จำนวนงานวิจัย ( 104 )

กลยุทธ์ความสำเร็จของการเรียนออนไลน์ของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์
กลยุทธ์ความสำเร็จของการเรียนออนไลน์ของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาปัจจัยความสำเร็จการเรียนออนไลน์ และกลยุทธ์ความสำเร็จการเรียนออนไลน์ ของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ที่กำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษา 2564 จำนวน 277 คน และผู้สอนจำนวน 7 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ค่าความถี่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้คือการสัมภาษณ์ และวิเคร์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1. ลักษณะทางประชากรของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 67.87 มีอายุ 19 ปีสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 32.49 โดยกลุ่มตัวอย่างศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 2 จำนวนสูงสุด ร้อยละ 37.18 ส่วนใหญ่อยู่บ้านตัวเอง ร้อยละ76.53 สำหรับสถานที่สะดวกในการเรียนออนไลน์ ส่วนใหญ่ใช้ที่บ้านร้อยละ 83.39 ส่วนอุปกรณ์ที่กลุ่มตัวอย่างใช้ในการเชื่อมต่อสัญญานในการเรียนออนไลน์ส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์มือถือ ร้อยละ 89.89 และกลุ่มตัวอย่างกว่าครึ่งไม่มีปัญหาเกี่ยวกับสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในการเรียนออนไลน์ ร้อยละ 63.54 2. ปัจจัยความสำเร็จการเรียนออนไลน์ของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมาก (x ̅= 3.66, S.D.= 0.96) โดยปัจจัยความสำเร็จการเรียนออนไลน์ของกลุ่มตัวอย่างด้านเนื้อหามีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( x ̅= 3.74 S.D.= 0.90) รองลงมาคือด้านเทคโนโลยี และด้านผู้สอน (x ̅= 3.65 S.D.= 0.96, x ̅= 3.62 S.D.= 0.98) ตามลำดับ 3. กลยุทธการเรียนออนไลน์ของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ ที่ควรมี ประกอบด้วยปัจจัยการสอน ออกแบบการเรียนการสอนที่ชัดเจนตั้งแต่วัตถุประสงค์ กิจกรรมการเรียนเรียน และการประเมินผล จัดทำสื่อการสอนให้เหมาะสม มีทักษะทางเทคโนโลยีสามารถใช้ประโยชน์เครื่องมือออนไลน์ได้ และบริหารจัดเวลาการเรียนที่อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจัยการเรียน มีการทำข้อตกลงในการเรียน ผู้เรียนควรมีความพร้อมในการเรียน มีทักษะทางเทคโนโลยี ควรมีการสะท้อนกลับ( Feedback) ของผู้เรียน รวมถึงมีการบันทึกการสอนเพื่อนักศึกษาสามารถเรียนรู้ย้อนหลังได้และเพิ่มช่องทางการส่งงาน ปัจจัยเนื้อหา ควรจัดรูปแบบการเรียนการสอน สื่อการสอนใหม่มีความ หลากหลาย และเสริมสร้างการเรียนรู้เชิงรุกนอกชั้นเรียน ปัจจัยเทคโนโลยี ควรสร้างสังคมออนไลน์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน จัดอบรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ต้องใช้ มีความพร้อมในการเข้าถึงการเรียนการสอนออนไลน์ รวมถึงแชร์เครื่องมือ/โปรแกรมที่ใช้ให้กับนักศึกษา และควรตรวจสอบช่องทางการสื่อสารที่ใช้ตลอดเวลา ปัจจัยสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ ควรสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ร่วมกัน เลือกใช้ครื่องมือที่เหมาะสมในแต่ละกิจกรรมการเรียนการสอน จัดส่งเนื้อหาบทเรียน วีดีโอ ให้นักศึกษาดูก่อนเรียน แบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่มย่อย และมอบหมายให้นักศึกษาศึกษาจากแหล่งเรียนรู้อื่นๆ เพิ่มเติม

