ภาพปกงานวิจัย การจัดหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตในประเทศไทยเพื่อรองรับการเปิดในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
เจ้าของงานวิจัย ธนวัฒน์ สุดจิตร์สมโภชน์ วรัญญา สมศิริ กษิดิ์เดช สุทธิวานิช
หมวดหมู่ การศึกษา
Subject การศึกษา --หลักสูตร
วันที่ตีพิมพ์ 2565
เอกสารประกอบ ดาวน์โหลด
จำนวนเข้าชม 38

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาการจัดหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตในประเทศไทยเพื่อรองรับการเปิดในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิเคราะห์โครงสร้างและรูปแบบของหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตในประเทศไทยสำหรับไปปรับใช้กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 2)เพื่อศึกษาวิเคราะห์บริบทและกฎระเบียบของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลและมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการจัดทำหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลและให้เป็นไปตามมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษาและมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผสมผสานระหว่างการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) โดยเลือกกำหนดจากประชากรผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (key Informants) จำนวน 4 กลุ่มๆ ละ 5 คน จำนวน 20 คน สุดท้ายเป็นการสนทนากลุ่ม (Focus Group) จำนวน 8 คน ผลการวิจัยพบว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลต้องมีการจัดทำร่างหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตที่มีมาตรฐานไม่ต่ำกว่ามาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีสาขาวิชานิติศาสตร์ พ.ศ. 2561 ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีสาขาวิชานิติศาสตร์ พ.ศ. 2561 โดยจัดทำหลักสูตรให้มีเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล กำหนดเป้าหมายและผลลัพธ์ให้ชัดเจน เน้นกลไกตามยุทธศาสตร์การจัดการเรียนการสอน ซึ่งมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาที่ประกาศใช้ในปี พ.ศ. 2565 สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดทำหลักสูตรนิติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลได้ ส่งเสริมให้บัณฑิตศึกษาต่อในหลักสูตรเนติบัณฑิต และมีการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบคลังหน่วยกิต (NCBS) สำหรับการร่างหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสามารถนำภูมิหลังหรือพื้นฐาน คือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาประยุกต์หรือบูรณาการกับการสร้างรายวิชาทางด้านนิติศาสตร์ โดยมุ่งเน้นกฎหมายเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กฎหมายเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ กฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจ กฎหมายเกี่ยวกับวิศวกรรม เทคโนโลยี กฎหมายเกี่ยวกับนวัตกรรม เป็นต้น นอกจากนี้ควรจัดให้มีวิชาทักษะในการปฏิบัติงานด้านกฎหมาย หรือพัฒนาเป็นหลักสูตรพหุวิทยาการแบบผสมผสาน ที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ในทางปฏิบัติ

APA

ธนวัฒน์ สุดจิตร์สมโภชน์. วรัญญา สมศิริ. กษิดิ์เดช สุทธิวานิช. ( 2565 ). การจัดหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตในประเทศไทยเพื่อรองรับการเปิดในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

Chicago

ธนวัฒน์ สุดจิตร์สมโภชน์. วรัญญา สมศิริ. กษิดิ์เดช สุทธิวานิช. การจัดหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตในประเทศไทยเพื่อรองรับการเปิดในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2565.

MLA

ธนวัฒน์ สุดจิตร์สมโภชน์. วรัญญา สมศิริ. กษิดิ์เดช สุทธิวานิช. การจัดหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตในประเทศไทยเพื่อรองรับการเปิดในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2565.

Vancouver

ธนวัฒน์ สุดจิตร์สมโภชน์. วรัญญา สมศิริ. กษิดิ์เดช สุทธิวานิช. การจัดหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตในประเทศไทยเพื่อรองรับการเปิดในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร; 2565.