การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลกระทบเนื่องจากกิจกรรมงานที่ทามาก่อนหน้า โดยเลือก กิจกรรมงานเสาเข็มเจาะระบบแห้ง โครงการก่อสร้างอาคารกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เป็นกรณีศึกษา โครงการที่ศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีเสาเข็มเจาะ จำนวน 54 ต้น พบว่า ค่าความคลาดเคลื่อนเกินเกณฑ์ที่ยอมให้ 11 ต้น คิดเป็นร้อยละ 20.37 และจากการตรวจสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มด้วยวิธี Seismic Integrity Test ตามมาตรฐาน ASTM.D 5882-00 พบว่า เสาเข็มอยู่ในสภาพสมบูรณ์ จำนวน 53 ต้น คิดเป็นร้อยละ 98.15 และเสาเข็มอยู่ในสภาพบกพร่องบริเวณหัวเสาเข็ม จำนวน 1 ต้น คิดเป็นร้อยละ 1.85 ตำแหน่งของเสาเข็มคลาดเคลื่อนเกินเกณฑ์ที่ยอมให้ ต้องออกแบบแก้ไขฐานรากใหม่ ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนเงิน 75,760.16 บาท ใช้ระยะเวลาในการทำงานเพิ่ม 10 วัน งานก่อสร้างมีกิจกรรมงานอีกหลายกิจกรรม หากทาไม่ได้คุณภาพจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนของโครงการ และระยะเวลาในการก่อสร้าง อาจจะทำให้ประสบปัญหาขาดทุน ไม่สามารถส่งมอบงานตามกาหนดระยะเวลา ทำให้มีค่าปรับเกิดขึ้น ดังนั้นผู้รับเหมาก่อสร้าง ควรให้ความสาคัญกับการบริหารจัดการที่หน้างานให้ดี มีการตรวจสอบก่อนเริ่มทำงาน ขณะทำงาน โดยผู้ที่มีตาแหน่งสูงกว่าตรวจสอบอีกครั้งหนึ่ง เพื่อเป็นการตรวจทานการทำงานของวิศวกรสนาม ก็สามารถลดข้อผิดพลาดในการทำงานลงได้