ภาพปกงานวิจัย สีบาติกไทยโทนเพื่อการสร้างมูลค่างานแกะสลักเชิงพาณิชย์ของกลุ่มผู้เรียนระดับอุดมศึกษา ในศตวรรษที่ 21
เจ้าของงานวิจัย สุกัญญา ศรีชนะ ศุภสิทฐ์ วราศิลป์ ปิยะธิดา สีหะวัฒนกุล สุกัญญา จันทกุล สุชีรา ผ่องใส อนุสรณ์ ใจทน
หมวดหมู่ ศิลปประดิษฐ์ ตกแต่ง
Subject สี
วันที่ตีพิมพ์ 2566
เอกสารประกอบ ดาวน์โหลด
จำนวนเข้าชม 5

โครงการวิจัยเรื่อง สีบาติกไทยโทนเพื่อการสร้างมูลค่างานแกะสลักเชิงพาณิชย์ของกลุ่มผู้เรียนระดับอุดมศึกษาในศตวรรษที่ 21 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสีบาติกไทยโทนเพื่อการสร้างมูลค่างานแกะสลักเชิงพาณิชย์ และความพึงพอใจการใช้สีบาติกไทยโทนเพื่อการสร้างมูลค่างานแกะสลักเชิงพาณิชย์ของกลุ่มผู้เรียนระดับอุดมศึกษาในศตวรรษที่ 21 ดำเนินการศึกษาโดยรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง นำข้อมูลที่ได้มาจัดทำชุดสีบาติกไทยโทน และสอบถามข้อมูลจากความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญจำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มนักวิชาการด้านการแกะสลักสบู่ จำนวน 10 คน และกลุ่มที่สองกลุ่มผู้ประกอบการด้านการแกะสลักสบู่ จำนวน 10 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 20 คน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ และสรุปผล จากนั้นนำผลงานที่ได้ไปสำรวจความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายในครั้งนี้ จำนวน 20 คน นำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์โดยใช้ค่าความถี่ ค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่า S.D. ผลการศึกษาพบว่า สีบาติกไทยโทนเพื่อการสร้างมูลค่างานแกะสลักเชิงพาณิชย์ของกลุ่มผู้เรียนระดับอุดมศึกษาในศตวรรษที่ 21 นำสีบาติกมาผสมให้ได้กลุ่มสีไทยโทน ได้แก่ สีเหลืองรง สีเหลืองไพล สีแดงชาด สีดำเขม่า สีส้มเสน สีน้ำตาลไหม้ สีเขียวน้ำไหล สีมอหมึกอ่อน สีม่วงดอกตะแบก สีเขียวดิน สีขาบ สีคราม สีดิน สีหงสบาท และสีม่วงผักตบ โดยการเปรียบเทียบกับสีน้ำไทยโทน และตรวจสอบโทนสีด้วยเครื่องวัดความเข้มของแสง (Spectrophotometer) ส่วนความพึงพอใจด้านสีบาติกไทยโทนเพื่อการสร้างมูลค่างานแกะสลักเชิงพาณิชย์ของกลุ่มผู้เรียนระดับอุดมศึกษาในศตวรรษที่ 21 กลุ่มนักวิชาการด้านการแกะสลักสบู่มีความพึงพอใจอยู่ระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.52 มากกว่ากลุ่มผู้ประกอบการด้านการแกะสลักสบู่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.50 ด้านการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์งานแกะสลักสบู่ กลุ่มนักวิชาการด้านการแกะสลักสบู่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.52 ผู้ประกอบการด้านการแกะสลักสบู่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.62 ด้านการเพิ่ม มูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์งานแกะสลักสบู่ กลุ่มนักวิชาการด้านการแกะสลักสบู่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.62 กลุ่มผู้ประกอบการด้านการแกะสลักสบู่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.72 ด้านการต่อยอดเป็นธุรกิจ SMEs กลุ่มนักวิชาการด้านการแกะสลักสบู่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.40 กลุ่มผู้ประกอบการด้านการแกะสลักสบู่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.27

APA

สุกัญญา ศรีชนะ. ศุภสิทฐ์ วราศิลป์. ปิยะธิดา สีหะวัฒนกุล. สุกัญญา จันทกุล. สุชีรา ผ่องใส. อนุสรณ์ ใจทน. ( 2566 ). สีบาติกไทยโทนเพื่อการสร้างมูลค่างานแกะสลักเชิงพาณิชย์ของกลุ่มผู้เรียนระดับอุดมศึกษา ในศตวรรษที่ 21. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

Chicago

สุกัญญา ศรีชนะ. ศุภสิทฐ์ วราศิลป์. ปิยะธิดา สีหะวัฒนกุล. สุกัญญา จันทกุล. สุชีรา ผ่องใส. อนุสรณ์ ใจทน. สีบาติกไทยโทนเพื่อการสร้างมูลค่างานแกะสลักเชิงพาณิชย์ของกลุ่มผู้เรียนระดับอุดมศึกษา ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2566.

MLA

สุกัญญา ศรีชนะ. ศุภสิทฐ์ วราศิลป์. ปิยะธิดา สีหะวัฒนกุล. สุกัญญา จันทกุล. สุชีรา ผ่องใส. อนุสรณ์ ใจทน. สีบาติกไทยโทนเพื่อการสร้างมูลค่างานแกะสลักเชิงพาณิชย์ของกลุ่มผู้เรียนระดับอุดมศึกษา ในศตวรรษที่ 21. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2566.

Vancouver

สุกัญญา ศรีชนะ. ศุภสิทฐ์ วราศิลป์. ปิยะธิดา สีหะวัฒนกุล. สุกัญญา จันทกุล. สุชีรา ผ่องใส. อนุสรณ์ ใจทน. สีบาติกไทยโทนเพื่อการสร้างมูลค่างานแกะสลักเชิงพาณิชย์ของกลุ่มผู้เรียนระดับอุดมศึกษา ในศตวรรษที่ 21. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร; 2566.