2565
แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวและการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดแหล่งท่องเที่ยว เพื่อนันทนาการในสถานการณ์โควิด – 19 ณ เมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการ
แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวและการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดแหล่งท่องเที่ยว เพื่อนันทนาการในสถานการณ์โควิด – 19 ณ เมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวและการวางแผน กลยุทธ์ทางการตลาด ณ เมืองโบราณ จ.สมุทรปาการ ในสถานการณ์โควิด-19 โดยทาการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามจากนักท่องเที่ยว จำนวนทั้งสิ้น 400 ตัวอย่าง ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และทำการสัมภาษณ์จากผู้ให้ข้อมูลหลักที่เกี่ยวข้องกับเมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการ จานวน 10 คน จากนั้นนำผลการศึกษาที่ได้ทั้ง 2 ส่วน มาวิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผลการศึกษาต่อไป ผลการศึกษาการวิจัย พบว่า ด้านการจัดการการท่องเที่ยวจากการสอบถามนักท่องเที่ยวและสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องมีความสอดคล้องกันว่าเมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการ ได้มีแนวทางในจัดการจัดการการท่องเที่ยวในสถานการณ์โควิด–19 อยู่ในแนวทางที่ดีและมีความเหมาะสม ในด้านทางการตลาดนั้น เมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการได้ปรับกลยุทธ์ในการเข้าถึงกลุ่มนักท่องเที่ยว ชาวไทยมากยิ่งขึ้น รวมถึงมีการเพิ่มจุดท่องเที่ยวด้านใน และปรับปรุงส่วนที่ทรุดโทรมของแหล่งท่องเที่ยวอีกด้วย

2565
การอนุรักษ์และการพัฒนาการท่องเที่ยวของชุมชนมรดกริมน้ำ กรณีศึกษา ชุมชนเรือนแพแม่น้ำสะแกกรัง อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี
การอนุรักษ์และการพัฒนาการท่องเที่ยวของชุมชนมรดกริมน้ำ กรณีศึกษา ชุมชนเรือนแพแม่น้ำสะแกกรัง อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสำคัญทางวัฒนธรรมและทรัพยากรมรดกของชุมชนเรือนแพแม่น้ำสะแกกรัง จังหวัดอุทัยธานี 2) ศึกษาแนวทางการอนุรักษ์และแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่เหมาะสมกับชุมชนแพแม่น้ำสะแกกรัง จังหวัดอุทัยธานี และ 3) เสนอนโยบายการพัฒนาการท่องเที่ยวกับหน่วยงานด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ประชาชนในชุมชน หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนเรือนแพแม่นํ้าสะแกกรังเป็นหนึ่งในมรดกทางวัฒนธรรมเป็นผลมาจากกระบวนการพัฒนาของสังคมในเรื่องคุณค่าและความต้องการของสังคมที่ตระหนักถึงการดำรงชีวิตที่มีความเกี่ยวข้องกับลักษณะของสิ่งแวดล้อมที่อาศัยอยู่ ทั้งชีวิตความเป็นอยู่และการทำงานตลอดจนเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและความสัมพันธ์ทางจิตใจ เรือนแพที่แม่น้ำสะแกกรังยังเป็นเรือนแพที่มีจำนวนมากที่สุดในประเทศไทยและยังคงความเอกลักษณ์ท้องถิ่นที่มีเสน่ห์และวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมเอาไว้ ชุมชนเรือนแพสามารถพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับปลาแรด การทำอาหารจากปลาแรดโดยการประสานกับที่พักหรือโฮมสเตย์ให้มีการเรียนรู้ลงมือทำเป็นกิจกรรมเพิ่มเติมให้กับนักท่องเที่ยว นอกจากนี้การพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวต้องการการสนับสนุนจากงานพัฒนาชุมชนในการออกแบบกิจกรรมหรือการพัฒนาการท่องเที่ยวในชุมชน นโยบายหรือแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยว ชุมชนควรมีการสร้างเรื่องราวของชุมชนก่อนสร้างเป็นกิจกรรมการท่องเที่ยว การประชาสัมพันธ์ด้วยสื่อออนไลน์ และการทำโมเดลการท่องเที่ยวให้เห็นภาพเบื้องต้นรวมทั้งการรวบรวมผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวเพื่อระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาการท่องเที่ยวของชุมชน

