จำนวนงานวิจัย ( 58 )

แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในชีวิตวิถีใหม่ กรณีศึกษา : คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในชีวิตวิถีใหม่ กรณีศึกษา : คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

การวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในชีวิตวิถีใหม่ กรณีศึกษา : คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาปัจจุบันในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ที่เหมาะสมสำหรับคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างเป็นอาจารย์ระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา ของคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จำนวน 65 คนนักศึกษาระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา ของคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จำนวน 417 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1. สภาพและปัญหาในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์อาจารย์คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ด้านการใช้สื่อและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ และการปรับรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนออนไลน์ให้มีความยืดหยุ่นเหมาะกับเนื้อหาที่สอนทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ การตรวจผลงานและให้ข้อมูลย้อนกลับไปยังผู้เรียนผ่านระบบออนไลน์ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ได้เหมาะสมกับเนื้อหาและผู้เรียน และสร้างสื่อการสอนที่นำมาใช้เป็นเครื่องมือในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้ด้วยตนเอง อาจารย์มีความต้องการในการพัฒนาและการฝึกอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์โดยใช้สื่อและเทคโนโลยี และควรมีระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่สามารถเข้าถึงได้ตลอดเวลา และระบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน สภาพและปัญหาในการเรียนการสอนออนไลน์ของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ พบว่า นักศึกษาขาดความมั่นใจเมื่อต้องนำเสนองานในรูปแบบออนไลน์ และการทำงานมอบหมายที่เป็นกลุ่มเป็นอุปสรรคในการเรียนออนไลน์ เนื้อหารายวิชาทฤษฎีเป็นการยากที่นักศึกษาจะให้ความสนใจและพร้อมที่จะตอบคำถามระหว่างเรียน แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่ใช้สืบค้นข้อมูลที่ในการเรียนออนไลน์มีจำกัด สัญญาณเครือข่ายที่นักศึกษาใช้ในการเรียนออนไลน์ไม่เสถียรในการเชื่อมต่อระหว่างเรียน การส่งผลงานปฏิบัติมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก นักศึกษามีอุปกรณ์ที่สามารถใช้ในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ไม่เพียงพอ 2. แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ที่เหมาะสมสำหรับคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ ในภาพรวมในระดับมาก ค่าคะแนนเฉลี่ย 3.83 แนวทางการพัฒนาการการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของอาจารย์คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จำนวน 5 ข้อ เรียงจากมากไปหาน้อย ตามลำดับ ดังต่อไปนี้ 1) มีการจัดอบรมให้ความรู้กับผู้สอนในการจัดการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์ โดยใช้โปรแกรมต่าง ๆ เช่น Google Classroom, Google Meet, Microsoft Teams, Zoom Mooc ฯลฯ ค่าเฉลี่ย 4.20 2) มีระบบเครือข่ายในการเข้าถึงการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ภายในคณะฯ เช่น ระบบอินเทอร์เน็ต, ระบบ WIFI, ระบบ LAN ฯลฯ ค่าเฉลี่ย 4.00 3) มีช่องทางการช่วยเหลืออาจารย์กรณีเกิดปัญหาการสอนออนไลน์ ผ่านช่องทาง Line, website ค่าเฉลี่ย 3.97 4) มีอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์เช่น คอมพิวเตอร์, กล้องสำหรับถ่ายวิดีโอ, กล้องสำหรับติดตั้งคอมพิวเตอร์ PC ฯลฯ ค่าเฉลี่ย 3.83 5) สนับสนุนค่าใช้จ่ายโปรแกรมเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ เช่น Kahoot , Quizizz , Canva , Prezi , Zoom เป็นต้น ค่าเฉลี่ย 3.15 ตามลำดับ

2564
การศึกษาสัดส่วนของปริมาตรคอนกรีตต่อปริมาณเหล็กเสริมในงานโครงสร้างพื้นไร้คานของอาคารขนาดใหญ่
การศึกษาสัดส่วนของปริมาตรคอนกรีตต่อปริมาณเหล็กเสริมในงานโครงสร้างพื้นไร้คานของอาคารขนาดใหญ่

