารหลายช่องทาง การเรียนการสอนควรมีความยืดหยุ่นในเรื่องของเวลาและกิจกรรมการเรียนการสอน นอกจากนั้นคือมีการให้ความรู้การถ่ายทอดทักษะการใช้งานเทคโนโลยีเหล่านั้นให้แก่ผู้สอน, ผู้เรียนได้มีความสามารถในการแก้ไขปัญหาขัดข้องที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการจัดการเรียนการสอนเมื่อนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลแนวทางในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์และสรุปเป็นประเด็นสำคัญๆได้ 4 ประเด็น ได้แก่ ด้านบทบาทของผู้สอน การบริหารจัดการในระหว่างการเรียน การออกแบบการเรียนการสอน และความพร้อมทางด้านเทคโนโลยี