
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ที่กำลังศึกษาอยู่ในปการศึกษา 2564 จำนวน 200 คน และผู้สอนจำนวน 7 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้คือการสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหาผลการศึกษาพบว่า 1. ลักษณะทางประชากรของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 130 คน คิดเป็นร้อยละ65.00 และเพศชาย จำนวน 70 คน คิดเป็นร้อยละ 35.00 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุ 20 ปี จำนวน 75 คน คิดเป็นร้อยละ 37.50 ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 2 จำนวน 78 คน คิดเป็นร้อยละ 39.00 อาศัยอยู่บ้านตนเอง 98 คน คิดเป็นร้อยละ 49.00 สถานที่สะดวกในการเรียนออนไลน์คือที่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 46.50 ส่วนอุปกรณ์ที่กลุ่มตัวอย่างใช้ในการเชื่อมต่อสัญญานในการเรียนออนไลน์ส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์มือถือ จำนวน 118 คน คิดเป็นร้อยละ 59.00 และกลุ่มตัวอย่างกว่าครึ่งที่พบปัญหาเกี่ยวกับสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในการเรียนออนไลน์ คิดเป็นร้อยละ 67.50 2.ผลการวิเคราะห์ข้อมูลของสื่อเทคโนโลยีที่ใช้ในการเรียนการสอนออนไลน์ของกลุ่มตัวอย่างพบว่า สื่อเทคโนโลยี/โปรแกรมที่นิยมใช้ในการเรียนการสอนออนไลน์ได้แก่ Google Classroom 75%รองลงมาคือ Line 10.00 % Facebookและ Zoom คิดเป็น 5.00% อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเรียนออนไลน์มากที่สุดคือโทรศัพท์มือถือ ( Smart phone) มีจำนวนมากที่สุดคือ 84.62 % รองลงมาคือ Notebook 55.51% Tablet/IPad 15.36% Computer (PC) 11.63% และอื่นๆ 0.28 % สัญญาณอินเทอร์เน็ตที่กลุ่มตัวอย่างใช้ในการเรียนออนไลน์มากที่สุดคือ จากโทรศัพท์มือถือ คิดเป็นร้อยละ 56 รองลงมาคือบ้านหรือที่พักอาศัยและสถานศึกษา 3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลปัญหาและปัจจัยที่สำคัญของการเรียนการสอนออนไลน์ พบว่าปัญหาที่เกิดมากที่สุดคือความไม่เสถียรของสัญญาณอินเทอร์เน็ต และสถานที่ไม่เอื้ออำนวยในการเรียนการสอน คิดเป็น 90% รองลงมาคือค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในการเติมเงินค่าอินเทอร์เน็ต คิดเป็น 87.50% สำหรับปัญหาที่พบรองลงมาคือความเข้าใจในการสื่อสารระหว่างผู้สอนและนักศึกษาควบคุมตนเองให้อยู่หน้าจอโทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์ได้ตลอดเวลาที่เรียน คิดเป็น 75 % นอกจากนั้นก็จะเป็นการเรียนวิชาที่เป็นปฏิบัติที่จะเข้าใจยากรวมทั้งผู้เรียนไม่มีสมาธิในการเรียน 4. แนวทางในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของกลุ่มตัวอย่างพบว่า เนื้อหาของบทเรียน กิจกรรมการเรียนการสอนควรมีการออกแบบให้น่าสนใจเหมาะสมกับเวลา ในการเรียนการสอนออนไลน์ที่จะต่างจากการเรียนการสอนปกติ สื่อการสอนควรมีความสัมพันธ์กับเนื้อหา มีความทันสมัยน่าสนใจ สื่อสัญญาณอินเทอร์เน็ตควรมีความเสถียรและควรมีบริการฟรีสำหรับการเรียน อุปกรณ์ในการเรียนการสอนควรมีการสำรวจความพร้อมของผู้เรียนและสถานศึกษาควรหาวิธีการสนับสนุนอุปกรณ์การเรียนให้กับนักศึกษา การสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียนควรมีการสื่อสารที่สร้างความเข้าใจตรงกัน ควรมีการสื่อสารหลายช่องทาง การเรียนการสอนควรมีความยืดหยุ่นในเรื่องของเวลาและกิจกรรมการเรียนการสอน นอกจากนั้นคือมีการให้ความรู้การถ่ายทอดทักษะการใช้งานเทคโนโลยีเหล่านั้นให้แก่ผู้สอน, ผู้เรียนได้มีความสามารถในการแก้ไขปัญหาขัดข้องที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการจัดการเรียนการสอนเมื่อนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลแนวทางในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์และสรุปเป็นประเด็นสำคัญๆได้ 4 ประเด็น ได้แก่ ด้านบทบาทของผู้สอน การบริหารจัดการในระหว่างการเรียน การออกแบบการเรียนการสอน และความพร้อมทางด้านเทคโนโลยี