จำนวนงานวิจัย ( 58 )
การยกระดับวิสาหกิจชุมชนและส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าพื้นเมือง ตำบลหนองพันจันทร์ อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการด้านรูปแบบสินค้าที่ระลึกจากผ้าทอพื้นเมือง ตำบลพันจันทร์ อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี 2) ศึกษากระบวนการพัฒนาสินค้าที่ระลึกจากผ้าทอพื้นเมืองให้มีเอกลักษณ์และมีรูปแบบสร้างสรรค์ ผลการวิจัย พบว่า การออกแบบผลิตภัณฑ์สินค้าที่ระลึกจากผ้าทอพื้นเมืองสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผ้าทอพื้นเมือง ตำบลพันจันทร์ อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี ผู้วิจัยได้ทำการออกแบบผลิตภัณฑ์สินค้าที่ระลึกจากผ้าทอพื้นเมือง จำนวน 3 ประเภท ได้แก่ กระเป๋า จำนวน 3 รูปแบบ ชุดภาพศิลปะ จำนวน 3 รูปแบบ และตุ๊กตา จำนวน 3 รูปแบบ จากนั้นทำการสำรวจความพึงพอใจ จากผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 100 คน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 65 ช่วงอายุ 30 – 39 ปี คิดเป็นร้อยละ 29 อาชีพธุรกิจส่วนตัว คิดเป็นร้อยละ 25 และมีรายได้ 20,001 – 30,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 30 ความพึงพอใจที่มีต่อการออกแบบผลิตภัณฑ์สินค้าที่ระลึกจากผ้าทอพื้นเมืองสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าทอพื้นเมือง ตำบลพัน จันทร์ อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี จำนวน 3 ประเภท ได้แก่ กระเป๋า จำนวน 3 รูปแบบ ชุดภาพศิลปะ จำนวน 3 รูปแบบ และตุ๊กตา จำนวน 3 รูปแบบ พบว่า มีความพึงพอใจด้านการออกแบบ ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านประโยชน์ใช้สอย อยู่ในระดับมากที่สุด ดังนี้ ออกแบบกระเป๋า รูปแบบที่ 1 มีค่าเฉลี่ยรวมทุกด้าน 4.70 ออกแบบชุดภาพศิลปะ รูปแบบที่ 3 มีค่าเฉลี่ยรวมทุกด้าน 4.66 และออกแบบตุ๊กตา รูปแบบที่ 2 มีค่าเฉลี่ยรวมทุกด้าน 4.65 นำผลการสำรวจความพึงพอใจที่มีต่อการออกแบบผลิตภัณฑ์สินค้าที่ระลึกจากผ้าทอพื้นเมืองสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าทอพื้นเมือง ตำบลพันจันทร์ อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี จำนวน 3 รูปแบบ ที่ได้คะแนนมากที่สุด นำมาสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์สินค้าที่ระลึกจากผ้าทอพื้นเมืองสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าทอพื้นเมือง ตำบลพันจันทร์ อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี จำนวน 3 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ กระเป๋า ชุดภาพศิลปะ และตุ๊กตา จากนั้นทำการสำรวจความพึงพอใจที่มีต่อต้นแบบผลิตภัณฑ์ จากผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 100 คน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 63 ช่วง อายุ 30 – 39 ปี คิดเป็นร้อยละ 32 อาชีพรับราชการ คิดเป็นร้อยละ 23 และมีรายได้ 20,001 – 30,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 30 ความพึงพอใจที่มีต่อต้นออกแบบผลิตภัณฑ์สินค้าที่ระลึกจากผ้าทอพื้นเมืองสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าทอพื้นเมือง ตำบลพันจันทร์ อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี จำนวน 3 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ กระเป๋า ชุดภาพศิลปะ และตุ๊กตา พบว่า มีความพึงพอใจ ด้านการออกแบบ ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านประโยชน์ใช้สอย อยู่ในระดับมากที่สุด ดังนี้ ต้นแบบ กระเป๋า มีค่าเฉลี่ยรวมทุกด้าน 4.75 ต้นแบบชุดภาพศิลปะ มีค่าเฉลี่ยรวมทุกด้าน 4.73 และต้นแบบ ตุ๊กตา มีค่าเฉลี่ยรวมทุกด้าน 4.76 ทั้งนี้ได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ต้นแบบสินค้าที่ระลึกจากผ้าทอพื้นเมือง สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผา้ ทอพื้นเมือง ตำบลพันจันทร์ อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี ที่ได้จากการ วิจัยครั้งนี้ ให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าทอพื้นเมือง ตำบลพันจันทร์ อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี สามารถตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มฯ ได้เป็นอย่างดี มีความสวยงาม ทันสมัย และทันเหตุการณ์ ในปัจจุบัน สามารถทำการผลิตผลิตภัณฑ์ดังกล่าวออกจำหน่ายสู่ท้องตลาดได้ สามารถนำไปสร้าง มูลค่าเพิ่มให้กับผ้าทอพื้นเมือง ได้สินค้าที่ระลึกประจำกลุ่ม เพื่อให้กลุ่มมีสินค้าที่ระลึกที่มีเอกลักษณ์มี จุดขาย อีกทั้งสามารถกระตุ้นการพัฒนาสินค้าในระดับชุมชนท้องถิ่นให้สามารถแข่งขันกับผู้ผลิตราย อื่นได้ ด้วยหลักของการพัฒนาและช่วยพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนให้มีความเข้มแข็ง
แอปพลิเคชันส่งข้อความแจ้งเตือนนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร RMUTP SMART CARE
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาแอปพลิเคชันส่งข้อความแจ้งเตือนนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร RMUTP SMART CARE และ (2) ศึกษาความพึงพอใจต่อแอปพลิเคชันส่งข้อความแจ้งเตือนนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร RMUTP SMART CARE ซึ่งเป็นการวิจัยและพัฒนาแอปพลิเคชันส่งข้อความแจ้งเตือนนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร RMUTP SMART CARE และใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครจำนวน 100คน และสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (𝑥̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า(1) การพัฒนาแอปพลิเคชันส่งข้อความแจ้งเตือนนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร RMUTP SMART CARE RMUTP Smart Care ใช้สำหรับแจ้งข้อมูลข่าวสารและกิจกรรมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยให้กับนักศึกษาทราบผ่านแอปพลิเคชันไลน์ และ (2) นักศึกษามีความพึงต่อแอปพลิเคชันส่งข้อความแจ้งเตือนนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร อยู่ในระดับมาก
การบูรณาการองค์ความรู้ในการพัฒนาศักยภาพผลิตภัณฑ์ อาหาร ของที่ระลึก และเครื่องหอมจากส้มโอ เพื่อเพิ่มมูลทางการเกษตรกร ความยั่งยืนเชิงพาณิยช์ระดับชุมชน ของกลุ่มเครือข่ายวิสหกิจชุมชนส้มโอนครชัยศรี
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ การพัฒนาศักยภาพผลิตภัณฑ์อาหาร ของที่ระลึก และเครื่องหอมจากส้มโอ เพื่อเพิ่มมูลค่า สามารถนำเปลือกส้มโอมาพัฒนาเป็นส่วนประกอบในการผลิต ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูป ด้านเศรษฐกิจ/พาณิชย์ในการใช้เปลือกส้มโอเพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิต ด้านสังคมและชุมชนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะในด้านรสชาติ ลดทรัพยากรที่เหลือใช้แก่ชุมชนและเป็นอีกทางเลือกในการเพิ่มรายได้แก่เกษตรกรและชุมชน ผลการศึกษาพบว่า ความแตกต่างคุณภาพทางประสาทสัมผัส ของหยีสูตรที่มีปริมาณเปลือกขาวส้มโอ นั้นมีผลต่อการยอมรับของผู้ทดสอบชิม ปริมาณเปลือกขาวส้มโอร้อยละ 10 แยมร้อยละ 5 ความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องประกอบการแต่งกาย ด้วยผ้าฝ้ายย้อมสีจากส่วนประกอบของส้มโอเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน ทั้ง 2 ประเภท ได้แก่ กระเป๋า, และผ้าอเนกประสงค์ เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์ รวมจากทุกรายข้อของการประเมิน พบว่า กระเป๋า ได้รับความพึงพอใจเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ผ้าอเนกประสงค์ ตามลำดับ รูปแบบผลิตภัณฑ์เครื่องประกอบการแต่งกาย