2565
ผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 19 ที่มีต่อการท่องเที่ยวในมุมมองของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
ผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 19 ที่มีต่อการท่องเที่ยวในมุมมองของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

งานวิจัยนี้มีเพื่อศึกษาผลกระทบก่อนและหลังเกิดสถานการณ์โควิด 19 (COVID-19) ที่มีต่อการท่องเที่ยวในมุมมองของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบทางธุรกิจในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่มีต่อสถานการณ์โควิด 19 (COVID-19) ในมุมมองของผู้ประกอบการ และเพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลกระทบก่อน และหลังจากสถานการณ์โควิด 19 (COVID-19) ที่มีต่อการท่องเที่ยวในมุมมองของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ.2564 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2565 เป็นการวิจัยเชิงสำรวจที่ใช้เครื่องมือแบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม 2) ความคิดเห็นที่มีต่อผลกระทบก่อนและหลังจากสถานการณ์โควิด 19 ที่มีต่อการท่องเที่ยวในมุมมองของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จำนวน 3 ด้าน ได้แก่ ผลกระทบทางเศรษฐกิจ ผลกระทบด้านการท่องเที่ยว และรูปแบบการดำเนินธุรกิจ และ 3) ปัญหาและอุปสรรค และข้อเสนอแนะ โดยมีกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศไทย จำนวน 400 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนาสำหรับข้อมูลลักษณะทางประชากรศาสตร์ ผลการศึกษาพบว่า ข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 31 - 35 ปี ส่วนใหญ่มีสถานภาพโสด ระดับการศึกษาปริญญาตรี ตำแหน่งพนักงาน และมีระยะเวลาในการปฏิบัติงาน 6 – 10 ปี และผลการวิเคราะห์ของผู้ประกอบการที่มีต่อผลกระทบก่อนและหลังสถานการณ์โควิด 19 ที่มีต่อการท่องเที่ยว พบว่า ผลกระทบก่อนและหลังเกิดสถานการณ์โควิด 19 (COVID-19) ที่มีต่อการท่องเที่ยวในมุมมองของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ผลกระทบทางเศรษฐกิจ ผลกระทบทางการท่องเที่ยว และรูปแบบการดำเนินธุรกิจ นั้นต้องมีการปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) หากไม่มีการปรับตัวในเรื่องของธุรกิจบริการต่าง ๆ ก็จะทำให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวนั้นขาดรายได้ ซึ่งมีผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจที่พัก ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจขนส่ง ธุรกิจการบิน เพราะธุรกิจบริการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างรายได้ และกระตุ้นเศรษฐกิจมากกว่าธุรกิจอื่น ๆ และการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โคโรน่า 2019 (COVID-19) เกิดผลกระทบเป็นวงกว้างในหลาย ๆ ธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจบริการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ธุรกิจบริการบางแห่งถึงขั้นปิดตัวลงเพราะสู้กับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ไม่ไหว อีกทั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสดังกล่าวทำให้การท่องเที่ยวหยุดชะงัก งดการเดินทางท่องเที่ยวข้ามจังหวัด ปิดประเทศ งดการเดินทางเข้า - ออกระหว่างประเทศ ห้ามออกจากเคหสถานในยามวิกาล ทำให้ธุรกิจท่องเที่ยวหายไปช่วงหนึ่ง ดังนั้น ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 5.3.2 ควรเพิ่มมาตรการในการดำเนินการป้องกัน ควบคุมการติดเชื้อไวรัส โคโรน่า 2019 ให้ถูกสุขลักษณะของกระทรวงสาธารณสุขมากขึ้น

