ภาพปกงานวิจัย การจัดการความรู้ในการดูแลรักษาสุขภาพตามวิถีไทยด้วยสมุนไพรฟ้าทะลายโจรกรณีศึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านห้วยกระเจา-บ่อยา อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี
เจ้าของงานวิจัย ณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์
หมวดหมู่ สมุนไพร
Subject ภูมิปัญญาชาวบ้าน ฟ้าทะลายโจร การบริหารองค์ความรู้
วันที่ตีพิมพ์ 2565
เอกสารประกอบ ดาวน์โหลด
จำนวนเข้าชม 432

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและสังเคราะห์ภูมิปัญญาไทยในการดูแลรักษาสุขภาพตามวิถีไทยในด้านต่าง ๆ 2) เพื่อศึกษากระบวนการ การจัดการความรู้ (Knowledge anagement) ภูมิปัญญาไทยของหมอพื้นบ้าน ในการดูแลรักษาสุขภาพ 3) เพื่อถ่ายทอดการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลรักษาสุขภาพด้วยฟ้าทะลายโจรตามวิถีชาวบ้านไปยังกลุ่มเป้าหมาย 4) เพื่อศึกษารูปแบบผลิตภัณฑ์สมุนไพรฟ้าทะลายโจรสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประชาชนในท้องถิ่น ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม (Mixed method research) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ และการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ประชากรที่อาศัยอยู่ในชุมชนบ้านห้วยกระเจา-บ่อยา อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่าง จานวน 90 คน ได้มาโดยการกำหนดจากการสุ่มแบบง่าย นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยสถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x̄) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยด้านการจัดการความรู้การแปรรูปผลิตภัณฑ์สมุนไพรฟ้าทะลายโจร โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x ̅= 4.73, S.D. = 0.281) ความยืดหยุ่นของกระบวนการศึกษาวิจัยในการปรับเปลี่ยนไปตามความสนใจของชุมชน เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การประยุกต์ใช้สมุนไพรได้อย่างมีประสิทธิผล ประชาชนในพื้นที่สามารถนาองค์ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการดูแลรักษาสุขภาพที่เหมาะกับสถานการณ์ของชุมชน เมื่อแยกเป็นรายด้านพบว่าการจัดการความรู้ด้านความเชื่อในครอบครัวมากที่สุด (x ̅= 4.80, S.D. = 0.402) ส่วนกระบวนการจัดการความรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅=4.92, S.D. = 0.246) พบว่า ประชาชนในพื้นที่สามารถนาองค์ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการดูแลรักษาสุขภาพที่เหมาะกับสถานการณ์ชุมชนมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการเรียนรู้จากสื่อออนไลน์มากที่สุด (x ̅= 4.94, S.D. = 0.230) การวิเคราะห์เชิงคุณภาพส่วนด้านการถ่ายทอดการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลรักษาสุขภาพด้วยฟ้าทะลายโจร โดยภาพรวมพบว่านำสมุนไพรฟ้าทะลายโจรมาแปรสภาพเป็น เม็ด ลูกกลอน แคปซูล ฯลฯ เพื่อใช้สะดวกมากขึ้น การวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าการดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพรฟ้าทะลายโจร ตามภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้น ต้องได้รับการแนะนำการใช้จากแพทย์แผนปัจจุบันด้วย เพราะไม่มีหนังสือรับรองหมอพื้นบ้าน

APA

ณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์. ( 2565 ). การจัดการความรู้ในการดูแลรักษาสุขภาพตามวิถีไทยด้วยสมุนไพรฟ้าทะลายโจรกรณีศึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านห้วยกระเจา-บ่อยา อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

Chicago

ณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์. การจัดการความรู้ในการดูแลรักษาสุขภาพตามวิถีไทยด้วยสมุนไพรฟ้าทะลายโจรกรณีศึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านห้วยกระเจา-บ่อยา อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี. กาญจนบุรี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2565.

MLA

ณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์. การจัดการความรู้ในการดูแลรักษาสุขภาพตามวิถีไทยด้วยสมุนไพรฟ้าทะลายโจรกรณีศึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านห้วยกระเจา-บ่อยา อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2565.

Vancouver

ณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์. การจัดการความรู้ในการดูแลรักษาสุขภาพตามวิถีไทยด้วยสมุนไพรฟ้าทะลายโจรกรณีศึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านห้วยกระเจา-บ่อยา อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร; 2565.