จำนวนงานวิจัย ( 91 )

แนวทางการจัดการท่องเที่ยวยั่งยืนหลังการเปิดประเทศไทยปี 2565 ของตลาดน้าอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
ตลาดน้าอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม จัดเป็นแหล่งท่องที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษกิจของจังหวัดสมุทรสงคราม และมีชื่อเสียงที่เป็นที่รู้จักกันดีสำหรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ มีการบริการอาหารคาว-หวานโบราณของไทยทั้งบนบกและในเรือ เช่น ก๋วยเตี๋ยวโบราณ ผัดไทย หอยทอด ขนมทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ขนมสัมปันนี และขนมไทยโบราณที่หาทานยาก นอกจากนี้ ตลาดน้ำอัมพวายังมีร่องรอยของสิ่งปลูกสร้างและวิถีชีวิตของประชาชนในอดีตที่มีอายุยาวเกินกว่าร้อยปี เพื่อให้มีการจัดการท่องเที่ยวยั่งยืนของตลาดน้ำอัมพวา การวิจัยครั้งนี มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลกระทบของการจัดการท่องเที่ยวของตลาดน้ำอัมพวา และเพื่อหาแนวทางการจัดการท่องเที่ยวยั่งยืนหลังการเปิดประเทศไทยปี 2565 การวิจัยนี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ (Mixed Method) โดยใช้การรวบรวมข้อมูลจาก แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ กับกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ตัวแทนกลุ่มบุคคลผู้รับผิดชอบและผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียเกี่ยวข้องกับการจัดการ การให้บริการและการจัดการท่องเที่ยวในบริเวณตลาดน้ำอัมพวาจากแบบสอบถามจำนวน 200 คน และจากแบบสัมภาษณ์ จำนวน 20 คน สรุปผลการวิจัยได้ ดังนี้ 1) การท่องเที่ยวตลาดน้าอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม มีผลกระทบทางบวก หรือมีผลดีต่อการจัดการท่องเที่ยวยั่งยืนของตลาดน้าอัมพวา ทางด้านสังคม วัฒนธรรม เศรษกิจ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งการท่องเที่ยวของตลาดน้ำอัมพวาก่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีของชาวบ้านและไม่ท้าให้เกิดปัญหาสังคมต่อชุมชน เช่น การลักขโมย หรือยาเสพติด การท่องเที่ยวของตลาดน้ำอัมพวาทำให้มีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมวัดในจังหวัดสมุทรสงครามมากขึนและท้าให้เกิดการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย เช่น งานศิลปหัตถกรรม การสร้างผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ และยาสมุนไพร การท่องเที่ยวของตลาดน้ำอัมพวาทำให้เกิดการกระจายรายได้ของชาวบ้านและท้าให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น และการท่องเที่ยวของตลาดน้าอัมพวาไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมในด้านน้ำเสีย ขยะ หรือฝุ่น PM 2.5 และไม่ทำให้เกิดการแพร่กระจายของโรคติดต่อแบบเป็นกลุ่ม 2) แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวยั่งยืนของตลาดน้ำอัมพวาหลังการเปิดประเทศไทยปี พ.ศ. 2565 มีดังนี้ 1) ควรมีความร่วมมือกันระหว่างชุมชน เอกชน และภาครัฐ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือผู้มีส่วนได้เสีย 2) ควรใช้สื่อประชาสัมพันธ์อาจใช้แคมเปญจากภาครัฐและการให้ความรู้ 3) ใช้บทลงโทษทางสังคมหรือกฎระเบียบสังคม 4) บังคับใช้กฎหมายเพื่อปรับ 5) ควรใช้มาตรการป้องกันโรคติดต่อและมาตรฐานความสะอาด

กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำสำหรับยกระดับการท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรี
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยในเชิงปริมาณ(Quantitative Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ1) เพื่อศึกษาความรู้ ความเข้าใจ และการรับรู้ข่าวสารต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำสำหรับยกระดับการท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรี2) เพื่อศึกษาระดับของการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำสำหรับยกระดับการท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คนใช้การสุ่มแบบสะดวกเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ลการวิจัยพบว่า 1) ความรู้ ความเข้าใจ และการรับรู้ข่าวสารต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำสำหรับยกระดับการท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรีภาพรวมอยู่ในระดับมาก2) ระดับของการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำสำหรับยกระดับการท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรีอยู่ในระดับมาก

