จำนวนงานวิจัย ( 66 )

การสร้างทักษะแฟชั่นและการจัดการสินค้าด้วยสื่อการรู้ดิจิทัล
การสร้างทักษะแฟชั่นและการจัดการสินค้าด้วยสื่อการรู้ดิจิทัล มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างทักษะและจัดทำสื่อการรู้ดิจิทัลด้านแฟชั่นและการจัดการสินค้า และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ สื่อการรู้ดิจิทัลด้านแฟชั่นและการจัดการสินค้า โดยจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ความรู้ด้านแฟชั่น จัดทำแบบสอบถามแบบออนไลน์ วิเคราะห์ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามด้วยค่าสัมประสิทธิแอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.969 โพสต์ช่องทางการเข้าถึงแบบสอบถามในโซเชียลมีเดีย ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ ถึง เมษายน 2566 รวบรวมผลจากแบบสอบถาม ความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบสะดวกจากบุคคลทั่วไปที่ชมหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ความรู้ด้านแฟชั่น และมีความยินดีให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถาม แบบออนไลน์ จำนวน 40 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา สรุปผลดังนี้ การจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ความรู้ด้านแฟชั่น เป็นประเภทหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสอน ประกอบด้วยเนื้อหาตามกลุ่มทักษะที่สำคัญสำหรับการศึกษาด้านออกแบบแฟชั่นและการจัดการสินค้า 5 กลุ่ม คือ การออกแบบ ผ้าและการตัดเย็บ การสร้างสรรค์ลวดลายการนำเสนอผลงานแฟชั่น และการจัดการสินค้า ใช้โปรแกรม FlipHTML5 เพราะสะดวกต่อผู้เรียนในการใช้งานและการเข้าถึง ออกแบบโครงสร้างเนื้อหาแบบไม่เป็นเส้นตรงเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเลือก หรือข้าม หรือย้อนไปยังเนื้อหาที่ต้องการได้ ผลความพึงพอใจต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ความรู้ด้านแฟชั่น ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นกลุ่มตัวอย่างส่วนมากเป็นบุคคลภายนอกสาขาวิชาออกแบบแฟชั่นและการจัดการสินค้า (ร้อยละ 45.00) อาชีพนักเรียน/นักศึกษา (ร้อยละ 35.00) อายุระหว่าง 18-22 ปี (ร้อยละ 35.00) ทุกคนใช้โทรศัพท์มือถือเป็นเครื่องมือในการเข้าถึงแหล่งความรู้ในอินเทอร์เน็ต (ร้อยละ 100.00) และส่วนใหญ่เคยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (ร้อยละ 80.00) มีความพึงพอใจเฉลี่ยรวมในระดับพึงพอใจมากในด้านเนื้อหา (ค่าเฉลี่ย 4.40 ค่า S.D. 0.50) ด้านคุณภาพ (ค่าเฉลี่ย 4.48 ค่า S.D. 0.47) และมีความพึงพอใจมากที่สุดในด้านความพึงพอใจโดยภาพรวม (ค่าเฉลี่ย 4.51 และค่า S.D. 0.44) ผู้ตอบแบบสอบถามให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเพิ่มคลิปวิดีโอ หรือภาพเคลื่อนไหวในช่วงของงานปฏิบัติ สำหรับข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป คือ การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉพาะเรื่องที่ผู้สนใจสามารถนำไปประกอบอาชีพได้ รวมถึงการศึกษาความต้องการพัฒนาทักษะเดิม เพิ่มเติมทักษะใหม่ ของผู้ประกอบอาชีพหรือแรงงานในสาขาอาชีพต่าง ๆ เพื่อนำมากำหนดรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย

การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและขนมไทยจากกัญชาเพื่อสร้างอาชีพ
งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและขนมไทยจากกัญชาเพื่อสร้างอาชีพมีวัตถุประสงค์ในการศึกษา คือ เพื่อสำรวจความต้องการการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารไทย และขนมไทย จากกัญชา เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารไทย และขนมไทยจากกัญชา และเพื่อศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของอาหารไทย และขนมไทยที่มีส่วนผสมของกัญชา ผลการสำรวจความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารไทยและขนมไทยจากกัญชา ผลการสำรวจ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 50 คน มีความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารไทย ได้แก่ อันดับที่ 1 แกงพะแนง มีค่าเฉลี่ย 4.57 อันดับที่ 2 แกงส้ม มีค่าเฉลี่ย 4.30 และขนมไทย ได้แก่ อันดับที่ 3 วุ้น มีค่าเฉลี่ย 4.20 อันดับที่ 4 ทองหยิบ มีค่าเฉลี่ย 4.13 และอันดับที่ 5 ปุ้ยฝ้าย ค่าเฉลี่ย 4.07 ตามลำดับ ผลการศึกษาปริมาณการเสริมน้ำกัญชาในผลิตภัณฑ์อาหารไทยและขนมไทยเมื่อนำไปประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสผู้ทดสอบชิมเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารไทย ดังนี้ ปริมาณการเสริมน้ำกัญชาในผลิตภัณฑ์น้ำแกงพะแนง ให้การยอมรับการเสริมน้ำกัญชาในผลิตภัณฑ์น้ำแกงพะแนง ร้อยละ 40 ในด้านลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม มีค่าเฉลี่ย 7.84 7.95 7.90 8.13 8.05 และ 8.08 ตามลำดับ ปริมาณการเสริมน้ำกัญชาในผลิตภัณฑ์น้ำแกงส้ม ให้การยอมรับร้อยละ 40 ในด้านลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม มีค่าเฉลี่ย 8.15 7.96 8.00 8.10 7.83 และ 8.19 ตามลำดับ ปริมาณการเสริมน้ำกัญชาในผลิตภัณฑ์วุ้น ให้การยอมรับร้อยละ 40 ในด้านลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม มีค่าเฉลี่ย 8.00 8.10 8.20 7.95 8.03 และ 8.23 ตามลำดับ ปริมาณการเสริมน้ำกัญชาในผลิตภัณฑ์ทองหยิบ ให้การยอมรับร้อยละ 40 ในด้านลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม มีค่าเฉลี่ย 8.38 8.23 8.18 8.48 8.19และ 8.45 ตามลำดับ และปริมาณการเสริมน้ำกัญชาในผลิตภัณฑ์ปุยฝ้าย ให้การยอมรับร้อยละ 40 ในด้านลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม มีค่าเฉลี่ย 8.00 8.05 7.95 8.03 7.98 และ 8.10 ตามลำดับ เมื่อนำมาวิเคราะห์ความแปรปรวนและเปรียบเทียบความแตกต่างทางสถิติ พบว่า ในด้าน ลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิเคราะห์คุณภาพทางเคมี และคุณภาพทางกายภาพการเสริมน้ำกัญชาในผลิตภัณฑ์อาหารไทยและขนมไทย ในการเสริมน้ำกัญชาในผลิตภัณฑ์อาหารไทยและขนมไทย ทั้ง 5 รายการ สามารถเสริมได้ แต่ควรคำนึงถึงองค์ประกอบทางเคมีของส่วนประกอบเริ่มต้น เช่น ปริมาณความชื้น และไขมัน ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้ อาจมีผลกระทบต่อคุณลักษณะทางกายภาพ เช่น กลิ่น และลักษณะเนื้อสัมผัส ซึ่งคุณลักษณะเหล่านี้มีผลกระทบต่อการยอมรับผลิตภัณฑ์

การใช้ทฤษฎีพหุปัญญาในการจัดการเรียนการสอนวิชาพลศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการเรียนการสอนวิชาพลศึกษาโดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เพื่อศึกษาความสามารถในการเรียนวิชาพลศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเรียนการสอนวิชาพลศึกษากับความสามารถในการเรียนวิชา พลศึกษาโดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครโดยดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2563 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2564 เป็นการวิจัยเชิงสำรวจที่ใช้เครื่องมือแบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วย 4 ส่วน คือ 1) ข้อมูลทั่วไปของนักศึกษาซึ่งเป็นลักษณะทางประชากรศาสตร์ 2) ลักษณะองค์ประกอบของการสอนแบบการใช้ทฤษฎีพหุปัญญา 3) ขั้นตอนการสอนพลศึกษาด้วยการสอนแบบการใช้ทฤษฎีพหุปัญญาเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย และ 4) ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการเรียนการสอนวิชาพลศึกษากับความพึงพอใจที่นักศึกษามีต่อการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาโดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญา โดยมีกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จำนวน 357 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนาสำหรับข้อมูลลักษณะทางประชากรศาสตร์ ผลการศึกษาพบว่า ข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พระนคร พบว่า ส่วนใหญ่กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง อายุ 19 ปี เป็นนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มีความคิดเห็นที่มีต่อการสอนวิชาการพลศึกษาด้วยการสอนแบบการใช้ทฤษฎีพหุปัญญา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เพราะนักศึกษาทุกคนมีความสำคัญเท่าเทียมกัน ต้องรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเอง มีการเคลื่อนไหวร่างกาย มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ได้ใช้ประสบการณ์เดิมเพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ และขั้นตอนการสอนพลศึกษาด้วยการสอนแบบการใช้ทฤษฎีพหุปัญญา เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด และนักศึกษาที่มีเพศ อายุ ที่แตกต่างกันมีความ พึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาโดยใช้ทฤษฎี พหุปัญญาไม่แตกต่างกัน แต่นักศึกษาที่เรียนคณะต่างกันจะมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาโดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญาแตกต่างกัน 3 ขั้น ดังนี้1. ขั้นสอน / สาธิต 2. ขั้นปฏิบัติ และ 3. ขั้นปรับปรุง

การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการและการพัฒนาการท่องเที่ยว เชิงสร้างสรรค์เพื่อนำไปสู่การเป็นเมืองสร้างสรรค์ จังหวัดเพชรบุรี
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของชุมชนในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และการพัฒนาสู่เมืองสร้างสรรค์ของอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี ศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ หน่วยงานภาครัฐ ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน ประชาชนในชุมชนนักท่องเที่ยว และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องจังหวัดเพชรบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสัมภาษณ์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของชุมชนในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และการพัฒนาสู่เมืองสร้างสรรค์ของอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี ศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ หน่วยงานภาครัฐ ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน ประชาชนในชุมชนนักท่องเที่ยว และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องจังหวัดเพชรบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสัมภาษณ์ สรรค์ของ จังหวัดเพชรบุรี มีดังนี้ 1. การประชาสัมพันธ์และการร่วมแรงร่วมใจจากทุกฝ่ายเป็นสิ่งที่สำคัญมาก โดยต้องสร้างการรับรู้ให้กับนักท่องเที่ยวในรายละเอียดความโดดเด่นของแต่ละชุมชน 2. การดำเนินโครงการที่ทางภาครัฐจัดขึ้นเป็นแนวทางการพัฒนาเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหารที่ดี หากสามารถดำเนินการไปได้ในอนาคตเนื่องจากเป็นแผนที่อยู่ในความสนใจของประชากรทั้งโลก เทรนด์อาหารสุขภาพกำลังเป็นที่นิยมเพราะผู้คนใส่ใจกับสุขภาพเพิ่มมากขึ้น 3. เรื่องความยั่งยืนและความต่อเนื่องของนโยบายจากภาครัฐ รวมไปถึงงบประมาณที่ลงสู่ชุมชน ที่ต้องการสนับสนุนมากขึ้นในการจัดหาอุปกรณ์ในการผลิต การพัฒนาและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่บ่งบอกอัตลักษณ์ของพื้นที่ การสนับสนุนอย่างครบวงจรจึงเป็นสิ่งสำคัญ 4. การสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวของชุมชนในจังหวัดในชุมชนที่ใกล้เคียงกันสามารถเดินทางท่องเที่ยวเป็นเครือข่ายได้ การร่วมมือเป็นเครือข่ายเพื่อกระจายรายได้จากการท่องเที่ยวไปทุกท้องถิ่น

