จำนวนงานวิจัย ( 104 )

สีบาติกไทยโทนเพื่อการสร้างมูลค่างานแกะสลักเชิงพาณิชย์ของกลุ่มผู้เรียนระดับอุดมศึกษา ในศตวรรษที่ 21
โครงการวิจัยเรื่อง สีบาติกไทยโทนเพื่อการสร้างมูลค่างานแกะสลักเชิงพาณิชย์ของกลุ่มผู้เรียนระดับอุดมศึกษาในศตวรรษที่ 21 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสีบาติกไทยโทนเพื่อการสร้างมูลค่างานแกะสลักเชิงพาณิชย์ และความพึงพอใจการใช้สีบาติกไทยโทนเพื่อการสร้างมูลค่างานแกะสลักเชิงพาณิชย์ของกลุ่มผู้เรียนระดับอุดมศึกษาในศตวรรษที่ 21 ดำเนินการศึกษาโดยรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง นำข้อมูลที่ได้มาจัดทำชุดสีบาติกไทยโทน และสอบถามข้อมูลจากความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญจำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มนักวิชาการด้านการแกะสลักสบู่ จำนวน 10 คน และกลุ่มที่สองกลุ่มผู้ประกอบการด้านการแกะสลักสบู่ จำนวน 10 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 20 คน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ และสรุปผล จากนั้นนำผลงานที่ได้ไปสำรวจความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายในครั้งนี้ จำนวน 20 คน นำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์โดยใช้ค่าความถี่ ค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่า S.D. ผลการศึกษาพบว่า สีบาติกไทยโทนเพื่อการสร้างมูลค่างานแกะสลักเชิงพาณิชย์ของกลุ่มผู้เรียนระดับอุดมศึกษาในศตวรรษที่ 21 นำสีบาติกมาผสมให้ได้กลุ่มสีไทยโทน ได้แก่ สีเหลืองรง สีเหลืองไพล สีแดงชาด สีดำเขม่า สีส้มเสน สีน้ำตาลไหม้ สีเขียวน้ำไหล สีมอหมึกอ่อน สีม่วงดอกตะแบก สีเขียวดิน สีขาบ สีคราม สีดิน สีหงสบาท และสีม่วงผักตบ โดยการเปรียบเทียบกับสีน้ำไทยโทน และตรวจสอบโทนสีด้วยเครื่องวัดความเข้มของแสง (Spectrophotometer) ส่วนความพึงพอใจด้านสีบาติกไทยโทนเพื่อการสร้างมูลค่างานแกะสลักเชิงพาณิชย์ของกลุ่มผู้เรียนระดับอุดมศึกษาในศตวรรษที่ 21 กลุ่มนักวิชาการด้านการแกะสลักสบู่มีความพึงพอใจอยู่ระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.52 มากกว่ากลุ่มผู้ประกอบการด้านการแกะสลักสบู่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.50 ด้านการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์งานแกะสลักสบู่ กลุ่มนักวิชาการด้านการแกะสลักสบู่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.52 ผู้ประกอบการด้านการแกะสลักสบู่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.62 ด้านการเพิ่ม มูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์งานแกะสลักสบู่ กลุ่มนักวิชาการด้านการแกะสลักสบู่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.62 กลุ่มผู้ประกอบการด้านการแกะสลักสบู่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.72 ด้านการต่อยอดเป็นธุรกิจ SMEs กลุ่มนักวิชาการด้านการแกะสลักสบู่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.40 กลุ่มผู้ประกอบการด้านการแกะสลักสบู่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.27

ความต้องการการออกกำลังกายของผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบุรี
งานวิจัยนี้มีเพื่อศึกษาความต้องการการออกกำลังกายของผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบุรี โดยดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ.2565 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2566 เป็นการวิจัยเชิงสำรวจมุ่งศึกษาและเปรียบเทียบความต้องการการออกกำลังกายของผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบุรี โดยกำหนดให้ครอบคลุมกับความต้องการของผู้สูงอายุทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านชนิดของกิจกรรมการออกกำลังกาย ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก สถานที่ และอุปกรณ์ ด้านบุคลากรที่ให้บริการ และด้านการจัดการ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้สูงอายุในอำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรีที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป โดยมีกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้สูงอายุในอำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรีที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป จำนวน 400 คน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับความต้องการการออกกำลังกาย 4 ด้าน ได้แก่ ด้านประเภทและชนิดของการออกกำลังกาย ด้านสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านค่าใช้จ่ายในการออกกำลังกาย ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการออกกำลังกาย โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ 1. ประเภทและชนิดของการออกกำลังกาย ที่ผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบุรีต้องการมากที่สุด คือ เต้นแอโรบิค รองลงมา คือ เดิน – วิ่ง การออกกำลังกายอื่น ๆ ขี่จักรยาน ฟุตบอล - ฟุตซอล และแบดมินตัน เป็นต้น 2. ความต้องการการออกกำลังกาย ด้านสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก คือ สามารถใช้บริการได้ทั้งกลางแจ้งและในร่ม มีห้องน้ำไว้บริการ ใกล้ชุมชน ได้มาตรฐาน และมีอากาศถ่ายเท และมีแสงสว่างเพียงพอ 3. ความต้องการการออกกำลังกาย ด้านค่าใช้จ่ายในการออกกำลังกาย คือ มีเจ้าหน้าที่ดูแล รักษาความปลอดภัย เจ้าหน้าที่ให้บริการด้วยมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีเจ้าหน้าที่คอยให้คำแนะนำการใช้บริการ ให้ความรู้ในการออกกำลังกาย หรือการเล่นกีฬาโดยเฉพาะด้าน และมีเจ้าหน้าที่ด้านการพยาบาลประจำสถานที่ออกกำลังกาย 4. ความต้องการการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการออกกำลังกาย คือ มีกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ในการใช้สถานที่ออกกำลังกายอย่างชัดเจน มีการจัดการจราจรและลานจอดรถที่ดี มีการจัดการด้านความสะอาดที่ดี มีความสะดวกในการติดต่อประสานงาน และมีการจัดเก็บข้อมูลผู้ใช้บริการที่ดีเพื่อความปลอดภัย และเมื่อจำแนกตามเพศ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน พบว่า ผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบุรี ที่มีเพศที่ต่างกันมีความต้องการออกกำลังกายแตกต่าง ผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบุรีที่มีอายุที่ต่างกันมีความต้องการในการออกกำลังกายแตกต่างกัน จำนวน 2 ด้าน คือ ด้านสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก และด้านค่าใช้จ่ายในการออกกำลังกาย

บทบาทของผู้สูงอายุต่อการพัฒนาชุมชนในอำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
งานวิจัยนี้มีเพื่อศึกษาบทบาทของผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบุรีที่มีต่อการพัฒนาชุมชน และเพื่อศึกษาเปรียบเทียบทัศนคติของประชาชนในจังหวัดเพชรบุรีเกี่ยวกับบทบาทของผู้สูงอายุที่มีต่อการพัฒนาชุมชน โดยดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2566 เป็นการวิจัยเชิงสำรวจที่ใช้เครื่องมือแบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วย 4 ส่วน คือ 1) ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ประกอบด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ และสุขภาพ 2) บทบาทของผู้สูงในอายุในจังหวัดเพชรบุรีที่มีต่อการพัฒนาชุมชน และ 3) ข้อเสนอแนะของผู้ตอบแบบสอบถามโดยมีกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้สูงอายุในอำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 400 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนา สำหรับข้อมูลลักษณะทางประชากรศาสตร์ และสถิติเชิงอนุมาน สำหรับการทดสอบสมมติฐาน ผลการศึกษาพบว่า ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 61 - 65 ปี ระดับการศึกษาประถมศึกษา ส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรและมีโรคประจำตัว บทบาทของผู้สูงในอายุในจังหวัดเพชรบุรีที่มีต่อการพัฒนาชุมชนในอำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านการศึกษา ด้านอาชีพ ด้านศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี และด้านศาสนา และของผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบุรีที่มีต่อการพัฒนาชุมชนประกอบด้วย ด้านการศึกษา ด้านศาสนา ด้านศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี และด้านอาชีพ จำแนกตามข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม แสดงให้เห็นว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพต่างกัน มีบทบาทของผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบุรีที่มีต่อการพัฒนาชุมชน ประกอบด้วย ด้านการศึกษา ด้านศาสนา ด้านศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี และด้านอาชีพ แตกต่างกัน แต่กลุ่มตัวอย่างที่มีสุขภาพต่างกัน มีบทบาทของผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบุรีที่มีต่อการพัฒนาชุมชน ประกอบด้วย ด้านการศึกษา ด้านศาสนา ด้านศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี และด้านอาชีพ ไม่แตกต่างกัน

