จำนวนงานวิจัย ( 104 )

Crowdsourcing ในบริบทงานวิจัยไทย
Crowdsourcing ในบริบทงานวิจัยไทย

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจและรวบรวมประเด็นศึกษา แนวคิด ทฤษฎี และระเบียบวิธีวิจัยที่ปรากฏในงานวิจัยด้านการสื่อสารที่ศึกษาเกี่ยวกับ Crowdsourcing ของไทย ในช่วงปี 2549 ถึงปี 2566 และ 2) วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อค้นพบที่ปรากฏในงานวิจัยด้านการสื่อสารที่ศึกษาเกี่ยวกับ Crowdsourcing ของไทย ในช่วงปี 2549 ถึงปี 2566 โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยการวิเคราะห์เอกสาร (Document Research) จากรายงานการวิจัย บทความวิจัย และวิทยานิพนธ์ทางด้านนิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ และสื่อสารมวลชน ที่จัดทำหรือเผยแพร่ระหว่าง พ.ศ. 2549 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 และเฉพาะบทความวิจัยที่มี Peer-review ส่วนรายงานการวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ต้องมีฉบับเต็ม (Full-text) ที่ปรากฏอยู่ในฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ของไทย และฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ฉบับเต็มของของสถาบันอุดมศึกษา สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ที่เปิดสอนในหลักสูตรระดับปริญญาเอกทางด้านนิเทศศาสตร์หรือสื่อสารมวลชน จำนวน 15 สถาบันอุดมศึกษา รวมทั้งสิ้น 10 เรื่อง ผลการศึกษาข้อมูลเชิงปริมาณ พบว่า 1) ประเด็นการศึกษาตามองค์ประกอบของ Crowdsourcing ด้านเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับงาน (Task) มากที่สุด จำนวน 8 เรื่อง รองลงมาคือ ด้านแพลตฟอร์ม (Platform) และด้านผู้ใช้สื่อ (User) จำนวน 6 เรื่อง ส่วนด้านผู้จัดการกระบวนการ/เนื้อหา (Crowdsourcer) น้อยที่สุด คือ จำนวน 4 เรื่อง ทั้งนี้จะเห็นว่าประเด็นการศึกษาของรายงานการวิจัย บทความวิจัย และงานวิทยานิพนธ์แต่ละเรื่องนั้น มิได้ศึกษาเพียงองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่ง เพียงองค์ประกอบเดียว แต่เป็นการศึกษาในหลายองค์ประกอบร่วมกัน 2) การกระจายตัวของแนวคิดทฤษฎี พบว่า มีแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับ Crowdsourcing/Crowdfunding มากที่สุด จำนวน 7 เรื่อง รองลงมาคือ แนวคิดเกี่ยวกับพื้นที่สาธารณะ จำนวน 4 เรื่อง และแนวคิดเกี่ยวกับวารสารศาสตร์ภาคพลเมือง/สื่อพลเมือง/การรายงานข่าวโดยมวลชน จำนวน 3 เรื่อง ตามลำดับ และ 3) กระจายตัวของระเบียบวิธีวิจัย มีงานวิจัยที่ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ มากที่สุด จำนวน 4 เรื่อง ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม รองลงมาคือ ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ จำนวน 3 เรื่อง ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา การสำรวจ และการวิจัยเชิงทดลอง และระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน จำนวน 3 เรื่อง ผลการศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่า 1) ประเภท Crowdsourcing ในบริบทงานวิจัยไทย มีการศึกษาที่ไม่ครอบคลุมทั้ง 5 ประเภทของ Crowdsourcing โดยพบเพียง 2 ประเภท ได้แก่ งานวิจัยที่ศึกษาประเภทงานขนาดเล็ก (Micro-task) และงานวิจัยที่ศึกษาประเภทระดมทุนจากมวลชน (Crowdfunding) และ 2) ข้อค้นพบในงานวิจัยที่สำคัญ ประกอบด้วย แพลตฟอร์ม Crowdsourcing พื้นที่สาธารณะของมวลชนบนโลกออนไลน์ ทั้งที่สมบูรณ์ และไม่สมบูรณ์ เนื้อหา (สาร) ที่เกี่ยวข้องกับงาน (Task) มีผลต่อการมีส่วนร่วมของผู้ใช้ และภาพลักษณ์ของผู้ระดมทุนมีผลต่อความตั้งใจให้เงินทุนบนแพลตฟอร์ม Crowdfunding

2567
การศึกษาการอบแห้งส้มจี๊ดด้วยเครื่องอบแห้งแบบฟลูอิดไดซ์เบด
การศึกษาการอบแห้งส้มจี๊ดด้วยเครื่องอบแห้งแบบฟลูอิดไดซ์เบด

