จำนวนงานวิจัย ( 66 )

การเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจเขียว: กรณีการแก้ปัญหาการจราจรคับคั่งโดยใช้การวิเคราะห์เชิงทฤษฎีกราฟ
การเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจเขียว: กรณีการแก้ปัญหาการจราจรคับคั่งโดยใช้การวิเคราะห์เชิงทฤษฎีกราฟ

การแก้ปัญหาการจราจรคับคั่งโดยใช้การวิเคราะห์เชิงทฤษฎีกราฟ การวิเคราะห์ผลใช้การศึกษาเส้นทางการจราจรบริเวณสะพานพระรามเจ็ดโดยพิจารณาจากการแสดงความคล่องตัวของการจราจรด้วยสีบน google map ในช่วงเวลา (07.00-8.00 น.) และใช้แนวคิดพื้นฐานของจุดและเส้นเพื่อสร้างกราฟเส้นทางการจราจรบริเวณสะพานพระรามเจ็ด ผลการวิจัยพบว่า ในช่วงเวลา 7.00-8.00 น. ถนนหน้าพระจอมเกล้าพระนครเหนือและถนนก่อนถึงแยกไฟสัญญาณจราจรลอดใต้สะพานพระรามเจ็ดการจราจรคล่องตัวช้ามาก นอกจากนี้แยกหน้าพระจอมเกล้าพระนครเหนือคล่องตัวช้าก่อนถึงแยกสัญญาณไฟจราจร การใช้เส้นทางการจราจรในถนนช่วงเวลาก่อน 7.00 น. ทำให้การขับขี่ยานพาหนะคล่องตัวได้ดี และช่วงเวลาที่มากขึ้น ความคล่องตัวของการใช้รถบนเส้นทางการจราจรบริเวณสะพานพระรามเจ็ดคล่องตัวล่าช้ามากขึ้นจนถึงเวลา 8.00 น.

2566
นวัตกรรมสารสกัดน้ำหมักกระเทียมเคลือบกระดาษเช็ดมือเพื่อช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคปนเปื้อนบนผิวหนัง
นวัตกรรมสารสกัดน้ำหมักกระเทียมเคลือบกระดาษเช็ดมือเพื่อช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคปนเปื้อนบนผิวหนัง

