จำนวนงานวิจัย ( 66 )

นวัตกรรมผลิตภัณฑ์สารสกัดสมุนไพรเพื่อกำจัดสารเคมีสังเคราะห์ตกค้าง
งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสารสกัดสมุนไพร 4 ชนิด ได้แก่ ใบรางจืด, ใบยูคาลิปตัส, เปลือกส้มโอ และอบเชย ซึ่งมีศักยภาพในการกำจัดสารเคมีสังเคราะห์ที่ตกค้างในน้ำทิ้งและบนพื้นผิวสัมผัส ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าสารสกัดจากสมุนไพรที่ใช้เอทานอล 80% ที่ความเข้มข้น 0.05% สามารถลดการปนเปื้อนของสารเคมี 4 ชนิด คือ C.I. Reactive Brown 18, Crystal Violet, Methylene Blue และ Safranin โดยมีประสิทธิภาพที่น่าพอใจ เช่น สารสกัด Crystal Violet ลดลง 29.4% ขณะที่สารสกัด Methylene Blue ลดลงสูงถึง 70.6% นอกจากนี้ สารสกัดทั้ง 4 ชนิดนี้ไม่เป็นพิษต่อกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ ยกเว้นสารสกัดใบยูคาลิปตัส ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นพิษต่อการเจริญเติบโตของเชื้อรา Aspergillus niger ในระดับต่ำ โดยมีการลดลงประมาณ 10-20% บนอาหารแข็ง การทดลองในส่วนของการพัฒนาสูตรผสมของสารสกัดทั้ง 4 ชนิดในอัตราส่วน 1:1 พบว่าประสิทธิภาพรวมของสูตรนี้สามารถสูงเกิน 80% ในการลดการปนเปื้อนทั้งบนพื้นผิวและในน้ำ แต่ในกรณีของการใช้งานบนผ้าพบว่าประสิทธิภาพลดลง ไม่เกิน 50% หากสารเคมีแห้งไม่เกิน 30 นาที อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพของสารสกัดเหล่านี้จะลดลงหากเก็บไว้นานเกิน 3 เดือน เช่น สารสกัดใบรางจืดเมื่อใช้งานกับ Crystal Violet พบว่าประสิทธิภาพลดลง 21.6% สารสกัดใบยูคาลิปตัสเมื่อทำการทดสอบกับ Methylene Blue ลดลง 6% และสารสกัดเปลือกส้มโอ ต่อ Methylene Blue ลดลง 29.2% ในขณะที่สารสกัดอบเชยต่อ Safranin ลดลง 36.8% การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์จากสารสกัดสมุนไพร 4 ชนิดนี้สามารถเป็นทางเลือกที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดสารเคมีสังเคราะห์จากธรรมชาติ โดยไม่ก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมและเป็นมิตรต่อผู้ใช้ เนื่องจากสารสกัดเหล่านี้มาจากธรรมชาติและไม่มีสารกันบูด ซึ่งทำให้เหมาะสมกับการใช้งานในด้านความปลอดภัย ทั้งนี้ ควรเก็บสารสกัดไว้ ไม่เกิน 3 เดือนเพื่อรักษาประสิทธิภาพการใช้งานที่ดีที่สุด โดยทางเลือกนี้ไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มมูลค่าให้แก่สมุนไพร แต่ยังส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติในการจัดการกับสารเคมีตกค้างในชีวิตประจำวันอีกด้วย

ระบบการจัดเก็บและรายงานข้อมูลสำหรับการประเมิน ตามเกณฑ์ QS Stars Rating
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการจัดเก็บและรายงานข้อมูลสำหรับการประเมินตามเกณฑ์ QS Stars Rating ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เพื่อให้ระบบมีความทันสมัย สะดวกต่อ การใช้งาน และมีความสวยงาม จากการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลตามเกณฑ์ QS Stars Rating พบว่า การพัฒนาระบบดังกล่าวช่วยสนับสนุนการบริหารจัดการข้อมูลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยระบบที่พัฒนาสามารถรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานที่รับผิดชอบต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ ลดความซ้ำซ้อน และเพิ่ม ความรวดเร็วในการเข้าถึงและวิเคราะห์ข้อมูล เครื่องมือที่นำมาใช้ เช่น Google Forms, Google Sheets และ Looker Studio ช่วยให้การจัดเก็บและนำเสนอข้อมูลมีความชัดเจน เข้าใจง่าย และสวยงาม ผลการประเมินการใช้งานระบบพบว่าผู้ใช้งานมีความพึงพอใจในระดับดี โดยสรุป ระบบที่พัฒนาช่วยเพิ่มศักยภาพของมหาวิทยาลัยในการจัดการข้อมูลและสนับสนุนการประเมินในระดับสากลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ลักษณะความเสี่ยงของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ระหว่างปี 2561-2565
