ภาพปกงานวิจัย การใช้ทฤษฎีพหุปัญญาในการจัดการเรียนการสอนวิชาพลศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
เจ้าของงานวิจัย ขจรเกียรติ ขุนชิต ฉลอง อภิวงค์
หมวดหมู่ การศึกษา
Subject การสอน นักศึกษาปริญญาตรี พฤติกรรมการเรียน พลศึกษา นักศึกษา พฤติกรรม การแสดงออก การเคลื่อนไหว
วันที่ตีพิมพ์ 2565
เอกสารประกอบ ดาวน์โหลด
จำนวนเข้าชม 447

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการเรียนการสอนวิชาพลศึกษาโดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เพื่อศึกษาความสามารถในการเรียนวิชาพลศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเรียนการสอนวิชาพลศึกษากับความสามารถในการเรียนวิชา พลศึกษาโดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครโดยดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2564 เป็นการวิจัยเชิงสำรวจที่ใช้เครื่องมือแบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วย 4 ส่วน คือ 1) ข้อมูลทั่วไปของนักศึกษาซึ่งเป็นลักษณะทางประชากรศาสตร์ 2) ลักษณะองค์ประกอบของการสอนแบบการใช้ทฤษฎีพหุปัญญา 3) ขั้นตอนการสอนพลศึกษาด้วยการสอนแบบการใช้ทฤษฎีพหุปัญญาเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย และ 4) ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเรียนการสอนวิชาพลศึกษากับความพึงพอใจที่นักศึกษามีต่อการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาโดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญา โดยมีกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จำนวน 357 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนาสำหรับข้อมูลลักษณะทางประชากรศาสตร์ ผลการศึกษาพบว่า ข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พระนคร พบว่า ส่วนใหญ่กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง อายุ 19 ปี เป็นนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มีความคิดเห็นที่มีต่อการสอนวิชาการพลศึกษาด้วยการสอนแบบการใช้ทฤษฎีพหุปัญญา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เพราะนักศึกษาทุกคนมีความสำคัญเท่าเทียมกัน ต้องรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเอง มีการเคลื่อนไหวร่างกาย มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ได้ใช้ประสบการณ์เดิมเพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ และขั้นตอนการสอนพลศึกษาด้วยการสอนแบบการใช้ทฤษฎีพหุปัญญา เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด และนักศึกษาที่มีเพศ อายุ ที่แตกต่างกันมีความ พึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาโดยใช้ทฤษฎี พหุปัญญาไม่แตกต่างกัน แต่นักศึกษาที่เรียนคณะต่างกันจะมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาโดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญาแตกต่างกัน 3 ขั้น ดังนี้1. ขั้นสอน / สาธิต 2. ขั้นปฏิบัติ และ 3. ขั้นปรับปรุง

APA

ขจรเกียรติ ขุนชิต. ฉลอง อภิวงค์. ( 2565 ). การใช้ทฤษฎีพหุปัญญาในการจัดการเรียนการสอนวิชาพลศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

Chicago

ขจรเกียรติ ขุนชิต. ฉลอง อภิวงค์. การใช้ทฤษฎีพหุปัญญาในการจัดการเรียนการสอนวิชาพลศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2565.

MLA

ขจรเกียรติ ขุนชิต. ฉลอง อภิวงค์. การใช้ทฤษฎีพหุปัญญาในการจัดการเรียนการสอนวิชาพลศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2565.

Vancouver

ขจรเกียรติ ขุนชิต. ฉลอง อภิวงค์. การใช้ทฤษฎีพหุปัญญาในการจัดการเรียนการสอนวิชาพลศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร; 2565.