ภาพปกงานวิจัย แนวทางการจัดการท่องเที่ยวยั่งยืนหลังการเปิดประเทศไทยปี 2565 ของตลาดน้าอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
เจ้าของงานวิจัย อรพร พุทธพงษ์ นนท์ณพร กิติศรีปัญญา ภูรี กาญจนากาศ
หมวดหมู่ ท่องเที่ยว
Subject ท่องเที่ยว การจัดการท่องเที่ยว ตลาดน้ำอัมพวา
วันที่ตีพิมพ์ 2566
เอกสารประกอบ ดาวน์โหลด
จำนวนเข้าชม 518

ตลาดน้าอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม จัดเป็นแหล่งท่องที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษกิจของจังหวัดสมุทรสงคราม และมีชื่อเสียงที่เป็นที่รู้จักกันดีสำหรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ มีการบริการอาหารคาว-หวานโบราณของไทยทั้งบนบกและในเรือ เช่น ก๋วยเตี๋ยวโบราณ ผัดไทย หอยทอด ขนมทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ขนมสัมปันนี และขนมไทยโบราณที่หาทานยาก นอกจากนี้ ตลาดน้ำอัมพวายังมีร่องรอยของสิ่งปลูกสร้างและวิถีชีวิตของประชาชนในอดีตที่มีอายุยาวเกินกว่าร้อยปี เพื่อให้มีการจัดการท่องเที่ยวยั่งยืนของตลาดน้ำอัมพวา การวิจัยครั้งนี มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลกระทบของการจัดการท่องเที่ยวของตลาดน้ำอัมพวา และเพื่อหาแนวทางการจัดการท่องเที่ยวยั่งยืนหลังการเปิดประเทศไทยปี 2565 การวิจัยนี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ (Mixed Method) โดยใช้การรวบรวมข้อมูลจาก แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ กับกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ตัวแทนกลุ่มบุคคลผู้รับผิดชอบและผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียเกี่ยวข้องกับการจัดการ การให้บริการและการจัดการท่องเที่ยวในบริเวณตลาดน้ำอัมพวาจากแบบสอบถามจำนวน 200 คน และจากแบบสัมภาษณ์ จำนวน 20 คน สรุปผลการวิจัยได้ ดังนี้ 1) การท่องเที่ยวตลาดน้าอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม มีผลกระทบทางบวก หรือมีผลดีต่อการจัดการท่องเที่ยวยั่งยืนของตลาดน้าอัมพวา ทางด้านสังคม วัฒนธรรม เศรษกิจ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งการท่องเที่ยวของตลาดน้ำอัมพวาก่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีของชาวบ้านและไม่ท้าให้เกิดปัญหาสังคมต่อชุมชน เช่น การลักขโมย หรือยาเสพติด การท่องเที่ยวของตลาดน้ำอัมพวาทำให้มีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมวัดในจังหวัดสมุทรสงครามมากขึนและท้าให้เกิดการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย เช่น งานศิลปหัตถกรรม การสร้างผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ และยาสมุนไพร การท่องเที่ยวของตลาดน้ำอัมพวาทำให้เกิดการกระจายรายได้ของชาวบ้านและท้าให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น และการท่องเที่ยวของตลาดน้าอัมพวาไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมในด้านน้ำเสีย ขยะ หรือฝุ่น PM 2.5 และไม่ทำให้เกิดการแพร่กระจายของโรคติดต่อแบบเป็นกลุ่ม 2) แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวยั่งยืนของตลาดน้ำอัมพวาหลังการเปิดประเทศไทยปี พ.ศ. 2565 มีดังนี้ 1) ควรมีความร่วมมือกันระหว่างชุมชน เอกชน และภาครัฐ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือผู้มีส่วนได้เสีย 2) ควรใช้สื่อประชาสัมพันธ์อาจใช้แคมเปญจากภาครัฐและการให้ความรู้ 3) ใช้บทลงโทษทางสังคมหรือกฎระเบียบสังคม 4) บังคับใช้กฎหมายเพื่อปรับ 5) ควรใช้มาตรการป้องกันโรคติดต่อและมาตรฐานความสะอาด

APA

อรพร พุทธพงษ์. นนท์ณพร กิติศรีปัญญา. ภูรี กาญจนากาศ. ( 2566 ). แนวทางการจัดการท่องเที่ยวยั่งยืนหลังการเปิดประเทศไทยปี 2565 ของตลาดน้าอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

Chicago

อรพร พุทธพงษ์. นนท์ณพร กิติศรีปัญญา. ภูรี กาญจนากาศ. แนวทางการจัดการท่องเที่ยวยั่งยืนหลังการเปิดประเทศไทยปี 2565 ของตลาดน้าอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2566.

MLA

อรพร พุทธพงษ์. นนท์ณพร กิติศรีปัญญา. ภูรี กาญจนากาศ. แนวทางการจัดการท่องเที่ยวยั่งยืนหลังการเปิดประเทศไทยปี 2565 ของตลาดน้าอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 2566.

Vancouver

อรพร พุทธพงษ์. นนท์ณพร กิติศรีปัญญา. ภูรี กาญจนากาศ. แนวทางการจัดการท่องเที่ยวยั่งยืนหลังการเปิดประเทศไทยปี 2565 ของตลาดน้าอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร; 2566.