ธนาคารพาณิชย์เป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูงเนื่องจากส่งผลกระทบกับภาคเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาลักษณะความเสี่ยงของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ระหว่างปี 2561-2565 โดยรวบรวมข้อมูลจากแบบแสดงรายการข้อมูลประจาปี (56-1) ของธนาคารพาณิชย์จานวน 11 แห่ง โดยวิเคราะห์ลักษณะความเสี่ยงจากการเปิดเผยตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยใช้เป็นกรอบในการเปิดเผย ได้แก่ ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk) ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (Operational Risk) ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทางการเงิน (Financial Risk) และความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (Compliance Risk) มีการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของลักษณะความเสี่ยงในแต่ละช่วงเวลา ผลการศึกษาพบว่าลักษณะความเสี่ยงและการเปลี่ยนแปลงของความเสี่ยงในรอบ 5 ปี ของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทยมีการเปิดเผยลักษณะความเสี่ยงตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกาหนดให้มีการเปิดเผยดังกล่าว แต่หากขยายให้มีการเปิดเผยความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทางการเงิน (Financial Risk) เพิ่มเติมด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดาเนินธุรกิจด้วยอาจจะเกิดประโยชน์มากขึ้น ดังนั้นการเปิดเผยที่จะเป็นประโยชน์ต่อลูกค้า ผู้ลงทุน รวมถึงธนาคารเอง ควรมีการเปิดเผยความเสี่ยง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk) ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (Operational Risk) ความเสี่ยงด้านรายงาน (Report Risk) และความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (Compliance Risk) งานวิจัยฉบับนี้แสดงให้เห็นถึงลักษณะความเสี่ยงของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ระหว่างปี 2561-2565 การเรียนรู้ความเสี่ยงดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อ คณะกรรมการกากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สามารถนาผลการศึกษาครั้งนี้ไปใช้เป็นแนวทางในการออกกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการเปิดเผยความเสี่ยงของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และสามารถประเมินความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตและจัดทาแผนป้องกันความ

การบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา : วิสาหกิจชุมชน อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดการวิสาหกิจชุมชน ศูนย์กระบวนการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน 2) เพื่อวิเคราะห์กระบวนการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน วิธีดำเนินการวิจัย ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ แบบสัมภาษณ์ (Interview) เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบ มีโครงสร้าง (Structure In-depth Interview) โดยกลุ่มเป้าหมายมุ่งเน้นเป็นตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและตัวแทนชุมชนในพื้นที่ศึกษา จำนวนสมาชิกต่อกว่า 15 ราย จำนวน 235 ชุมชน ผลการวิจัยพบว่า วิสาหกิจชุมชน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 88.1 มีอายุ 51 -60 ปี ร้อยละ 41.3 มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 71.4 และ มีประสบการณ์ ในการบริหารวิสาหกิจชุมชน 11 -15 ปี ร้อยละ 31.2 2. ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ให้ระดับความสำคัญของกลยุทธ์การจัดการวิสาหกิจชุมชน ในภาพรวมเฉลี่ย 4.15 คะแนน (อยู่ระดับมาก) ด้านการผลิต ผู้ประกอบการให้ระดับความสำคัญของกลยุทธ์ในการทำการตลาดเฉลี่ยเท่ากับ 4.29 คะแนน (ระดับมากที่สุด) มีการควบคุมตรวจสอบคุณภาพสินค้าหรือบริการทุกครั้ง ก่อนจำหน่ายหรือให้บริการ” มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 4.51 คะแนน (ระดับมากที่สุด) หัวข้อ “มีความหลากหลายและการพัฒนารูปแบบสินค้า/ผลิตภัณฑ์” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.12 คะแนน (ระดับมาก) ด้านการจัดการองค์กร ผู้ประกอบการให้ระดับความสำคัญของกลยุทธ์ในการทำการตลาด เฉลี่ย 4.31 คะแนน (ระดับมากที่สุด) หัวข้อ “มีผู้นำที่เป็นผู้ที่สามารถประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ได้ดี” มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 4.42 คะแนน (ระดับมากที่สุด) ความสำคัญของกลยุทธ์ในการทำการตลาด ด้านการจัดการองค์กรน้อยที่สุดคือ หัวข้อ “มีการประชุมกับสมาชิกเพื่อร่วมกันแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นชี้แจงและให้ความรู้เกี่ยวกับความต้องการของลูกค้าและวางแผนงานสม่ำเสมอ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.18 คะแนน (ระดับมาก) ด้านการตลาดและการขาย