
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษา การจัดการสินค้าแฟชั่นผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล ประจำปี งบประมาณ 2566 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการสินค้าแฟชั่นผ่านแพลตฟอร์ม ดิจิทัล และเพื่อสร้างแนวทางการจัดการสินค้าแฟชั่นผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล สามารถสรุปผลได้ดังนี้ 1. ผลการศึกษาแนวทางการจัดการสินค้าแฟชั่นผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล พบว่า พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป การตัดสินใจซื้อสินค้าโดยไม่จาเป็นต้องไปแหล่งขายหรือห้างสรรพสินค้าและยอมรับผลความเสี่ยงของการซื้อขายผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลมีความนิยมสูงขึ้น เนื่องมาจากการจัดการสินค้าแฟชั่นที่เกิดขึ้นระหว่างวิกฤติการณ์โลกกรณีการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่ผู้บริโภคเผชิญตลอดระยะเวลา 5 ปี (2563 – 2567) ผู้บริโภคเชื่อมั่นกับร้านค้า ผู้ประกอบการ และยอมรับความเสี่ยงทุกรูปแบบ จึงทาให้การจัดการสินค้าผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลต่างๆ มีคู่ค้าเพิ่มมากขึ้น และยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง เพราะสามารถเข้าถึงได้ตลอด 24 ชั่วโมง สร้างความสะดวกสบายในการซื้อขายที่ผู้บริโภคและผู้จัดจำหน่าย 2. ผลการสร้างแนวทางการจัดการสินค้าแฟชั่นผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลและทดสอบจำหน่ายสินค้าแฟชั่น บนแพลตฟอร์มดิจิทัล สามารถทาได้หลายรูปแบบ คือ จานวน 1 แพลตฟอร์มดิจิทัล คือ Instagram (IG) : WATTLEFASHION แพลตฟอร์มดิจิทัลในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์สินค้าแฟชั่น ต้นแบบ จานวน 1 แพลตฟอร์มดิจิทัล คือ www.REDBIBBLE.com และ Website ของสาขาวิชา 1 ช่องทาง และรูปแบบ onsite 3. ผลการสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อการจัดการสินค้าแฟชั่นผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล โดยมีประเด็นคาถามที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีประสบการณ์ด้านซื้อสินค้าแฟชั่นผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล รู้จักแพลตฟอร์มดิจิทัล Shoppe Lazada Facebook และ Instagram IG ผู้บริโภคส่วนใหญ่ความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด คือ การเข้าถึง แพลตฟอร์มดิจิทัลง่ายต่อการใช้งาน สินค้ามีการออกแบบน่าสนใจ และสินค้าแฟชั่นมีความ หลากหลาย สินค้าแฟชั่นมีความน่าสนใจ สวยงาม ทันสมัย ร้านค้าต่างๆมีรูปแบบการนาเสนอ ผลิตภัณฑ์ที่ดึงดูดใจให้ท่านเลือกซื้อสินค้า และระบุราคาไว้ชัดเจน