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อการออกแบบและผลิตเครื่องประดับ : กรณีศึกษาเครื่องประดับจังหวัดเพชรบุรี
การวิจัยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการออกแบบและผลิตเครื่องประดับเพชรบุรีในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความสนใจในการสืบทอด และสร้างแรงงานฝีมือรุ่นใหม่ในงานเครื่องประดับเพชรบุรี โดยมีพื้นที่ศึกษา ณ ตำบลท่าราบ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี ทั้งนี้เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตเครื่องประดับเพชรบุรี รวมถึงกลุ่มผู้บริโภคเครื่องประดับเพชรบุรี ผ่านการใช้แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบประเมินความพึงพอใจในการเก็บข้อมูลในงานวิจัยครั้งนี้ จากการศึกษการนำรูปแบบเครื่องประดับ “กระดุมทอง” ที่เป็นเอกลักษณ์ของเครื่องประดับเพชรบุรี เนื่องด้วยกรรมวิธีการผลิตที่ซับซ้อนหลายขั้นตอน ผู้วิจัยได้นารูปแบบเครื่องประดับดังกล่าวสร้างเป็นแบบจำลอง 3 มิติ ผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (MatrixGold) และสร้างเป็นต้นแบบตัวเรือนเครื่องประดับจากวัสดุแว็กซ์เหลว ด้วยเทคโนโลยีการขึ้นรูปด้วยเครื่องสร้างต้นแบบอย่างรวดเร็ว (Rapid Prototype Machine, RP) ซึ่งสามารถสร้างต้นแบบที่มีโครงสร้างซับซ้อนได้เป็นอย่างดี โดยใช้วัสดุเป็นแว็กซ์เหลวที่สามารถนำไปหล่อตัวเรือนได้เลย ในส่วนของกระบวนการหล่อตัวเรือนเครื่องประดับนั้น ผู้วิจัยใช้การหล่อต้นแบบด้วยเครื่องหล่อระบบสุญญากาศ กระบวนการดังกล่าวใช้ระยะเวลาการผลิต 3 – 5 วัน จากเดิมที่ผลิตด้วยมือใช้เวลา 7-14 วัน เมื่อได้ต้นแบบแล้วสามารถนาต้นแบบที่ได้สร้างเป็นพิมพ์ยาง เพื่อใช้ในการผลิตในครั้งต่อไปโดยไม่ต้องสร้างต้นแบบใหม่ การใช้เทคโนโลยีในการผลิตเป็นกระบวนการผลิตที่สามารถลดเวลา ลดต้นทุนในการผลิต และยังสามารถผลิตได้จำนวนมากในครั้งเดียว อีกทั้งยังสามารถปรับแก้ต้นแบบก่อนการผลิตได้อีกด้วย ผลการวิเคราะห์แบบประเมินความพึงพอใจกลุ่มผู้บริโภค ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อการออกแบบและผลิตเครื่องประดับเพชรบุรี จานวน 100 คน พบว่า มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ( =4.74) โดยมีส่วนค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.=0.47)

การพัฒนาชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษตามแนวคิดการเรียนรู้แบบสืบสอบ และ2) ศึกษาประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการอ่านเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ชั้นปีที่ 3 จำนวน 41 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษตามแนวคิดการเรียนรู้แบบสืบสอบ และแบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษตามแนวคิดการเรียนรู้แบบสืบสอบ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างความสนใจ (Engagement) ขั้นตอนที่ 2 การสำรวจและค้นหา (Exploration) ขั้นตอนที่ 3 การอธิบายและหาข้อสรุป (Explanation) ขั้นตอนที่ 4 การขยายความรู้ (Elaboration) ขั้นตอนที่ 5 การประเมินผล (Evaluation) 2) ผลการศึกษาประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการอ่านที่พัฒนาขึ้น พบว่า ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษากลุ่มทดลอง หลังการทดลองสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

การพัฒนาระบบฐานข้อมูลพันธุกรรมพืช และวัฒนธรรมพื้นถิ่น ของคณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาระบบจัดเก็บข้อมูลพันธุกรรมพืช และ ข้อมูลวัฒนธรรมพื้นถิ่น ที่ได้จากการสารวจโดยคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร และ เพื่อสนองพระราชดาริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดาริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ซึ่งเป็นภารกิจที่สาคัญของมหาวิทยาลัยฯ ในการรวบรวมข้อมูลพันธุกรรมพืชที่หายาก และ รวบรวมข้อมูลวัฒธรรมพื้นที่ทรงคุณค่าไม่ให้สูญหาย กับทั้งเพื่อความสะดวกในการสืบค้นข้อมูล ระบบดังกล่าวถูกออกแบบให้สามารถจัดเก็บข้อมูล และ สืบค้นข้อมูลได้อย่างเป็นระบบ โดยที่การจัดเก็บข้อมูลแบ่งตามหัวข้อคือ ข้อมูลพื้นฐานของท้องถิ่น ข้อมูลการประกอบอาชีพ ข้อมูลด้านกายภาพ ข้อมูลประวัติหมู่บ้าน ชุมชน และวิถีชุมชน ข้อมูลการใช้ประโยชน์จากพืช ข้อมูลการใช้ประโยชน์จากสัตว์ ข้อมูลการใช้ประโยชน์ชีวภาพอื่นๆ ข้อมูลภูมิปัญญา ข้อมูลแหล่งทรัพยากร และ โบราณคดี ผลการประเมินระบบจาก นักศึกษา คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และ ประชาชนทั่วไป ที่ใช้งานระบบ แบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ ประสิทธิภาพของระบบได้ผลร้อยละ 4.34 จากคะแนนเต็ม 5 และ ความพึงพอใจ ได้ผลร้อยละ 4.51 จากคะแนนเต็ม 5