ภาพปกงานวิจัย การสร้างทักษะแฟชั่นและการจัดการสินค้าด้วยสื่อการรู้ดิจิทัล
เจ้าของงานวิจัย เกชา ลาวงษา ไตรถิกา พิชิตเดช เกศทิพย์ กรี่เงิน มัลลิกา จงจิตต์ สุวดี ประดับ กฤตพร ชูเส้ง อัชชา หัทยานานนท์
หมวดหมู่ คอมพิวเตอร์
Subject หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ การสร้างคลังข้อมูล
วันที่ตีพิมพ์ 2565
เอกสารประกอบ ดาวน์โหลด
จำนวนเข้าชม 485

การสร้างทักษะแฟชั่นและการจัดการสินค้าด้วยสื่อการรู้ดิจิทัล มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างทักษะและจัดทำสื่อการรู้ดิจิทัลด้านแฟชั่นและการจัดการสินค้า และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ สื่อการรู้ดิจิทัลด้านแฟชั่นและการจัดการสินค้า โดยจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ความรู้ด้านแฟชั่น จัดทำแบบสอบถามแบบออนไลน์ วิเคราะห์ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามด้วยค่าสัมประสิทธิแอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.969 โพสต์ช่องทางการเข้าถึงแบบสอบถามในโซเชียลมีเดีย ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ ถึง เมษายน 2566 รวบรวมผลจากแบบสอบถาม ความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบสะดวกจากบุคคลทั่วไปที่ชมหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ความรู้ด้านแฟชั่น และมีความยินดีให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถาม แบบออนไลน์ จำนวน 40 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา สรุปผลดังนี้ การจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ความรู้ด้านแฟชั่น เป็นประเภทหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสอน ประกอบด้วยเนื้อหาตามกลุ่มทักษะที่สำคัญสำหรับการศึกษาด้านออกแบบแฟชั่นและการจัดการสินค้า 5 กลุ่ม คือ การออกแบบ ผ้าและการตัดเย็บ การสร้างสรรค์ลวดลายการนำเสนอผลงานแฟชั่น และการจัดการสินค้า ใช้โปรแกรม FlipHTML5 เพราะสะดวกต่อผู้เรียนในการใช้งานและการเข้าถึง ออกแบบโครงสร้างเนื้อหาแบบไม่เป็นเส้นตรงเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเลือก หรือข้าม หรือย้อนไปยังเนื้อหาที่ต้องการได้ ผลความพึงพอใจต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ความรู้ด้านแฟชั่น ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นกลุ่มตัวอย่างส่วนมากเป็นบุคคลภายนอกสาขาวิชาออกแบบแฟชั่นและการจัดการสินค้า (ร้อยละ 45.00) อาชีพนักเรียน/นักศึกษา (ร้อยละ 35.00) อายุระหว่าง 18-22 ปี (ร้อยละ 35.00) ทุกคนใช้โทรศัพท์มือถือเป็นเครื่องมือในการเข้าถึงแหล่งความรู้ในอินเทอร์เน็ต (ร้อยละ 100.00) และส่วนใหญ่เคยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (ร้อยละ 80.00) มีความพึงพอใจเฉลี่ยรวมในระดับพึงพอใจมากในด้านเนื้อหา (ค่าเฉลี่ย 4.40 ค่า S.D. 0.50) ด้านคุณภาพ (ค่าเฉลี่ย 4.48 ค่า S.D. 0.47) และมีความพึงพอใจมากที่สุดในด้านความพึงพอใจโดยภาพรวม (ค่าเฉลี่ย 4.51 และค่า S.D. 0.44) ผู้ตอบแบบสอบถามให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเพิ่มคลิปวิดีโอ หรือภาพเคลื่อนไหวในช่วงของงานปฏิบัติ สำหรับข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป คือ การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉพาะเรื่องที่ผู้สนใจสามารถนำไปประกอบอาชีพได้ รวมถึงการศึกษาความต้องการพัฒนาทักษะเดิม เพิ่มเติมทักษะใหม่ ของผู้ประกอบอาชีพหรือแรงงานในสาขาอาชีพต่าง ๆ เพื่อนำมากำหนดรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย

APA

เกชา ลาวงษา. ไตรถิกา พิชิตเดช. เกศทิพย์ กรี่เงิน. มัลลิกา จงจิตต์. สุวดี ประดับ. กฤตพร ชูเส้ง. อัชชา หัทยานานนท์. ( 2565 ). การสร้างทักษะแฟชั่นและการจัดการสินค้าด้วยสื่อการรู้ดิจิทัล. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

Chicago

เกชา ลาวงษา. ไตรถิกา พิชิตเดช. เกศทิพย์ กรี่เงิน. มัลลิกา จงจิตต์. สุวดี ประดับ. กฤตพร ชูเส้ง. อัชชา หัทยานานนท์. การสร้างทักษะแฟชั่นและการจัดการสินค้าด้วยสื่อการรู้ดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2565.

MLA

เกชา ลาวงษา. ไตรถิกา พิชิตเดช. เกศทิพย์ กรี่เงิน. มัลลิกา จงจิตต์. สุวดี ประดับ. กฤตพร ชูเส้ง. อัชชา หัทยานานนท์. การสร้างทักษะแฟชั่นและการจัดการสินค้าด้วยสื่อการรู้ดิจิทัล. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2565.

Vancouver

เกชา ลาวงษา. ไตรถิกา พิชิตเดช. เกศทิพย์ กรี่เงิน. มัลลิกา จงจิตต์. สุวดี ประดับ. กฤตพร ชูเส้ง. อัชชา หัทยานานนท์. การสร้างทักษะแฟชั่นและการจัดการสินค้าด้วยสื่อการรู้ดิจิทัล. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร; 2565.