2565
การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน   จังหวัดสมุทรสาคร
การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน จังหวัดสมุทรสาคร

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดสมุทรสาคร 2. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนและรูปแบบของการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดสมุทรสาครกับปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน 3. เพื่อศึกษารูปแบบของการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดสมุทรสาคร โดยดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ.2564 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2565 เป็นการวิจัยเชิงสำรวจที่ใช้เครื่องมือแบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม 2) ความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดสมุทรสาคร โดยแบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการเสนอความคิด การวางแผน และการตัดสินใจ ด้านการดำเนินการและการปฏิบัติการ ด้านการรับและแบ่งบันผลประโยชน์ และด้านการติดตามและประเมินผล และ 3) ปัญหาและอุปสรรค และข้อเสนอแนะ โดยมีกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักท่องเที่ยวและคนในชุมชน จำนวน 400 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนาสำหรับข้อมูลลักษณะทางประชากรศาสตร์ ผลการศึกษาพบว่า 1) ข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุต่ำกว่า 25 ปี ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส ระดับการศึกษาปริญญาตรี อาชีพพนักงานรัฐ / เจ้าหน้าที่ของรัฐ / รับราชการ และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 10,001 – 15,000 บาท 2) ความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดสมุทรสาคร โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ ดังนี้ ด้านการติดตามและประเมินผล มากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการเสนอความคิด การวางแผน และการตัดสินใจ ด้านการดำเนินการและปฏิบัติการ และด้านการรับและแบ่งปันผลประโยชน์ 3) ระดับการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดสมุทรสาคร โดยแบ่งออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการเสนอความคิด การวางแผน และการตัดสินใจ 2) ด้านการดำเนินการและปฏิบัติการ 3) ด้านการรับและแบ่งปันผลประโยชน์ และ 4) ด้านการติดตามและประเมินผล ในภาพรวมนั้นอยู่ในระดับมาก เนื่องจากคนในชุมชนนั้นให้คอยให้ความร่วมมือในการดำเนินการแสดงความคิดเห็น ช่วยกันวิเคราะห์สภาพปัญหาของชุมชน เสนอโครงการ หรือกิจกรรมของชุมชน จัดทำโครงการ เพื่อกระตุ้นให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่ในชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ โดยมีการบริจาค สมทบทุน จัดตั้งคณะกรรมการในการจัดงานต่าง ๆ ในชุมชน สามารถนำสินค้าที่ตัวเองมีมาขายเพื่อสร้างรายได้ให้กับตนเองและชุมชน รวมถึงมีหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนเข้ามาให้การสนับสนุน ติดตาม ดำเนินการกำกับดูแล และหาแนวทางในการปรับปรุงแก้ไข และสร้างสรรค์ชุมชนของตนให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดสมุทรสาคร 4) ปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน มีผลต่อความคิดเห็นต่อ ระดับการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนและรูปแบบของการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดสมุทรสาคร ในภาพรวมไม่แตกต่างกัน เนื่องจาก คนในชุมชนไม่ว่าจะเป็นเพศหญิง เพศชาย อายุน้อยจนถึงอายุมาก หรือจะมีอาชีพแตกต่างกัน รวมไปถึงรายได้เฉลี่ยต่อเดทอนแตกต่างกัน ก็ยังให้ความร่วมมือในการสนับสนุนและพัฒนาชุมชนของตนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดสมุทรสาคร 5) รูปแบบของการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดสมุทรสาครนั้นได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากคนในชุมชน หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งทุกคนที่อาศัยในชุมชนต่างก็พัฒนาชุมชนของตนเองให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นการทำเครื่องเบญจรงค์ หมู่บ้านเบญจรงค์ดอนไก่ดี ตำบลดอนไก่ดี อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร หรือการเยี่ยมชมวิถีชีวิตของคนในชุมชนเมืองประมงของชาวจังหวัดสมุทรสาคร

2565