การประมาณราคาแบบละเอียดต้องใช้ผู้ที่เชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ในการประมาณราคางานก่อสร้าง และต้องใช้ระยะเวลานานในการหาปริมาณวัสดุ ความถูกต้องของปริมาณวัสดุจึงมีความสาคัญในการกาหนดราคางานก่อสร้าง ดังนั้นหากมีเกณฑ์หรือเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ประมาณราคางานก่อสร้างใช้งานได้ง่ายและสะดวก ก็จะช่วยลดระยะเวลาในการทางานลงได้ ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาความสัมพันธ์เชิงสัดส่วนของปริมาตรคอนกรีตต่อปริมาณเหล็กเสริมในงานโครงสร้างระบบพื้นไร้คานของอาคารขนาดใหญ่ เป็นกรณีศึกษา จากนั้นนาค่าความสัมพันธ์ด้านสัดส่วนที่ได้ไปทดสอบกับอาคารที่มีรูปแบบคล้ายกัน และตัวแปรในการออกแบบเหมือนกัน นาค่าที่ได้มาเปรียบเทียบกับการประมาณราคาแบบละเอียด พบว่า ปริมาตรคอนกรีตและปริมาณเหล็กเสริมที่ได้มากกว่าค่าที่ได้จากการประมาณราคาแบบละเอียด ร้อยละ 5.86 และ 8.95 ตามลาดับ ค่าที่ได้แตกต่างกันไม่เกินร้อยละ 10 อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ดังนั้นค่าสัดส่วนความสัมพันธ์ที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้ สามารถนาไปใช้ในตรวจสอบปริมาณงานเหล็กเสริมและคอนกรีตในเบื้องต้นของอาคารที่มีรูปแบบคล้ายกัน และตัวแปรในการออกแบบเหมือนกันได้ในเวลาอันรวดเร็ว สามารถลดระยะเวลาในการทางานลงได้

2564
รูปแบบการจัดกิจกรรมการรับน้องอย่างสร้างสรรค์ภายในมหาวิทยาลัย กรณีศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
รูปแบบการจัดกิจกรรมการรับน้องอย่างสร้างสรรค์ภายในมหาวิทยาลัย กรณีศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (Depth Interview) สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ผู้วิจัยกำหนดกลุ่มที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับกิจกรรมการรับน้องของคณะ จำนวนทั้งสิ้น 40 คน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.กลุ่มนักศึกษาที่เป็นผู้จัดกิจกรรมรับน้องไม่มีแผนประเมินความเสี่ยงอย่างเป็นทางการแต่มีแผนปฏิบัติงานอย่างง่าย นอกเหนือจากกิจกรรมรับน้องปี 1 แล้วทุกสาขายังมีกิจกรรมการรับน้องปี 2 เข้าสาขาด้วย โดยสาขาวิชาเทคโนโลยีการโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง (RT) เพียงสาขาเดียวที่ยังคงมีระบบ SOTUS แฝงอยู่ 2.กลุ่มนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ต้องการเข้าร่วมกิจกรรมรับน้องเพราะต้องการสร้างความรู้จัก ความสนิทสนมกับเพื่อนและรุ่นพี่ รวมถึงต้องการที่ปรึกษาทั้งเรื่องการเรียนและชีวิตในมหาวิทยาลัย โดยเข้าใจเรื่องสิทธิส่วนบุคคลและรู้วิธีป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากกิจกรรมรับน้องที่ไม่สร้างสรรค์ รูปแบบการรับน้องที่นักศึกษาปีที่ 1 คิดว่าเหมาะสมคือ กีฬาภายในคณะ กิจกรรมสร้างสรรค์ที่ไม่เครียดมาก กิจกรรมที่แทรกความรู้ด้านวิชาชีพ กิจกรรมสันทนาการ ร้องเพลง และเล่นเกม 3.กิจกรรมรับน้องอย่างสร้างสรรค์ของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนกลุ่มอาจารย์และเจ้าหน้าที่รวมถึงกลุ่มบุคคลภายนอกคิดว่าควรจัดกิจกรรมสันทนาการและฐานกิจกรรม กิจกรรมวิชาชีพที่มีประโยชน์ต่อชุมชน กิจกรรมกีฬา และกิจกรรมบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เพื่อสร้างภาพลักษณ์ด้านวิชาชีพ

2563