ผู้ประกอบการให้ระดับความสำคัญของกลยุทธ์ในการทำการตลาด เฉลี่ย 3.90 คะแนน (ระดับมาก) เมื่อพิจารณาจากหัวข้อย่อยแล้ว พบว่า หัวข้อ “มีเกณฑ์การตั้งราคา ที่เหมาะสมกับคุณภาพของสินค้าชัดเจน” มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 4.50 คะแนน (ระดับมากที่สุด) สำหรับหัวข้อที่พบว่า ผู้ประกอบการ ให้ระดับความสำคัญของกลยุทธ์ในการทำการตลาด ด้านการตลาดและการขาย น้อยที่สุดคือ หัวข้อ “มีการสร้าง Web Site ของกลุ่มเพื่อประชาสัมพันธ์ สินค้าของกลุ่ม” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.12 คะแนน (ระดับปานกลาง) ด้านการบัญชี/การเงิน ผู้ประกอบการให้ระดับความสำคัญของกลยุทธ์ในการทำการตลาด เฉลี่ยเท่ากับ 4.10 คะแนน (ระดับมาก) เมื่อพิจารณาจากหัวข้อย่อยแล้ว พบว่า หัวข้อ “มีการกำหนด แนวทางในการจัดการด้านการเงินที่ชัดเจน” มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ 4.14 คะแนน (ระดับมาก) สำหรับหัวข้อ ที่พบว่าผู้ประกอบการให้ระดับความสำคัญของกลยุทธ์ในการทำการตลาด ด้านการบัญชี/การเงินน้อยที่สุด คือ หัวข้อ “มีการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของกลุ่มอย่างโปร่งใสและตรวจสอบได้” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.03 คะแนน (ระดับมาก) ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ผู้ประกอบการให้ระดับความสำคัญของกลยุทธ์ในการทำ การตลาดเฉลี่ยเท่ากับ 4.21 คะแนน (ระดับมากที่สุด) เมื่อพิจารณาจากหัวข้อย่อยแล้ว พบว่า หัวข้อ “มีการกำหนดโครงสร้างและการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบของกรรมการและสมาชิกในการ ดำเนินงานอย่างชัดเจน” มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 4.28 คะแนน (ระดับมากที่สุด) สำหรับหัวข้อที่ พบว่า ผู้ประกอบการให้ระดับความสำคัญของกลยุทธ์ในการทำการตลาด ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ น้อยที่สุดคือ หัวข้อ “มีการติดตามประเมินผลการดำเนินงานของสมาชิกกลุ่มอย่างสม่ำเสมอ”

การพัฒนาเกมกระดานการจัดการภัยพิบัติสำหรับประชาชนเขตจังหวัดพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง
การวิจัยเรื่อง “การพัฒนาเกมกระดานการจัดการภัยพิบัติสาหรับประชาชนในเขตพื้นที่จังหวัดภาคกลางตอนล่าง” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติ 2) สังเคราะห์องค์ประกอบเกี่ยวกับการออกแบบเกมกระดาน 3) เชื่อมโยงข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติกับผลการสังเคราะห์องค์ประกอบการออกแบบเกมกระดานเพื่อนาไปสู่การออกแบบเกมกระดานการจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติสาหรับประชาชนในเขตพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ดาเนินการวิจัยตามขั้นตอนของแผนการวิจัย ได้แก่ 1) การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องภัยพิบัติทางธรรมชาติและการออกแบบเกมกระดาน 2) การสังเคราะห์องค์ประกอบการออกแบบเกมกระดานจากวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และ 3) การพัฒนาแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลการจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติเพื่อใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยแบบสอบถามถูกพัฒนาขึ้นในฐานะเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องการจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติเพื่อนามาใช้เชื่อมโยงกับผลการสังเคราะห์องค์ประกอบของการออกแบบเกมกระดาน เพื่อนาไปสู่การพัฒนาเกมกระดานการจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติสาหรับประชาชนในเขตพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาสาขาบริหารธุรกิจที่ลงทะเบียนเรียนในวิชาเรียนภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ของหนึ่งในคณะผู้วิจัย จานวนทั้งหมด 233 คน โดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) โดยมีผู้สมัครใจตอบแบบสอบถามและส่งคืนแบบสอบถามฉบับสมบูรณ์ผ่านทาง Google Form จานวน 203 คน หลังจากนาผลการวิเคราะห์ทั้งสองส่วนมาเชื่อมโยงกันสามารถพัฒนาเกมกระดานต้นแบบที่ประกอบด้วย ตัวกระดานจานวนทั้งหมด 48 ช่อง (รวมช่องเริ่มต้นและชัยชนะ) ผู้เล่นเกมกระดานนี้สามารถเล่นได้จานวน 2-4 คน เกมกระดานนี้มุ่งเน้นการให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ครอบคลุมเรื่องน้าท่วม แผ่นดินไหว และ พายุ และมีการกาหนดกติกาในการเล่นอย่างชัดเจน