งานวิจัยนี้ต้องการพัฒนาชุดคิทสารสกัดน้ำหมักกระเทียมเพื่อการสเปร์ยเคลือบกระดาษเช็ดมือ ด้วยหลักการใช้จุลินทรีย์กลุ่มโพรไบโอติกส์เพื่อสุขภาพ ที่คัดแยกจากโยเกิร์ตและคอมบูชาหมัก ด้วยน้ำหมักกระเทียมที่มีคุณสมบัติในการยับยั้งจุลินทรีย์ที่ก่อโรคเมื่อสกัดด้วยเอทานอลร้อยละ 80 แล้วกำจัดเอทานอลออกจนได้สารสกัดน้ำหมักกระเทียมและสารอินทรีย์ที่เกิดขึ้นในน้ำหมักกระเทียม มีประสิทธิภาพในการทำงานทั้งก่อนและหลังจากเคลือบบนกระดาษเช็ดมือ ในการยับยั้งจุลินทรีย์กลุ่มที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อทางผิวหนัง ก่อให้เกิดท้องเสีย และกำจัดเชื้อที่เป็นตัวบ่งบอกถึงความไม่สะอาด และก่อให้เกิดอาการไข้ในรูปของเชื้อที่ผสมกัน คือ เชื้อ Escherichia coli, Staphylococcus aureus และ Streptococcus faecalis โดยกระดาษเช็ดมือที่เคลือบด้วยสารสกัดกระเทียมหมักสามารถยับยั้งเชื้อก่อโรคทั้งสามชนิดได้ดี โดยส่งเสริมการลดลงอย่างน้อยร้อยละ 50 ของจำนวนแบคทีเรียดังกล่าวทั้งหมดด้วยวิธี Disk Agar Diffusion Method และ (MIC50 ในระยะเวลา 60 วัน) ทั้งยังส่งเสริมการเจริญเติบโตของกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์หรือโพรไบโอติกส์ ให้ยังคงอยู่ด้วยวิธี Serial Dilution เมื่อนำกระดาษเช็ดมือดังกล่าวเก็บไว้ในภาชนะปิด แห้ง ไม่มีแสง สามารถเก็บที่อุณหภูมิห้องและที่อุณหภูมิเย็น 4oC ได้นานอย่างน้อย 60 วัน และนานมากกว่า 180 วัน ตามลำดับ ส่วนสารสกัดน้ำหมักกระเทียมที่ความเข้มข้นตั้งแต่ 20-200 mg/mL สามารถเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้องได้นานมากกว่า 6 เดือนหากน้ำหมักกระเทียมที่ได้มาจากการหมักในอาหารเหลวที่เติมนมสดร้อยละ 50 งานวิจัยที่ได้นี้ชี้ให้เห็นว่าชุดคิทสารสกัดน้ำหมักกระเทียมพร้อมการใช้งานเพื่อใช้ฉีดพ่นบนกระดาษเช็ดมือ มีศักยภาพและสามารถพัฒนาในเชิงพาณิชย์ระดับอุตสาหกรรม ทำให้ได้แนวทางการใช้สมุนไพรต่อยอดเพื่อการป้องกันการปนเปื้อนและแพร่กระจายของเชื้อโรค เป็นแนวทางหนึ่งของเทคโนโลยีสีเขียว ลดการใช้สารเคมีที่เป็นพิษอย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพในการยับยั้งจุลินทรีย์ ลดปัญหาของสิ่งแวดล้อมและอันตรายจากการใช้สารเคมี

2566
การวิจัยและพัฒนาสื่อเทคโนโลยีสีเขียวกับระบบสารสนเทศ เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ในรูปแบบของเทคโนโลยีจักรวาลนฤมิต
การวิจัยและพัฒนาสื่อเทคโนโลยีสีเขียวกับระบบสารสนเทศ เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ในรูปแบบของเทคโนโลยีจักรวาลนฤมิต

เทคโนโลยีจักรวาลนฤมิต เป็นเทคโนโลยีที่สามารถช่วยจำลองให้เราไปอยู่ในสถานที่ต่าง ๆ ได้แม้จะนั่งอยู่กับที่ก็ตาม โดยอาศัยการเชื่อมต่อผ่านรูปแบบต่าง ๆ เช่น อินเทอร์เน็ต อุปกรณ์ สมาร์ทโฟน แอปพลิเคชัน และซอฟต์แวร์ ถือเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่กำลังปลุกกระแสเพื่อปูทางไปสู่โลกแห่งอนาคต และ การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบเทคโนโลยีจักรวาลนฤมิต ร่วมกับการ พัฒนาสื่อเทคโนโลยีสีเขียวกับระบบสารสนเทศเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ด้วยการใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง Virtual Reality (VR) ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เข้าสู่โลกเสมือนจริงที่ผู้เรียนไม่สามารถทำได้ในสภาพจริง อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ผลการวิจัยพบว่า ผลการประเมินคุณภาพซึ่งประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาและด้านสื่อ พบว่าสื่อเสมือนจริง วีอาร์ ด้านเนื้อหามีค่าเฉลี่ย 4.72 และ ด้านสื่อและวิธีการนำเสนอ มีค่าเฉลี่ย 4.53 คุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดีมาก

2566
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผงสังขยาใบเตยกึ่งสำเร็จเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผงสังขยาใบเตยกึ่งสำเร็จเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผงสังขยาใบเตยกึ่งสำเร็จรูปเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสารให้ความหวานทดแทนน้ำตาลทรายในการผลิตผลิตภัณฑ์ผงสังขยาใบเตยกึ่งสำเร็จรูปเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ ศึกษานมผงทดแทนส่วนผสมของไขมันในการผลิตผลิตภัณฑ์ผงสังขยาใบเตยกึ่งสำเร็จรูปเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ และศึกษาปริมาณคอลลาเจนที่เหมาะสมในการผลิตผลิตภัณฑ์ผงสังขยาใบเตยกึ่งสำเร็จรูปเพื่อสุขภาพสำหรับผูู้สูงอายุ โดยเริ่มจากการศึกษาสารให้ความหวานทดแทนน้ำตาลทรายในการผลิตผลิตภัณฑ์ พบว่า หญ้าหวาน:ซูคราโลส ในระดับที่ 50:50% ผู้ทดสอบชิมให้คะแนนความชอบระดับมากที่สุดในระดับชอบปานกลาง โดยมีคPาpH อยู่ที่ 7.11.0.12 และมีค่าTSS อยู่ที่ 31.00.0.00 oBrix จากการศึกษานมผงทดแทนส่วนผสมของไขมันในการผลิตผลิตภัณฑ์ผงสังขยาใบเตยกึ่งสำเร็จรูป โดยสามารถทดแทนนมผงได้ทั้งหมด 100% ซึ่งจากการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสมีคะแนนความชอบอยู่ในระดับชอบปานกลาง และมีการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของค่า pH อยู่ที่ 7.52.0.02 และมีค่าTSS อยู่ที่28.00.0.01oBrix จากนั้นศึกษาปริมาณคอลลาเจน พบว่า ปริมาณคอลลาเจนที่ 30% เหมาะสมที่สุดต่อการผลิตผงสังขยาใบเตยกึ่งสำเร็จรูป โดยมีการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของค่า pH อยูPที่ 7.44.0.08 และมีค่าTSS อยู่ที่ 32.00.0.01oBrix และทำการศึกษาการเปลี่ยนแปลงระหว่างการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์ผง สังขยาใบเตยกึ่งสำเร็จรูปเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ พบว่า จากการสุ่มตรวจทุก 2 สัปดาห์ เป็นนเวลา16 สัปดาห์มีการเปลี่ยนแปลงของค่า aw และค่าความชื้น ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นผันแปรกับระยะเวลาการเก็บรักษาที่นานขึ้นตามลำดับ ตลอด 16 สัปดาห์ผลิตภัณฑ์มีค่า aw อยู่ในช่วง 0.31-0.40 และค่าความชื้น อยู่ในช่วง 5.30-7.22% โดยเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน 765/2548 ใบเตยผงสำเร็จรูป กำหนดคุณลักษณะที่ต้องการ aw ต้องไม่เกิน 0.5 และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน 1529/2562 น้ำนมข้าวโพดผงสำเร็จรูป กำหนดคุณลักษณะที่ต้องการ aw ต้องไม่เกิน 0.6 ซึ่งผลิตภัณฑ์ผงสังขยาใบเตยกึ่งสำเร็จรูปมีค่าaw ไม่เกินมาตรฐานกำหนด ดังนั้นจากการสุ่มตรวจวิเคราะห์คุณภาพการเปลี่ยนแปลงระหว่างการเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้องของผงสังขยาใบเตยกึ่งสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ยังสามารถเก็บรักษาได้นานกว่า 16 สัปดาห์เนื่องจากยังมีค่า aw ไม่เกินมาตรฐานกำหนด