ปัจจุบันส้มจี๊ดเป็นที่ต้องการของตลาดสูงมาก เนื่องจากมีข้อมูลผลการวิจัยกล่าวว่าส้มจี๊ดสามารถช่วยต้านหวัด แก้ไอ ขับเสมหะ แก้เจ็บคอ แก้โรคภูมิแพ้ทางลำคอ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ และช่วยในการย่อยอาหาร วิตามินเอ มีวิตามินซีสูง สามารถช่วยบำรุงผิวพรรณ เปลือกและกากส้มอุดมไปด้วยเส้นใยอาหาร โดยมีปริมาณใยอาหารรวมร้อยละ 84.25 แบ่งเป็นใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำร้อยละ 48.49 และที่ละลายน้ำร้อยละ 35.76 ในช่วงเวลาที่มะนาวมีราคาแพง สิ่งที่ร้านอาหารนำมาใช้ทดแทนความเปรี้ยวของมะนาวนอกจากมะขามแล้วก็เป็น ส้มจี๊ด ซึ่งมีความเปรี้ยว ความหอม ในการปรุงรสของอาหารไม่แพ้มะนาว การปลูกก็ง่าย การดูแลรักษาก็ง่าย ปัจจุบันการเพาะปลูกส้มจี๊ดที่จังหวัดจันทบุรีและจังหวัดระยองมีพื้นที่ปลูกส้มจี๊ดประมาณ 50 ถึง 100 ไร่ ได้ผลผลิตต่อปีละประมาณ 50 ถึง 70 ตันต่อปี เกษตรกรสามารถขายส้มจี๊ดได้ในกิโลกรัมละ 55 ถึง 70 บาท ผลผลิตส้มจี๊ดมีปริมาณมากเกษตรกรจึงต้องนำส้มจี๊ดมาเป็นวัตถุดิบในการแปรรูป และการแปรรูปส้มจี๊ดสามารถเก็บไว้บริโภคได้นาน การแปรรูปส้มจี๊ดเป็นผลิตภัณฑ์มี 7 รูปแบบ ได้แก่ น้ำส้มจี๊ดพร้อมดื่ม แยมส้มจี๊ด มาร์มาเลดส้มจี๊ด เยลลี่ส้มจี๊ด ส้มจี๊ดแช่อิ่มอบแห้ง ไอศกรีมเชอร์เบทส้มจี๊ด และเค้กส้มจี๊ด ดังนั้นโครงงานนี้จึงสนใจที่จะศึกษาการน้ำส้มจี๊ดมาอบแห้งโดยใช้เครื่องอบแห้งแบบฟลูอิไดซ์เบด ซึ่งเครื่องอบแห้งแบบฟลูอิดไดซ์เบดที่จะทำการศึกษาจะมีอุปกรณ์ประกอบด้วย ชุดพัดลมโบลเวอร์ เป่าลมผ่านฮีตเตอร์ทำความร้อน เกิดลมร้อนไปยังถังอบ และมีตะแกรงสแตนเลสที่ใส่ส้มจี๊ดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 30 cm สูง 65 cm ในการทดลองนี้ได้กำหนดน้ำหนักส้มจี๊ดในการอบแห้ง 1,000 g ทดลองส้มจี๊ดที่อุณหภูมิ 55 °C, 60 °C และ 65 °C จะบันทึกข้อมูลการทดลองทุก 15 นาที เพื่อหาความชื้นที่ลดลงต่อช่วงเวลา ผลการทดลองพบว่าการอบแห้งส้มจี๊ดที่อุณหภูมิ 55 °C ใช้เวลาในการอบแห้ง 225 นาที นำความร้อนกลับมาใช้ใหม่ 50 % เป็นอุณหภูมิอบแห้งส้มจี๊ดที่ดีที่สุด

2567
การวิเคราะห์การติดตั้งระบบป้องกันฟ้าผ่าในระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดบนหลังคา
การวิเคราะห์การติดตั้งระบบป้องกันฟ้าผ่าในระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดบนหลังคา

โครงการวิจัยนี้นำเสนอการวิเคราะห์การติดตั้งระบบป้องกันฟ้าผ่าในระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดบนหลังคา วัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อป้องกันระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดบนหลังคา โดยใช้การออกแบบระบบป้องกันฟ้าผ่าบนหลังคา ซึ่งระบบป้องกันฟ้าผ่าจะช่วยแก้ปัญหาความเสียหายเมื่อเกิดฟ้าผ่าบริเวณหลังคาที่ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา ดังนั้นจึงเสนอการติดตั้งระบบป้องกันฟ้าผ่าในระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดบนหลังคา

2567
การผลิตโพสไบโอติกส์จากเปลือกกระเทียมจีนหมักด้วยโพรไบโอติกส์แลคโตบาซิลลัส เพื่อใช้ประโยชน์ต้านการปนเปื้อนจุลินทรีย์ในอาหาร
การผลิตโพสไบโอติกส์จากเปลือกกระเทียมจีนหมักด้วยโพรไบโอติกส์แลคโตบาซิลลัส เพื่อใช้ประโยชน์ต้านการปนเปื้อนจุลินทรีย์ในอาหาร