ด้วยผ้าฝ้ายย้อมสีจากส่วนประกอบของส้มโอเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน ทั้ง 2 ประเภท ได้แก่ กระเป๋า, และผ้าอเนกประสงค์ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผลิตภัณฑ์เครื่องประกอบการแต่งกาย ด้วยผ้าฝ้ายย้อมสีจากส่วนประกอบของส้มโอเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน ทั้ง 2 ประเภท เมื่อพิจารณาด้านรูปแบบผลิตภัณฑ์ ความสวยงาม ประโยชน์ใช้สอย สีสัน ลวดลายของผ้า/รูปแบบผลิตภัณฑ์ และ ความเหมาะสม ความแข็งแรง ทนทานของผลิตภัณฑ์ ซึ่งโดยรวมได้รับความพึงพอใจในระดับ มาก การพัฒนาศักยภาพและนวัตกรรมทางการตลาด สามารถเพิ่มมูลค่าให้ผู้ประกอบการแปรรูปจากส้มโอ จังหวัดนครปฐม เป็นโอกาสทางการตลาดและกลยุทธ์การตลาด ประกอบด้วย กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด ผลิตภัณฑ์เน้นที่มีคุณภาพ ราคากำหนดตามราคาตลาด ช่อง ทางการจัดจำหน่ายใช้แบบออฟไลน์และออนไลน์ และการส่งเสริมการตลาดเน้นการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ทางสื่อออนไลน์ จัดการส่งเสริมการขาย และการให้บริการของพนักงานขาย ดังนั้น การกำหนดกลยุทธ์การตลาดผลิตภัณฑ์แปรรูปจากส้มโอ จังหวัดนครปฐม ที่เหมาะสม นำมาสู่ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของเศรษฐกิจในชุมชนทั้งในระดับท้องถิ่น และระดับประเทศยั่งยืนต่อไป ปริมาณการใช้เปลือกส้มโอที่เหมาะสมในการพัฒนา เป็นผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว ปริมาณการใช้ผงเปลือกส้มโอในกรอบเค็มที่เหมาะสมคือร้อยละ 5 โดยผู้ชิมให้คะแนนการยอมรับทางประสาทสัมผัสในด้านลักษณะปรากฎ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส อยู่ในระดับความชอบปานกลางถึงชอบมาก ส่วนปริมาณเปลือกส้มโออบแห้งที่เหมาะสมในกราโนล่า คือปริมาณร้อยละ 50 บ อยู่ในระดับความชอบปานกลางถึงชอบมาก ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบ ทางเคมีการใช้เปลือกส้มโอที่เหมาะสมในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว 2 ผลิตภัณฑ์ การใช้ เปลือกส้มโอในขนม ขบเคี้ยวทั้ง 2 ผลิตภัณฑ์ จะช่วยเพิ่มปริมาณใยอาหารให้กับผลิตภัณฑ์มากยิ่งขึ้น เมื่อนำผลิตภัณฑ์ ไปทดสอบการยอมรับของผู้บริโภค พบว่าบริโภคให้การยอมรับขนมขบเคี้ยวจาก เปลือกส้มโอ และถ้ามีวางจำหน่ายในท้องตลาดผู้บริโภคสนใจซื้อเพราะผลิตภัณฑ์มีรสชาติกลมกล่อม/ ความอร่อย พอใจในราคา ความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อการผลิตผลิตภัณฑ์จากเปลือกส้มโอ เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจ พิมเสนน้ำจากเปลือกส้มโอ มีความ พึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาพัดหอมบุหงาส้มโอ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ถุง หอมบุหงาส้มโอ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เทียนหอมส้มโอ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากที่สุด และยาดมส้มโอ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ตามลำดับการศึกษาปริมาณที่ เหมาะสมในการใช้น้ำและเปลือกส้มโอในน้ำจิ้มบ๊วยเจี่ย พบว่าผู้ทดสอบให้การยอมรับการใช้น้ำส้มโอ ทดแทนน้ำเปล่าที่ระดับร้อยละ 50 และปริมาณเปลือกส้มโอที่ระดับร้อยละ 15 และน้ำและเปลือกส้มโอ ในน้ำจิ้มซีฟู้ด พบว่าผู้ทดสอบให้การยอมรับการเสริมน้ำส้มโอที่ระดับร้อยละ 50 และปริมาณเปลือกส้ม โอที่ระดับร้อยละ 15 ไม่แตกต่างจากสูตรพื้นฐาน และเมื่อวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีพบว่าการใส่ น้ำส้มโอและเปลือกส้มโอทำให้น้ำจิ้มมีปริมาณความชื้นที่ลดลง แต่ในขณะเดียวกันเถ้า ใยอาหาร และ คาร์โบไฮเดรตรวมมีปริมาณเพิ่มขึ้น น้ำส้มโอและเปลือกส้มโอมาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม 2 ประเภท คือ น้ำส้มโอพร้อมดื่มและน้ำส้มโอเข้มข้น พบว่าปริมาณการเสริมเปลือกส้มโอที่เหมาะสมใน น้ำส้มโอพร้อมดื่ม คือ ร้อยละ 