ภาพปกงานวิจัย พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สุขอนามัยด้วยสมุนไพรภายใต้วิถีใหม่ (New Normal)
เจ้าของงานวิจัย ผุสสดี วัฒนเมธา ขวัญฤทัย วงศ์กำแหงหาญ จิรพร มหาอินทร์
หมวดหมู่ บริหารธรุกิจ
Subject การตลาด – การตัดสินใจ พฤติกรรมผู้บริโภค
วันที่ตีพิมพ์ 2566
เอกสารประกอบ ดาวน์โหลด
จำนวนเข้าชม 539

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สุขอนามัยด้วสมุนไพรภายใต้วิถีใหม่ (New Normal) 2. เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สุขอนามัยด้วยสมุนไพรภายใต้วิถีใหม่ (New Normal) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่ซื้อ หรือ ใช้ ผลิตภัณฑ์สุขอนามัยด้วยสมุนไพร ประเภทผลิตภัณฑ์ชำระล้าง หรือทำความสะอาดมือที่ส่วนผสมมาจากสมุนไพร จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือใน เก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของประชากร 2 กลุ่ม (การหาค่าที) การวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของประชากรที่มากกว่า 2 กลุ่ม โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษาพบว่า 1 ผู้บริโภคที่ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 21-30 ปี มีสถานภาพโสดมากกว่าสมรส/อยุ่ด้วยกัน การศึกษาส่วนใหญ่ระดับปริญญาตรี รองลงมาคือ ระดับระดับปริญญาโท และต่ำกว่าปริญญาตรี ตามลำดับ อาชีพส่วนใหญ่เป็นพนักงานบริษัทเอกชน รองลงมา นักเรียน/นักศึกษา และธุรกิจส่วนตัว/อิสระ ตามลำดับ รายได้ส่วนใหญ่มีรายได้ต่อเดือน 15,001-30,000 บาท รองลงมา รายได้ต่อเดือน 30,001-45,000 บาท และรายได้ต่อเดือนต่ำกว่าหรือเท่ากับ 15,000 บาท ตามลำดับ 2 ข้อมูลส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ พบว่า ผู้บริโภคมีระดับความคิดเห็นมากที่สุด โดยรวม และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผู้บริโภคมีความคิดเห็นมากที่สุดในข้อ ความปลอดภัยกับผู้ใช้ผลิตภัณฑ์สุขอนามัยด้วยสมุนไพร ผลิตภัณฑ์มีสีตามธรรมชาติ ปราศจากการแต่งสีผลิตภัณฑ์ได้มาตรฐานมีเครื่องหมายรับรองคุณภาพ ผลิตภัณฑ์มีกลิ่นตามธรรมชาติปราศจากน้ำหอม 3 ข้อมูลส่วนประสมทางการตลาดด้านราคา พบว่า ผู้บริโภคมีระดับความคิดเห็นมากที่สุดโดยรวม และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผู้บริโภคมีความคิดเห็นมากที่สุดในข้อ ราคาเหมาะสมกับปริมาณบรรจุของผลิตภัณฑ์สุขอนามัยด้วยสมุนไพร ราคาผลิตภัณฑ์สุขอนามัยด้วยสมุนไพรเหมาะสมกับคุณภาพ ผลิตภัณฑ์สุขอนามัยด้วยสมุนไพรมีความคุ้มค่ากับประโยชน์ที่ได้รับ และผู้บริโภคมีระดับความคิดเห็นมากในข้อ ราคาผลิตภัณฑ์สุขอนามัยด้วยสมุนไพรแพงกว่าผลิตภัณฑ์สุขอนามัยทั่วไป 4 ข้อมูลส่วนประสมทางการตลาดด้านช่องทางการจัดจำหน่าย พบว่า ผู้บริโภคมีระดับความคิดเห็นมากที่สุดโดยรวม และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผู้บริโภคมีความคิดเห็นมากที่สุดในข้อผลิตภัณฑ์สุขอนามัยด้วยสมุนไพรมีหลากหลายช่องทางการขาย หาซื้อได้ง่าย เช่น ห้างสรรพสินค้าร้านสะดวกซื้อ ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้าออนไลน์ เป็นต้น วิธีการชำระเงินที่มีความหลากหลาย เช่น การจ่ายด้วยพร้อมเพย์ เป๋าตังค์ เงินสด เป็นต้น การจัดส่งผลิตภัณฑ์สุขอนามัยด้วยสมุนไพรสะดวกรวดเร็ว ถึงมือผู้บริโภคในเวลาที่ต้องการ และผู้บริโภคระดับมีความคิดเห็นมากในข้อการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์สุขอนามัยด้วยสมุนไพรจากช่องทางออนไลน์ เช่น Facebook และ Line 5 ข้อมูลส่วนประสมทางการตลาดด้านการส่งเสริมการตลาด พบว่า ผู้บริโภคมีระดับความคิดเห็นมากที่สุด โดยรวม และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ด้านการได้รับข้อมูลผลิตภัณฑ์สุขอนามัยด้วยสมุนไพรอย่างดี เช่น Brochure แนะนำผลิตภัณฑ์ และ ผ่านสื่อโซเซียลมีเดีย การมีประสบการณ์การทดลองใช้ผลิตภัณฑ์สุขอนามัยด้วยสมุนไพร กิจกรรมส่งเสริมการขาย