วิเคราะห์วรรณกรรมประเภทนิราศของสุนทรภู่กับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษา นิราศสุพรรณ
งานวิจัยนี้มีเพื่อศึกษาความสำคัญ และบทบาทวรรณกรรมประเภทนิราศสุพรรณที่มีต่อเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และเพื่อศึกษาโลกทัศน์ของสุนทรภู่ที่ปรากฏในวรณณกรรมประเภทนิราศกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยการสอบถามจากปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำชุมชน และประชากรในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน คือ การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) แลการวิจัยเชิงคุณภาพ (Quality Research) โดยช่วงระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ ช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 - เดือนกันยายน พ.ศ. 2566 กับประชากรที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวภายในจังหวัดสุพรรณบุรี โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ (Questionnaire Online) ที่ผ่านการทดสอบความเชื่อมั่น (Reliability) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 400 ชุด จากนั้นจึงนำแบบสอบถามที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS (Statistical Package for the Social Sciences) ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่ให้ความสนใจในการท่องเที่ยวในจังหวัดสุพรรณบุรี โดยเน้น 1) สถาปัตยกรรมและโบราณสถานในจังหวัดสุพรรณบุรี 2) แหล่งอาหารและขนมหวาน และของฝากในจังหวัดสุพรรณบุรี 3) ประเพณี และวัฒนธรรมในจังหวัดสุพรรณบุรี 4) สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ต่าง ๆ เช่น วัด โบราณสถาน ฯลฯ 5) รูปแบบวิถีชีวิตของผู้คนภายในจังหวัดสุพรรณบุรี 6) แหล่งสินค้าพื้นเมือง และของที่ระลึกในจังหวัดสุพรรณบุรี และ 7) งานศิลปกรรมแขนงต่าง ๆ เช่น งานแกะสลักไม้ งานปูนปั้น งานจิตรกรรมฝาผนัง ตามลำดับ และในส่วนของความคิดเห็นในการนำนิราศสุพรรณมาใช้ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ทั้งในด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยว ด้านการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยว ด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว ด้านขีดความสามารถในการรองรับของพื้นที่ ด้านความพร้อมของคนในชุมชนที่มีต่อการท่องเที่ยว ด้านการประชาสัมพันธ์ และด้านความปลอดภัยและสิ่งอำนวยความสะดวกของแหล่งท่องเที่ยว

การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงอาหารของนักท่องเที่ยวชาวไทย ในจังหวัดเพชรบุรี
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาบริบทของอาหารที่อยู่ในเส้นทางการท่องเที่ยวในจังหวัดเพชรบุรี 2. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวและความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการท่องเที่ยว เชิงอาหารในจังหวัดเพชรบุรี 3. เพื่อศึกษากระบวนการในการตัดสินใจเดินทางของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการท่องเที่ยวเชิงอาหารในจังหวัดเพชรบุรี โดยดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ.2565 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2566 เป็นการวิจัยเชิงสำรวจที่ใช้เครื่องมือแบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม 2) พฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการท่องเที่ยวเชิงอาหารในจังหวัดเพชรบุรี และ 3) ความคิดเห็นต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการท่องเที่ยวเชิงอาหารในจังหวัดเพชรบุรี โดยมีกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดเพชรบุรี จำนวน 400 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนาสำหรับข้อมูลลักษณะทางประชากรศาสตร์ ผลการศึกษาพบว่า ข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 21 - 30 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาปริญญาตรี อาชีพพนักงาน / ลูกจ้างบริษัทเอกชนและมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 25,000 บาท พฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการท่องเที่ยวเชิงอาหารในจังหวัดเพชรบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยพิจารณาเป็นรายด้าน ดังนี้ ด้านวัตถุประสงค์ในการเดินทางมาจังหวัดเพชรบุรี พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เดินทางมาจังหวัดเพชรบุรีเพื่อชิมอาหารประจำถิ่น / เครื่องดื่มจากร้านดังที่สื่อ/สังคมออนไลน์แนะนำ ด้านค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการท่องเที่ยวเชิงอาหารต่อครั้ง พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการท่องเที่ยวเชิงอาหารต่อครั้งอยู่ที่ 500 – 1,000 บาท ด้านเหตุผลในการเลือกรับประทานอาหารท้องถิ่นของจังหวัดเพชรบุรี พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ให้เหตุผลในการเลือกรับประทานอาหารท้องถิ่นของจังหวัดเพชรบุรีในด้านของรสชาติดี / อร่อย และด้านอาหารที่ชอบรับประทานเมื่อเดินทางมาท่องเที่ยวเชิงอาหารในจังหวัดเพชรบุรี พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เลือกรับประทานอาหารพื้นเมือง / อาหารประจำถิ่นจากร้านที่คุ้นเคยหรือรับประทานเป็นประจำ ในส่วนของความคิดเห็นต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการท่องเที่ยวเชิงอาหารในจังหวัดเพชรบุรี ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด โดยพิจารณาเป็นรายด้าน ดังนี้ ด้านการตัดสินใจในการเดินทางมาท่องเที่ยว คือ ชื่นชอบในราคาอาหารที่มีความเหมาะสมกับปริมาณของอาหาร ด้านความสะดวกในการเข้าถึง คือ มีเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกและดูแลความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว และด้านความประทับใจ คือ ร้านอาหารในจังหวัดเพชรบุรีมีการประชาสัมพันธ์อาหารผ่านสื่อต่าง ๆ หรือสังคมออนไลน์เพื่อให้นักท่องเที่ยวเกิดความสนใจ