ภาพปกงานวิจัย การบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา : วิสาหกิจชุมชน อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี
เจ้าของงานวิจัย ลลิดา จูมโสดา
หมวดหมู่ การจัดการ
Subject การบริหาร การจัดการ วิสาหกิจชุมชน
วันที่ตีพิมพ์ 2566
เอกสารประกอบ ดาวน์โหลด
จำนวนเข้าชม 1017

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดการวิสาหกิจชุมชน ศูนย์กระบวนการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน 2) เพื่อวิเคราะห์กระบวนการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน วิธีดำเนินการวิจัย ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ แบบสัมภาษณ์ (Interview) เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบ มีโครงสร้าง (Structure In-depth Interview) โดยกลุ่มเป้าหมายมุ่งเน้นเป็นตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและตัวแทนชุมชนในพื้นที่ศึกษา จำนวนสมาชิกต่อกว่า 15 ราย จำนวน 235 ชุมชน ผลการวิจัยพบว่า วิสาหกิจชุมชน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 88.1 มีอายุ 51 -60 ปี ร้อยละ 41.3 มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 71.4 และ มีประสบการณ์ ในการบริหารวิสาหกิจชุมชน 11 -15 ปี ร้อยละ 31.2 2. ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ให้ระดับความสำคัญของกลยุทธ์การจัดการวิสาหกิจชุมชน ในภาพรวมเฉลี่ย 4.15 คะแนน (อยู่ระดับมาก) ด้านการผลิต ผู้ประกอบการให้ระดับความสำคัญของกลยุทธ์ในการทำการตลาดเฉลี่ยเท่ากับ 4.29 คะแนน (ระดับมากที่สุด) มีการควบคุมตรวจสอบคุณภาพสินค้าหรือบริการทุกครั้ง ก่อนจำหน่ายหรือให้บริการ” มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 4.51 คะแนน (ระดับมากที่สุด) หัวข้อ “มีความหลากหลายและการพัฒนารูปแบบสินค้า/ผลิตภัณฑ์” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.12 คะแนน (ระดับมาก) ด้านการจัดการองค์กร ผู้ประกอบการให้ระดับความสำคัญของกลยุทธ์ในการทำการตลาด เฉลี่ย 4.31 คะแนน (ระดับมากที่สุด) หัวข้อ “มีผู้นำที่เป็นผู้ที่สามารถประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ได้ดี” มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 4.42 คะแนน (ระดับมากที่สุด) ความสำคัญของกลยุทธ์ในการทำการตลาด ด้านการจัดการองค์กรน้อยที่สุดคือ หัวข้อ “มีการประชุมกับสมาชิกเพื่อร่วมกันแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นชี้แจงและให้ความรู้เกี่ยวกับความต้องการของลูกค้าและวางแผนงานสม่ำเสมอ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.18 คะแนน (ระดับมาก) ด้านการตลาดและการขาย ผู้ประกอบการให้ระดับความสำคัญของกลยุทธ์ในการทำการตลาด เฉลี่ย 3.90 คะแนน (ระดับมาก) เมื่อพิจารณาจากหัวข้อย่อยแล้ว พบว่า หัวข้อ “มีเกณฑ์การตั้งราคา ที่เหมาะสมกับคุณภาพของสินค้าชัดเจน” มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 4.50 คะแนน (ระดับมากที่สุด) สำหรับหัวข้อที่พบว่า ผู้ประกอบการ ให้ระดับความสำคัญของกลยุทธ์ในการทำการตลาด ด้านการตลาดและการขาย น้อยที่สุดคือ หัวข้อ “มีการสร้าง Web Site ของกลุ่มเพื่อประชาสัมพันธ์ สินค้าของกลุ่ม” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.12 คะแนน (ระดับปานกลาง) ด้านการบัญชี/การเงิน ผู้ประกอบการให้ระดับความสำคัญของกลยุทธ์ในการทำการตลาด เฉลี่ยเท่ากับ 4.10 คะแนน (ระดับมาก) เมื่อพิจารณาจากหัวข้อย่อยแล้ว พบว่า หัวข้อ “มีการกำหนด แนวทางในการจัดการด้านการเงินที่ชัดเจน” มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ 4.14 คะแนน (ระดับมาก) สำหรับหัวข้อ ที่พบว่าผู้ประกอบการให้ระดับความสำคัญของกลยุทธ์ในการทำการตลาด ด้านการบัญชี/การเงินน้อยที่สุด คือ หัวข้อ “มีการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของกลุ่มอย่างโปร่งใสและตรวจสอบได้” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.03 คะแนน (ระดับมาก) ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ผู้ประกอบการให้ระดับความสำคัญของกลยุทธ์ในการทำ การตลาดเฉลี่ยเท่ากับ 4.21 คะแนน (ระดับมากที่สุด) เมื่อพิจารณาจากหัวข้อย่อยแล้ว พบว่า หัวข้อ “มีการกำหนดโครงสร้างและการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบของกรรมการและสมาชิกในการ ดำเนินงานอย่างชัดเจน” มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 4.28 คะแนน (ระดับมากที่สุด) สำหรับหัวข้อที่ พบว่า ผู้ประกอบการให้ระดับความสำคัญของกลยุทธ์ในการทำการตลาด ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ น้อยที่สุดคือ หัวข้อ “มีการติดตามประเมินผลการดำเนินงานของสมาชิกกลุ่มอย่างสม่ำเสมอ”

APA

ลลิดา จูมโสดา. ( 2566 ). การบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา : วิสาหกิจชุมชน อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

Chicago

ลลิดา จูมโสดา. การบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา : วิสาหกิจชุมชน อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2566.

MLA

ลลิดา จูมโสดา. การบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา : วิสาหกิจชุมชน อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2566.

Vancouver

ลลิดา จูมโสดา. การบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา : วิสาหกิจชุมชน อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร; 2566.