กลยุทธ์ความสำเร็จของการเรียนออนไลน์ของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาปัจจัยความสำเร็จการเรียนออนไลน์ และกลยุทธ์ความสำเร็จการเรียนออนไลน์ ของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ที่กำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษา 2564 จำนวน 277 คน และผู้สอนจำนวน 7 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ค่าความถี่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้คือการสัมภาษณ์ และวิเคร์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1. ลักษณะทางประชากรของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 67.87 มีอายุ 19 ปีสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 32.49 โดยกลุ่มตัวอย่างศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 2 จำนวนสูงสุด ร้อยละ 37.18 ส่วนใหญ่อยู่บ้านตัวเอง ร้อยละ76.53 สำหรับสถานที่สะดวกในการเรียนออนไลน์ ส่วนใหญ่ใช้ที่บ้านร้อยละ 83.39 ส่วนอุปกรณ์ที่กลุ่มตัวอย่างใช้ในการเชื่อมต่อสัญญานในการเรียนออนไลน์ส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์มือถือ ร้อยละ 89.89 และกลุ่มตัวอย่างกว่าครึ่งไม่มีปัญหาเกี่ยวกับสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในการเรียนออนไลน์ ร้อยละ 63.54 2. ปัจจัยความสำเร็จการเรียนออนไลน์ของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมาก (x ̅= 3.66, S.D.= 0.96) โดยปัจจัยความสำเร็จการเรียนออนไลน์ของกลุ่มตัวอย่างด้านเนื้อหามีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( x ̅= 3.74 S.D.= 0.90) รองลงมาคือด้านเทคโนโลยี และด้านผู้สอน (x ̅= 3.65 S.D.= 0.96, x ̅= 3.62 S.D.= 0.98) ตามลำดับ 3. กลยุทธการเรียนออนไลน์ของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ ที่ควรมี ประกอบด้วยปัจจัยการสอน ออกแบบการเรียนการสอนที่ชัดเจนตั้งแต่วัตถุประสงค์ กิจกรรมการเรียนเรียน และการประเมินผล จัดทำสื่อการสอนให้เหมาะสม มีทักษะทางเทคโนโลยีสามารถใช้ประโยชน์เครื่องมือออนไลน์ได้ และบริหารจัดเวลาการเรียนที่อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจัยการเรียน มีการทำข้อตกลงในการเรียน ผู้เรียนควรมีความพร้อมในการเรียน มีทักษะทางเทคโนโลยี ควรมีการสะท้อนกลับ( Feedback) ของผู้เรียน รวมถึงมีการบันทึกการสอนเพื่อนักศึกษาสามารถเรียนรู้ย้อนหลังได้และเพิ่มช่องทางการส่งงาน ปัจจัยเนื้อหา ควรจัดรูปแบบการเรียนการสอน สื่อการสอนใหม่มีความ หลากหลาย และเสริมสร้างการเรียนรู้เชิงรุกนอกชั้นเรียน ปัจจัยเทคโนโลยี ควรสร้างสังคมออนไลน์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน จัดอบรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ต้องใช้ มีความพร้อมในการเข้าถึงการเรียนการสอนออนไลน์ รวมถึงแชร์เครื่องมือ/โปรแกรมที่ใช้ให้กับนักศึกษา และควรตรวจสอบช่องทางการสื่อสารที่ใช้ตลอดเวลา ปัจจัยสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ ควรสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ร่วมกัน เลือกใช้ครื่องมือที่เหมาะสมในแต่ละกิจกรรมการเรียนการสอน จัดส่งเนื้อหาบทเรียน วีดีโอ ให้นักศึกษาดูก่อนเรียน แบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่มย่อย และมอบหมายให้นักศึกษาศึกษาจากแหล่งเรียนรู้อื่นๆ เพิ่มเติม