3 ปริมาณการเสริมเปลือกส้มโอที่เหมาะสมในน้ำส้มโอเข้มข้น คือ ร้อย ละ 1.5 ผลการศึกษาปริมาณเสริมแป้งเปลือกขาวส้มโอที่เหมาะสมใน พบว่า ผู้ทดสอบชิมให้การ ยอมรับนักเก็ตเสริมเปลือกขาวส้มโอที่ร้อยละ 10 มากที่สุดในด้านลักษณะปรากฎ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อ สัมผัส และความชอบโดยรวม อยู่ในระดับความชอบปานกลาง ผลการศึกษาปริมาณแป้งเปลือกส้มโอ ขาวที่เหมาะสมในหอยจ้อ พบว่า ผู้ทดสอบชิมให้การยอมรับปริมาณแป้งเปลือกส้มโอขาวที่ร้อยละ 10 มากที่สุด ในด้านลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส (ความกรอบ) และความชอบโดยรวม อยู่ในระดับความชอบปานกลาง ผลการศึกษาคุณสมบัติทาง เคมี และกายภาพ พบว่า การเพิ่ม ปริมาณแป้งเปลือกขาวส้มโอในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูป ไม่มีผลต่อสีของผลิตภัณฑ์ การศึกษา ปริมาณเปลือกส้มโอทดแทนผลไม้หมักในฟรุตเค้กในปริมาณพบว่าผู้ชิมให้การยอมรับปริมาณเปลือก ส้มโอทดแทนผลไม้หมักในฟรุตเค้ก 100% ด้านกลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม (p> 0.05)
โครงการยกระดับห่วงโซ่อุปทานกระท้อนด้วยนวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจชุมชน ของกลุ่มเกษตรกร จังหวัดลพบุรี
การยกระดับห่วงโซ่อุปทานกระท้อนด้วยนวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจชุมชนของกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดลพบุรีในปัจจุบัน กลุ่มเกษตรกรในจังหวัดลพบุรีเริ่มพบว่าการเปลี่ยนแปลงในตลาดและเทคโนโลยี มีผลกระทบต่อรายได้และคุณภาพชีวิตอย่างมาก เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรนี้สามารถรับมือกับความท้าทายและเพิ่มโอกาสในการเติบโตและพัฒนา การยกระดับห่วงโซ่อุปทานกระท้อนด้วยนวัตกรรมเป็นก้าวแรกที่สำคัญหนึ่งในวิธีที่สำคัญในการทำให้การเกษตรเป็นเศรษฐกิจที่ยั่งยืนคือการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในกระบวนการผลิตเกษตรกรในจังหวัดลพบุรีสามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเพาะปลูกการดูแลรักษาพืช และการเก็บเกี่ยวผลผลิต นวัตกรรมทางการเกษตรเช่นระบบรดน้ำอัตโนมัติและการใช้ข้อมูลจากเซ็นเซอร์เพื่อตรวจสอบสภาพแวดล้อมจะช่วยลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มผลผลิตนอกจากนี้ การสร้างหรือเข้าร่วมหน่วยงานสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรชุมชนสามารถช่วยในการต่อรองราคาและการจัดหาตลาดให้กับผลผลิตได้ดีขึ้น การเชื่อมต่อกลุ่มเกษตรกรผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์และการใช้โซเชียลมีเดียในการตลาดสินค้าเกษตรกร อาจช่วยเพิ่มรายได้และการเปิดโอกาสใหม่ เมื่อกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดลพบุรีสามารถรับรู้และนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเหล่านี้เข้าสู่กระบวนการผลิตจะสามารถเพิ่มผลผลิตลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มคุณค่าของผลผลิต นี่คือการยกระดับห่วงโซ่อุปทานกระท้อนด้วยนวัตกรรมที่จะช่วยเสริมเศรษฐกิจชุมชนของกลุ่มเกษตรกร ในจังหวัดลพบุรีให้ยั่งยืนและเติบโตขึ้นในอนาคต นอกจากการใช้เทคโนโลยีในกระบวนการผลิตเกษตร การสร้างความรู้และทักษะให้กับกลุ่มเกษตรกรเกี่ยวกับการบริหารจัดการและการตลาดก็เป็นสิ่งสำคัญ การจัดอบรมและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกลุ่มเกษตรกรจะช่วยเสริมความรู้และความเข้าใจ ในวิธีการเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตและ การตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ การสร้างทางเลือกในการผลิตและ การประมาณการตลาดเป็นสิ่งที่สำคัญในการยกระดับเศรษฐกิจชุมชนของกลุ่มเกษตรกร การผลิตผลผลิตที่มีคุณภาพสูงและตอบสนองต่อความต้องการของตลาดให้เหมาะสมจะช่วยเพิ่มรายได้และความมั่นคงของ กลุ่มเกษตรกร