เช่น โฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อโทรทัศน์ โฆษณาทางสื่อโซเซียลมีเดีย การจัดแสดงสินค้า ณ จุดจำหน่ายตาม ร้านค้าต่าง ๆ หรือ งานแสดงสินค้าเกี่ยวกับสมุนไพรต่าง ๆการทดสอบสมมติฐาน พบว่า 1. ผู้บริโภคที่มีอายุแตกต่างกัน มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ ฯ ด้านความถี่การซื้อผลิตภัณฑ์ ฯ และฯ ด้านเหตุผลหลักที่ทำให้ท่านเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ ฯ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 05 ผู้บริโภคที่มีสถานภาพแตกต่างกัน มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ ฯ ด้านความถี่การซื้อผลิตภัณฑ์ ฯ ด้านเหตุผลหลักที่ทำให้ตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ ฯ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 05 ผู้บริโภคที่มีอาชีพแตกต่างกัน มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ ฯ ด้านความถี่ การซื้อผลิตภัณฑ์ ฯ และด้านเหตุผลหลักที่ทำให้ตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ ฯ แตกต่างกันกัน อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 05 ผู้บริโภคที่มีรายได้ต่อเดือนแตกต่างกัน มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ ฯ ด้าน ความถี่การซื้อผลิตภัณฑ์ ฯ ด้านเหตุผลหลักที่ทำให้ตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ ฯ และด้านเนื้อผลิตภัณฑ์ ฯ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 05 2. ผู้บริโภคที่มีปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ฯ แตกต่างกัน มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ ฯ ด้านความถี่การซื้อผลิตภัณฑ์ ฯ และด้านเหตุผลหลักที่ทำให้ตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ ฯแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 05 ผู้บริโภคที่มีปัจจัยด้านราคาผลิตภัณฑ์ ฯ แตกต่างกัน มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ ฯ ด้านความถี่การซื้อผลิตภัณฑ์ ฯ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 05 ผู้บริโภคที่มีปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ฯ แตกต่างกัน มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ ฯ ด้านความถี่การซื้อผลิตภัณฑ์ ฯ และฯ ด้านเนื้อผลิตภัณฑ์ ฯ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 05 ผู้บริโภคที่มีปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์ ฯ แตกต่างกัน มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ ฯ ด้านความถี่การซื้อผลิตภัณฑ์ฯ ด้านเหตุผลหลักที่ทำให้ตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ ฯ และด้านเนื้อผลิตภัณฑ์ ฯ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 05

APA

ผุสสดี วัฒนเมธา. ขวัญฤทัย วงศ์กำแหงหาญ. จิรพร มหาอินทร์. ( 2566 ). พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สุขอนามัยด้วยสมุนไพรภายใต้วิถีใหม่ (New Normal). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

Chicago

ผุสสดี วัฒนเมธา. ขวัญฤทัย วงศ์กำแหงหาญ. จิรพร มหาอินทร์. พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สุขอนามัยด้วยสมุนไพรภายใต้วิถีใหม่ (New Normal). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2566.

MLA

ผุสสดี วัฒนเมธา. ขวัญฤทัย วงศ์กำแหงหาญ. จิรพร มหาอินทร์. พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สุขอนามัยด้วยสมุนไพรภายใต้วิถีใหม่ (New Normal). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2566.

Vancouver

ผุสสดี วัฒนเมธา. ขวัญฤทัย วงศ์กำแหงหาญ. จิรพร มหาอินทร์. พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สุขอนามัยด้วยสมุนไพรภายใต้วิถีใหม่ (New Normal). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร; 2566.