จำนวนงานวิจัย ( 91 )

การประเมินผลการดำเนินงานพัฒนาศักยภาพพื้นที่ท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำในจังหวัดกาญจนบุรี
การวิจัยเรื่อง ประเมินผลการดำเนินงานพัฒนาศักยภาพพื้นที่ท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำในจังหวัดกาญจนบุรี มีวัตถุประสงค์ คือ ประเมินบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการดำเนินงาน ผลผลิต ของโครงการพัฒนาศักยภาพพื้นที่ท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำในจังหวัดกาญจนบุรี และศึกษาแนวทางในการพัฒนาโครงการพัฒนาศักยภาพพื้นที่ท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำในจังหวัดกาญจนบุรี การวิจัยนี้เป็นแบบวิจัยแบบผสมผสาน โดยเชิงปริมาณเลือกใช้กลุ่มตัวอย่างคือนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 400 คน ใช้เครื่องมือแบบสอบถามปลายปิด ใช้สถิติพรรณนาและอนุมารในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงกลุ่มกับผู้ให้ข้อมูล จำนวน 28 คน แบ่งออกเป็น 7 กลุ่ม กลุ่มละ 4 คน ประกอบด้วย ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางการท่องเที่ยวในพื้นที่ นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการเชิงอุปนัย ผลการวิจัย พบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อยู่ในช่วงอายุ 20-29 ปี มีการศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และมีรายได้อยู่มากกว่า 30,000 บาทต่อเดือน โดยมีระดับความเห็นต่อโครงการพัฒนาศักยภาพพื้นที่ท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำในจังหวัดกาญจนบุรีในภาพรวมในระดับในระดับมาก เรียงอันดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านการประเมินผลผลิต ด้านการประเมินกระบวนการ และด้านบริบท ซึ่งพบว่าปัจจัยส่วนบุคคล ด้านระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ส่งผลให้มีระดับความเห็นต่อโครงการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำในจังหวัดกาญจนบุรี มี 3 ข้อ คือ 1) ควรที่จะพัฒนาระบบตรวจสอบและติดตามผลที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงระบบการสื่อสารข้อมูลและป้อนข้อมูลกลับที่ชัดเจน 2) ควรสนับสนุนจัดการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะและความรู้ของบุคลากรในชุมชน ในการใช้งานและการพัฒนาเทคโนโลยีลดคาร์บอน และ 3) ควรสร้างกลไกการมีส่วนร่วมที่เข้มแข็งจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น การจัดประชุมร่วมกับชุมชน การสร้างเครือข่ายการสนับสนุน เพื่อให้เกิดการรับรู้และความผูกพันร่วมระหว่างภาครัฐและชุมชน

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบจากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเพิ่มรายได้เชิงพาณิชย์ของชุมชนลำบัวลอย อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก
เพื่อสร้างชุมชนให้มีความเข้มแข็งต่อไป กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนในตำบลลำบัวลอย อำเภอ ปากพลี จังหวัดนครนายก จำนวนกลุ่มตัวอย่างในชุมชนลำบัวลอย จำนวน 260 คน สุ่มอย่างง่ายตามตาราง ยามาเน่ คณะผู้วิจัยได้สอบถามให้ได้มาซึ่งความต้องการของผู้บริโภคและตรงตามความต้องการของผู้ประกอบการและท้องตลาด แล้วประเมินรูปแบบผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน โดยปราชญ์ชาวบ้านที่ร่วมแปรรูปผลิตภัณฑ์ให้เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน จำนวน 3 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ ผลิตภัณฑ์จากเส้นใยพืช ผ้าทอจากเส้นใยพืช จำนวน 3 ท่าน เพื่อประเมินความเหมาะสมของรูปแบบในการประยุกต์ เป็นผลิตภัณฑ์ จากนั้นสร้างต้นแบบแล้ว ประเมินผลวัดระดับความคิดเห็นของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์หัตถกรรม จากเส้นใยพืชที่มีในท้องถิ่นนมาผสมผสานเส้นใยไหม เส้นใยฝ้าย ผสมผสานให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัยสวยงามได้มาตรฐาน สามารถออกแบบได้ตรงกับความต้องการของท้องตลาด ผู้บริโภค ตรงตามท้องตลาดและผู้ประกอบการต้องการรับซื้อ การดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณควบคู่กันโดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ แบบประเมินความพึงพอใจ เป็นเครื่องมือวิจัย เพื่อเก็บรวบรวม ข้อมูลพิจารณาความเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญและความพึงพอใจจากกลุ่มเป้าหมาย วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (SD) แปลผลในรูปความเรียง ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนในชุมชนตำบลลำบัวลอย อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก มีความคิดเห็นกับผลิตภัณฑ์เดิมยังไม่ทันสมัยและมีความต้องการ ผลิตภัณฑ์จากเส้นใยพืชที่มีในท้องถิ่น เส้นใยกก ผสมเส้นใยไหมผสมผสานเส้นใยอื่น ๆ ที่มีความเหมาะสม จนแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่สวยงามทันสมัย ได้มาตรฐาน เช่น กระเป๋าถือของสตรี กระเป๋าสะพายของสุภาพสตรี หลากหลายรูปแบบ มีความต้องการผลิตภัณฑ์ที่มีรูปแบบสวยงาม มีเอกลักษณ์เด่นของชุมชน มากที่สุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และมีราคาที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ ส่วนปัญหาการผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่ของชุมชน โดยรวม อยู่ในระดับมาก ไม่มีองค์กรสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ปราชญ์ชาวบ้าน และผู้ประกอบการ ได้มีการประเมินรูปแบบผลิตภัณฑ์ หัตถกรรมจากเส้นใยพืช โดยรวมอยู่ในระดับมาก พบว่า ผลิตภัณฑ์มีความสวยงาม ลวดลาย สามารถใช้สอยได้ มีความสะดวกสบายในการใช้ เพื่อพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์ได้ ข้อเสนอแนะ ต้องการผลิตภัณฑ์ที่มีความทันสมัย มีความเป็นอัตลักษณ์ของชุมชน แตกต่างจากผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในท้องถิ่นและต้องการผู้เชี่ยวชาญ การพัฒนาบุคลากรในชุมชนให้มีความรู้เชี่ยวชาญ ด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ตัวแทนกลุ่มในชุมชนที่มีความรู้ความสามารถ มีไหวพริบมีความถนัด สามารถเรียนรู้จากวิทยากรได้รวดเร็ว ประมาณ 4-5 คน สามารถถ่ายทอดความรู้ให้คนในชุมชนได้ต่อไป 1. ฝึกทักษะการพัฒนาการผลิตให้ได้เอกลักษณ์และได้มาตรฐานมากยิ่งขึ้น ไปเรื่อย ๆ 2. ด้านการตลาด สามารถเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายให้หลากหลายมากยิ่งกว่าเดิม เช่น ออนไลน์ เว็บไซต์ เฟสบุ๊ค 3. ด้านการสนับสนุนจากภาครัฐ เกิดการยังได้รับการสนับสนุนไม่ต่อเนื่อง ขาดเงินงบประมาณในการดำเนินการต่อไปให้สำเร็จ การแก้ปัญหาต้องการให้ภาครัฐสนับสนุนงบประมาณดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และทำให้ผู้ประกอบการร่วมมือกับชุมชน ช่วยจัดจำหน่ายและสนับสนุนงบประมาณ และการติดต่อขยายผลิตภัณฑ์ได้สะดวก รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ในทุกด้าน และต้องการวิทยากร ผู้เชี่ยวชาญด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์ มาฝึกอบรมและทุนสนับสนุนในการสร้างผลิตภัณฑ์จากผ้าทอจากเส้นใยพืชในท้องถิ่น เช่น กก ผสมผสานเส้นใยไหม ฝ้าย ให้สวยงามคงทนเมื่อมีการประยุกต์แปรรูปผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับ ความต้องการของผู้บริโภคและผู้รับซื้อทั้งปลีกและส่ง มีและมีความต้องการประยุกต์ใช้วัสดุอื่น ๆ ในท้องถิ่นร่วมแปรรูปกับผลิตภัณฑ์จากเส้นใยจากกก ไหม ฝ้าย เพื่อให้มีความประณีต ละเอียดและมีความสวยงาม เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ให้มีอาชีพและรายได้ที่ยั่งยืน สามารถสร้างอาชีพ สร้างรายได้ เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับชุมชนตำบลลำบัวลอย อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก อย่างต่อเนื่องตลอดไป

การศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ที่กำลังศึกษาอยู่ในปการศึกษา 2564 จำนวน 200 คน และผู้สอนจำนวน 7 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้คือการสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหาผลการศึกษาพบว่า 1. ลักษณะทางประชากรของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 130 คน คิดเป็นร้อยละ65.00 และเพศชาย จำนวน 70 คน คิดเป็นร้อยละ 35.00 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุ 20 ปี จำนวน 75 คน คิดเป็นร้อยละ 37.50 ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 2 จำนวน 78 คน คิดเป็นร้อยละ 39.00 อาศัยอยู่บ้านตนเอง 98 คน คิดเป็นร้อยละ 49.00 สถานที่สะดวกในการเรียนออนไลน์คือที่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 46.50 ส่วนอุปกรณ์ที่กลุ่มตัวอย่างใช้ในการเชื่อมต่อสัญญานในการเรียนออนไลน์ส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์มือถือ จำนวน 118 คน คิดเป็นร้อยละ 59.00 และกลุ่มตัวอย่างกว่าครึ่งที่พบปัญหาเกี่ยวกับสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในการเรียนออนไลน์ คิดเป็นร้อยละ 67.50 2.ผลการวิเคราะห์ข้อมูลของสื่อเทคโนโลยีที่ใช้ในการเรียนการสอนออนไลน์ของกลุ่มตัวอย่างพบว่า สื่อเทคโนโลยี/โปรแกรมที่นิยมใช้ในการเรียนการสอนออนไลน์ได้แก่ Google Classroom 75%รองลงมาคือ Line 10.00 % Facebookและ Zoom คิดเป็น 5.00% อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเรียนออนไลน์มากที่สุดคือโทรศัพท์มือถือ ( Smart phone) มีจำนวนมากที่สุดคือ 84.62 % รองลงมาคือ Notebook 55.51% Tablet/IPad 15.36% Computer (PC) 11.63% และอื่นๆ 0.28 % สัญญาณอินเทอร์เน็ตที่กลุ่มตัวอย่างใช้ในการเรียนออนไลน์มากที่สุดคือ จากโทรศัพท์มือถือ คิดเป็นร้อยละ 56 รองลงมาคือบ้านหรือที่พักอาศัยและสถานศึกษา 3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลปัญหาและปัจจัยที่สำคัญของการเรียนการสอนออนไลน์ พบว่าปัญหาที่เกิดมากที่สุดคือความไม่เสถียรของสัญญาณอินเทอร์เน็ต และสถานที่ไม่เอื้ออำนวยในการเรียนการสอน คิดเป็น 90% รองลงมาคือค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในการเติมเงินค่าอินเทอร์เน็ต คิดเป็น 87.50% สำหรับปัญหาที่พบรองลงมาคือความเข้าใจในการสื่อสารระหว่างผู้สอนและนักศึกษาควบคุมตนเองให้อยู่หน้าจอโทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์ได้ตลอดเวลาที่เรียน คิดเป็น 75 % นอกจากนั้นก็จะเป็นการเรียนวิชาที่เป็นปฏิบัติที่จะเข้าใจยากรวมทั้งผู้เรียนไม่มีสมาธิในการเรียน 4. แนวทางในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของกลุ่มตัวอย่างพบว่า เนื้อหาของบทเรียน กิจกรรมการเรียนการสอนควรมีการออกแบบให้น่าสนใจเหมาะสมกับเวลา ในการเรียนการสอนออนไลน์ที่จะต่างจากการเรียนการสอนปกติ สื่อการสอนควรมีความสัมพันธ์กับเนื้อหา มีความทันสมัยน่าสนใจ สื่อสัญญาณอินเทอร์เน็ตควรมีความเสถียรและควรมีบริการฟรีสำหรับการเรียน อุปกรณ์ในการเรียนการสอนควรมีการสำรวจความพร้อมของผู้เรียนและสถานศึกษาควรหาวิธีการสนับสนุนอุปกรณ์การเรียนให้กับนักศึกษา การสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียนควรมีการสื่อสารที่สร้างความเข้าใจตรงกัน ควรมีการสื่อสารหลายช่องทาง การเรียนการสอนควรมีความยืดหยุ่นในเรื่องของเวลาและกิจกรรมการเรียนการสอน นอกจากนั้นคือมีการให้ความรู้การถ่ายทอดทักษะการใช้งานเทคโนโลยีเหล่านั้นให้แก่ผู้สอน, ผู้เรียนได้มีความสามารถในการแก้ไขปัญหาขัดข้องที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการจัดการเรียนการสอนเมื่อนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลแนวทางในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์และสรุปเป็นประเด็นสำคัญๆได้ 4 ประเด็น ได้แก่ ด้านบทบาทของผู้สอน การบริหารจัดการในระหว่างการเรียน การออกแบบการเรียนการสอน และความพร้อมทางด้านเทคโนโลยี

ต้นแบบระบบตรวจสอบประเภทของยาบนแพลตฟอร์มซีร่าคอร์
คณะผู้วิจัยได้ศึกษาการใช้งานแพลตฟอร์มซีร่าคอร์เพื่อประยุกต์ใช้งานกับงานวิจัยทางด้านธุรกิจทางการแพทย์ ซึ่งพบว่าสามารถนำซีร่าคอร์มาเป็นแพลตฟอร์มหลักในการพัฒนาระบบสนับสนุนในขั้นตอนต่าง ๆ ภายในโรงพยาบาล ซึ่งขั้นตอนหนึ่งที่น่าสนใจ คือ ขั้นตอนการตรวจสอบความถูกต้องในการจ่ายยา ซึ่งพบว่าในปัจจุบันเกิดความ คือ มีการจ่ายยาที่ผิดพลาดในบางกรณี ซึ่งเกิดจากความผิดพลาดของมนุษย์ ได้แก่ ความคล้ายคลึงของบรรจุภัณฑ์ยา ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดในการพัฒนาระบบในการช่วยตรวจสอบประเภทของยา เพื่อช่วยตรวจทานให้กับเจ้าหน้าที่จัดยา และเภสัชกร โดยระบบที่พัฒนาขึ้นใช้เทคนิคการเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) ซึ่งระบบประกอบด้วยกล้องทำหน้าที่ตัวตรวจจับบรรจุภัณฑ์ของยา และนับจำนวนเม็ดยา ระบบออกแบบและพัฒนาโดยใช้แพลตฟอร์มซีร่าคอร์เพื่อลดความซับซ้อนในการพัฒนาระบบ แพลตฟอร์มซีร่าคอร์ออกแบบมาบนแนวคิด Low Code ซึ่งระบบที่พัฒนาขึ้นนี้จะสามารถคัดแยกและนับยา

การพัฒนาการทำงานของพนักงานแม่บ้านในโรงแรมเขตกรุงเทพมหานคร
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและผลกระทบการทำงาน และการพัฒนาการทำงานของพนักงานแผนกแม่บ้านในโรงแรมในช่วงการระบาด COVID-19 เป็นการวิจัยแบบเชิงผสม (Mix Method Research) โดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 169 คน และใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 10 คน ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาและผลกระทบการทำงานของพนักงานแผนกแม่บ้านในโรงแรม สรุปภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.40 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านความมั่นคงในการทำงานเป็นปัญหาและผลกระทบการทำงานอันดับหนึ่ง อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.096 และน้อยที่สุดด้านสุขภาพอนามัยอยู่ในระดับปานกลางมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.91 ส่วนการพัฒนาการทำงานของพนักงานแผนกแม่บ้านในโรงแรมในช่วงการระบาด COVID-19 สรุปภาพรวมการพัฒนาการทำงานของพนักงานแผนกแม่บ้านในโรงแรมในช่วงการระบาด COVID-19 อยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.14 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการส่งเสริมการพัฒนาพนักงานแม่บ้านของโรงแรมอันดับหนึ่ง อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.15 และน้อยที่สุดด้านการพัฒนาตนเองของพนักงานแม่บ้าน อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.12 นอกจากนี้ต้องเข้าใจถึงบริบทที่แท้จริงถึงสภาพปัญหาและความต้องการโดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านจิตใจและด้านปัญญาความรู้