2565
การพัฒนานมข้นหวานจากข้าวโพดเพื่อสุขภาพ
การพัฒนานมข้นหวานจากข้าวโพดเพื่อสุขภาพ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เพื่อศึกษาปริมาณอินูลินทดแทนน้ำตาลทรายที่มีผลต่อความหวานในนมข้นหวานจากข้าวโพด ผู้ชิมให้การยอมรับสูตรปริมาณอินูลินทดแทนน้ำตาลสูตรที่ 4 คือร้อยละ100 ในด้านลักษณะปรากฎ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม มีค่าคะแนนเฉลี่ย ซึ่งมีค่าเฉลี่ย 8.57 8.30 8.53 8.43 8.30 และ 8.40 ตามลำดับ พบว่า ด้านลักษณะที่ปรากฎและด้านกลิ่นไม่มีความแตกต่างกัน ส่วนในด้านสี รสชาติ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เนื่องจากนมข้นหวานจากน้ำนมข้าวโพดมีปริมาณอินูลินในแต่ละสูตรไม่เท่ากัน ทำให้มีลักษณะของนมข้นหวานจากน้ำนมข้าวโพดแตกต่างกัน โดยอินูลินที่มีปริมาณมากกว่าจะส่งผลให้สี และรสชาติมีความแตกต่างกัน ดังนั้นสูตรที่ 4 จึงเป็นสูตรที่เหมาะสมเป็นสูตรนมข้นหวานข้าวโพดเพื่อสุขภาพและเพื่อศึกษาการยอมรับผลิตภัณฑ์นมข้นหวานจากน้ำนมข้าวโพดเพื่อสุขภาพพบว่าผู้ชิมให้การยอมรับนมข้นหวานข้าวโพดในสูตรที่ 4 ผลิตภัณฑ์นมข้นหวานจากน้ำนมข้าวโพดที่ระดับร้อยละ 100 นำมาศึกษาการยอมรับของผู้บริโภคซึ่งเป็นนักศึกษา บุคลากร และอาจารย์ที่ไม่ได้สังกัดสาขาวิชาอาหารและโภชนาการ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จำนวน 100 คน ด้วยวิธี Consumer Test โดยให้ทำแบบทดสอบผลิตภัณฑ์ตามคำแนะนำและตอบแบบสอบถามประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามของกลุ่มตัวอย่าง และข้อมูลเกี่ยวกับการยอมรับผลิตภัณฑ์นมข้นหวานจากน้ำนมข้าวโพด พบว่าด้านลักษณะปรากฎของผลิตภัณฑ์นมข้นหวานจากน้ำนมข้าวโพดได้รับความชอบคิดเป็นร้อยละ 78 ด้านคุณลักษณะด้านสีได้รับความชอบที่ร้อยละ 68 ด้านกลิ่นมีความชอบคิดเป็นร้อยละ 93 ด้านรสชาติมีความชอบคิดเป็นร้อยละ 97 ด้านลักษณะเนื้อสัมผัส (ความข้นหนืด) มีความชอบคิดเป็นร้อยละ 79 และความชอบโดยรวมของผลิตภัณฑ์มีความชอบคิดเป็นร้อยละ 95 จากการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของนมข้นหวานจากน้ำนมข้าวโพดเพื่อสุขภาพ พบว่านมข้นหวานข้าวโพดจากน้ำนมข้าวโพดเพื่อสุขภาพในปริมาณ 100 กรัม มีองค์ประกอบทางเคมีของอาหารที่สำคัญได้แก่ แคลเซียม 6.46 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 34.4 มิลลิกรัม ไขมัน 0.81 กรัม ความข้นหนืด 724 เซนติพอยด์ วิตามินบี 2 0.06 มิลลิกรัม โปรตีน 1.10 กรัม ไม่พบคลอเลสเตอรอลซึ่งเป็นไขมันชนิดหนึ่งที่อาจเป็นสาเหตุของการอุดตันในหลอดเลือดส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพ แสดงให้เห็นว่านมข้นหวานจากน้ำนมข้าวโพดเมื่อเปรียบเทียบกับนมข้นหวานที่ทำมาจากนมผสมกับไขมันเนย หรือไขมันปาล์มทำให้มีปริมาณไขมันและนำตาลปริมาณมาก คุณค่าทางโภชนาการลดน้อยลง โดยเฉพาะโปรตีนและแคลเซียมจะต่ำกว่านมสดทำให้ควรจำกัดปริมาณรับประทาน

2565