โพสไบโอติกส์ (Postbiotics) ซึ่งเป็นผลผลิตจากการหมักจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์มากมาย ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน และสามารถนำใช้ในการควบคุมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของการเน่าเสียในผักและผลไม้ระหว่างการเก็บเกี่ยวและขนส่งได้ งานวิจัยนี้มุ่งเน้นพัฒนานวัตกรรมของผลิตภัณฑ์สารชีวภาพเพื่อช่วยลดปัญหาการเน่าเสียของผักและผลไม้ จากการใช้สารละลายคอมบูชาสารสกัดเปลือกกระเทียมเพื่อยืดอายุมะเขือเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ประสบปัญหาเน่าและเสื่อมสภาพในช่วงการเก็บรักษาและขนส่ง จากการศึกษาพบว่า ผลิตภัณฑ์คอมบูชาหมักสารสกัดเปลือกกระเทียมสามารถยับยั้งจุลินทรีย์ก่อโรคทั่วไปและยับยั้งเชื้อก่อโรคเน่าในมะเขือเทศชนิด Pseudomonas sp. และ E. coli มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคเพราะมีความเป็นพิษต่อเซลล์เม็ดเลือดแดงหมูต่ำ (ความเข้มข้นต่ำกว่า200 มก./มล.) พบว่าไม่เปลี่ยนแปลงขนาดและรูปร่างของเซลล์เม็ดเลือดแดง มีคุณสมบัติการต้านอนุมูลอิสระสูงด้วยค่าปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมด (TFC) และฟีนอลิกทั้งหมด (TPC) สูงกว่าคอมบูชาธรรมดาอย่างมีนัยสำคัญ (TPC สูงถึง 90.55 ± 10.1 มก. GAE/100 มล. และ TFC 55.97 ± 8.5 มก. RE/100 มล ตามลำดับ).และสามารถยืดอายุการเก็บรักษามะเขือเทศเมื่อฉีดพ่นสารละลายคอมบูชาหมักสารสกัดเปลือกกระเทียมบนผิวมะเขือเทศ ทั้งนี้การฉีดพ่นตัวอย่างสารละลายคอมบูชาหมักสารสกัดเปลือกกระเทียมสามารถช่วยลดการสูญเสียน้ำหนักและชะลอกระบวนการสุกได้อย่างมีนัยสำคัญ สามารถในการคงคุณภาพของมะเขือเทศได้ดี เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ด้วยการลดความเป็นกรด (TA) และทำให้การเพิ่มปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมด (TSS) เมื่อมีการสุกช้า จากผลการศึกษาดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า นวัตกรรมผลิตภัณฑ์คอมบูชาหมักสารสกัดเปลือกกระเทียมสามารถนำไปพัฒนาต่อเพื่อใช้ยืดอายุผลไม้ประเภทอื่น ๆ ได้ในอนาคต และเป็นทางเลือกที่เป็นมิตรต่อผู้บริโภคและต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน

2567
ลักษณะความเสี่ยงของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ระหว่างปี 2561-2565
ลักษณะความเสี่ยงของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ระหว่างปี 2561-2565

ธนาคารพาณิชย์เป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูงเนื่องจากส่งผลกระทบกับภาคเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาลักษณะความเสี่ยงของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ระหว่างปี 2561-2565 โดยรวบรวมข้อมูลจากแบบแสดงรายการข้อมูลประจาปี (56-1) ของธนาคารพาณิชย์จานวน 11 แห่ง โดยวิเคราะห์ลักษณะความเสี่ยงจากการเปิดเผยตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยใช้เป็นกรอบในการเปิดเผย ได้แก่ ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk) ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (Operational Risk) ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทางการเงิน (Financial Risk) และความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (Compliance Risk) มีการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของลักษณะความเสี่ยงในแต่ละช่วงเวลา ผลการศึกษาพบว่าลักษณะความเสี่ยงและการเปลี่ยนแปลงของความเสี่ยงในรอบ 5 ปี ของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทยมีการเปิดเผยลักษณะความเสี่ยงตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกาหนดให้มีการเปิดเผยดังกล่าว แต่หากขยายให้มีการเปิดเผยความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทางการเงิน (Financial Risk) เพิ่มเติมด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดาเนินธุรกิจด้วยอาจจะเกิดประโยชน์มากขึ้น ดังนั้นการเปิดเผยที่จะเป็นประโยชน์ต่อลูกค้า ผู้ลงทุน รวมถึงธนาคารเอง ควรมีการเปิดเผยความเสี่ยง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk) ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ (Operational Risk) ความเสี่ยงด้านรายงาน (Report Risk) และความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (Compliance Risk) งานวิจัยฉบับนี้แสดงให้เห็นถึงลักษณะความเสี่ยงของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ระหว่างปี 2561-2565 การเรียนรู้ความเสี่ยงดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อ คณะกรรมการกากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สามารถนาผลการศึกษาครั้งนี้ไปใช้เป็นแนวทางในการออกกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการเปิดเผยความเสี่ยงของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และสามารถประเมินความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตและจัดทาแผนป้องกันความ

2566