และสุดท้ายความร่วมมือระหว่างกลุ่มเกษตรกรและราชการท้องถิ่นเป็นสิ่งสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน การสร้างนโยบายและโครงการที่ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการเกษตรจะเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเติบโตและความยั่งยืนของเศรษฐกิจชุมชน การยกระดับห่วงโซ่อุปทานกระท้อนด้วยนวัตกรรมเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลาและความพยายาม แต่เป็นการลงทุน ที่มีค่าในอนาคตที่มั่นคงและยั่งยืนสาหรับเกษตรกรในจังหวัดลพบุรี ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชนและเพิ่มคุณค่าให้กับองค์กรเกษตรกรในพื้นที่นี้อย่างยั่งยืน
การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและขนมไทยจากกัญชาเพื่อสร้างอาชีพ
งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและขนมไทยจากกัญชาเพื่อสร้างอาชีพมีวัตถุประสงค์ในการศึกษา คือ เพื่อสำรวจความต้องการการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารไทย และขนมไทย จากกัญชา เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารไทย และขนมไทยจากกัญชา และเพื่อศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของอาหารไทย และขนมไทยที่มีส่วนผสมของกัญชา ผลการสำรวจความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารไทยและขนมไทยจากกัญชา ผลการสำรวจ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 50 คน มีความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารไทย ได้แก่ อันดับที่ 1 แกงพะแนง มีค่าเฉลี่ย 4.57 อันดับที่ 2 แกงส้ม มีค่าเฉลี่ย 4.30 และขนมไทย ได้แก่ อันดับที่ 3 วุ้น มีค่าเฉลี่ย 4.20 อันดับที่ 4 ทองหยิบ มีค่าเฉลี่ย 4.13 และอันดับที่ 5 ปุ้ยฝ้าย ค่าเฉลี่ย 4.07 ตามลำดับ ผลการศึกษาปริมาณการเสริมน้ำกัญชาในผลิตภัณฑ์อาหารไทยและขนมไทยเมื่อนำไปประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสผู้ทดสอบชิมเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารไทย ดังนี้ ปริมาณการเสริมน้ำกัญชาในผลิตภัณฑ์น้ำแกงพะแนง ให้การยอมรับการเสริมน้ำกัญชาในผลิตภัณฑ์น้ำแกงพะแนง ร้อยละ 40 ในด้านลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม มีค่าเฉลี่ย 7.84 7.95 7.90 8.13 8.05 และ 8.08 ตามลำดับ ปริมาณการเสริมน้ำกัญชาในผลิตภัณฑ์น้ำแกงส้ม ให้การยอมรับร้อยละ 40 ในด้านลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม มีค่าเฉลี่ย 8.15 7.96 8.00 8.10 7.83 และ 8.19 ตามลำดับ ปริมาณการเสริมน้ำกัญชาในผลิตภัณฑ์วุ้น ให้การยอมรับร้อยละ 40 ในด้านลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม มีค่าเฉลี่ย 8.00 8.10 8.20 7.95 8.03 และ 8.23 ตามลำดับ ปริมาณการเสริมน้ำกัญชาในผลิตภัณฑ์ทองหยิบ ให้การยอมรับร้อยละ 40 ในด้านลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม มีค่าเฉลี่ย 8.38 8.23 8.18 8.48 8.19และ 8.45 ตามลำดับ และปริมาณการเสริมน้ำกัญชาในผลิตภัณฑ์ปุยฝ้าย ให้การยอมรับร้อยละ 40 ในด้านลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม มีค่าเฉลี่ย 8.00 8.05 7.95 8.03 7.98 และ 8.10 ตามลำดับ เมื่อนำมาวิเคราะห์ความแปรปรวนและเปรียบเทียบความแตกต่างทางสถิติ พบว่า ในด้าน ลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิเคราะห์คุณภาพทางเคมี และคุณภาพทางกายภาพการเสริมน้ำกัญชาในผลิตภัณฑ์อาหารไทยและขนมไทย ในการเสริมน้ำกัญชาในผลิตภัณฑ์อาหารไทยและขนมไทย ทั้ง 5 รายการ สามารถเสริมได้ แต่ควรคำนึงถึงองค์ประกอบทางเคมีของส่วนประกอบเริ่มต้น เช่น ปริมาณความชื้น และไขมัน ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้ อาจมีผลกระทบต่อคุณลักษณะทางกายภาพ เช่น กลิ่น และลักษณะเนื้อสัมผัส ซึ่งคุณลักษณะเหล่านี้มีผลกระทบต่อการยอมรับผลิตภัณฑ์